|
|
ภาพโดย :
thai.tourismthailand.org |
กิจกรรมท่องเที่ยวใน จังหวัด พะเยาและจังหวัดใกล้เคียง |
|
|
กิจกรรมท่องเที่ยว |
วิถีชีวิตชุมชน |
|
ตลาดเช้า
บรรยากาศเป็นตลาดพื้นเมืองที่อยู่ในย่านเทศบาล เป็นตลาดที่ขายอาหารสดที่มีในท้องถิ่นทางภาคเหนือ มีทั้งเห็ด ผักสดพื้นเมือง อาหารต่างๆ อาหารเช้าแบบชาวพะเยา กาแฟกับข้าวเหนียวร้อนๆ ทานกับปลาส้มทอด ปลาส้มห่อไข่ อร่อยสุดยอดไปเลยและปลานานาชนิดสดๆจากกว๊านพะเยา ไม่ควรพลาดที่จะมาเดินชมตลาดเช้าเมื่อมาถึงพะเยา |
|
|
ตลาดโต้รุ่ง
ตลาดโต้รุ่งบรรยากาศคึกคัก ตั้งแต่เริ่มพลบค่ำ เหมาะสำหรับคนที่ชอบบรรยากาศและทานอาหารในตอนกลางคืน มีให้เลือกนับร้อยร้าน ตั้งอยู่บนถนนรอบเวียงประตูกลอง เป็นอีกแห่งหนึ่งที่ไม่ควรพลาดเมื่อมาถึงพะเยา |
|
|
โบราณสถานบ้านร่องไฮ
เป็นโบราณสถานที่เป็นชุมชนโบราณขนาดใหญ่ อยู่ริมกว๊านพะเยา เป็นส่วนหนึ่งของวัดติโลกอารามในสมัยโบราณ บริเวณไกล้เคียงกันมีร่องรอยของศาสนสถานอยู่ประมาณ ๘-๙ แห่ง โดยมีกลุ่มโบราณสถานบ้านร่องไฮ ตำบลแม่ใส อำเภอเมือง หลักฐานที่เคยพบเกี่ยวข้องโดยตรงกับวัดติโลกอาราม คือ จารึกวัดติโลกอาราม พบที่เนินสันธาตุในกว๊านพะเยาไกล้กับท้ายหมู่บ้านร่องไฮ |
|
|
บ้านโบราณอายุร้อยปีริมกว๊านพะเยา
บ้านโบราณที่ยังคงสภาพเดิมอยู่ของจังหวัดพะเยา อยู่ริมถนนชายกว๊านเลียบกว๊านพะเยา ยังมีสภาพสมบูรณ์ให้สามารถชมดูได้ ซึ่งต้องขออนุญาติเจ้าของบ้านก่อน มีอยู่ ๒ หลัง |
|
|
บ้านปางปูเลาะ
เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าเมี่ยนหรือเย้า ส่วนใหญ่มีอาชีพทำสวนลิ้นจี่และไร่กาแฟ ทิวทัศน์สวยงาม อากาศเย็นสบายทั้งปี เส้นทางสะดวก สภาพถนนดี รถยนต์เข้าถึงหมู่บ้าน หากต้องการพักค้างแรมควรจะเตรียมอาหารและเครื่องดื่มไปด้วย ตั้งอยู่ที่ตำบลศรีถ้อย อ.แม่ใจ ห่างจากตัวอำเภอแม่ใจไป ๑๒ กิโลเมตร บนทางหลวงหมายเลข ๑ ไปทางอำเภอแม่ใจถึงวัดศรีบุญเรืองให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนข้างวัด เป็นทางลาดยาง ๑๒ กิโลเมตรจะถึงหมู่บ้านปางปูเลาะ สิ่งที่น่าสนใจคือศูนย์วัฒนธรรมชนเผ่าเมี่ยนหรือเย้า เป็นที่จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ เครื่องมือเกษตร อุปกรณ์และเครื่องมือล่าสัตว์ รวมถึงประวัติความเป็นมาของชุมชน สวนลิ้นจี่ที่ปลูกสลับกับกาแฟตามเชิงเขาก็น่าสนใจ ทั้งลิ้นจี่และกาแฟเป็นสินค้าขึ้นชื่อของอำเภอแม่ใจ สามารถเข้าไปเที่ยวชมสวนได้ในเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน นับเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม ลิ้นจี่ออกผลสามารถเลือกชิมสดๆได้จากต้นและหาซื้อได้ในราคาถูก นอกจากนี้ยังมีถ้ำประกายเพชรที่มีหินงอกหินย้อยอันสวยงาม รวมทั้งขึ้นไปชมทิวทัศน์บนผาแดง ถ้าเป็นช่วงฤดูหนาว จะได้ชมดอกเสี้ยวบานสะพรั่งทั่วหุบเขาบ้านผาแดง
ที่บ้านปางปูเลาะมีบริการบ้านพักแบบโฮมสเตย์ในหมู่บ้านชาวเขา ติดต่อล่วงหน้าได้ที่ โทร. ๐๘๖-๑๙๘๖๒๖๙ , ๐๘๙-๕๕๙๖๗๕๓, ๐๘๙-๕๖๐๗๓๗๗
|
|
|
บ้านไทลื้อเชียงคำ
ชาวไทลื้อในอ.เชียงคำมีวิถีชีวิตอย่างเรียบง่าย บ้านเรือนตั้งอยู่ริมฝั่งน้ำ เอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชาวไทลื้อคือ จะมีบ่อน้ำไว้ประจำในแต่ละบ้าน และทุกบ้านจะมีการปลูกพืชผักสวนครัวอยู่ในบริเวณบ้านด้วย ชาวไทลื้อจะประกอบอาชีพทำไร่ทำนา เมื่อหมดฤดูทำนาแล้ว ผู้หญิงชาวไทลื้อจะพากันทอผ้า ถือว่าผ้าทอไทลื้อมีเอกลักษณ์โดดเด่นไม่แพ้จากผ้าทอที่ใดๆ บ้านเรือนไทลื้อที่ยังหลงเหลืออยู่บ้าง มีให้แวะชม ตั้งอยู่บนเส้นทางระหว่างสถานีตำรวจเชียงคำมุ่งหน้าสู่วัดพระธาตุสบแวน ผ่านตลาดไปเล็กน้อย จะพบกับเรือนไทลื้อที่สมบูรณ์แบบแห่ง อ.เชียงคำ อยู่ทางซ้ายมือ
|
|
|
ใบตองจากป่ามาสู่เมือง
พะเยาเป็นเมืองปลอดสารพิษตัวจริง ที่เห็นได้ชัดเมื่อมาถึงเชียงคำคือคนอาศัยอยู่อย่างเรียบง่าย กลมกลืนกับธรรมชาติอย่างลงตัว ไกล้ๆกับบ้านไทลื้อ มีคนขายใบตองที่ทำมายาวนาน กระจายขายให้กับแม่ค้าผู้ทำอาหารและขนมทั่วตลาดเชียงคำมาเกินกว่า ๒๐ ปีแล้ว ชาวบ้านได้ตัดส่งมาจากป่า ซึ่งเป็นใบตองกล้วยป่า จะหนาและนุ่ม ใบไม่ขาดวิ่น จึงเป็นที่นิยมทั่วทั้งเชียงคำ กาลเวลาไม่ได้ทำให้วิถีชีวิตและธรรมชาติของชาวเชียงคำเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใดเลย
|
|
|
ตลาดเช้าเชียงคำ
ตลาดเช้าในเชียงคำ บรรยากาศเรียบง่าย อยู่ไกล้ๆกับที่ว่าการอำเภอเชียงคำและไปรษณีย์ อาหารพื้นเมืองมีมากมาย แหนมซี่โครงที่ขึ้นชื่อมีขายที่ตลาดแห่งนี้ ก่อนจะเดินทางไปไหว้พระธาตุต่างๆหรือชมบ้านไทลื้อ น่าจะมาซื้อจับจ่าย ชมแหล่งอาหารของชาวเชียงคำกันก่อน ร้านชากาแฟ น้ำเต้าหู้ มีอยู่รอบๆตลาด ไม่ควรพลาดตลาดเช้าของชาวเชียงคำ |
|
|
ตลาดนัดชายแดนไทย-ลาว (บ้านฮวก)
บ้านฮวกเป็นหมู่บ้านชายแดนติดกับประเทศลาว อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูซางไปเพียง ๕ กิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่ของบ้านฮวก เป็นเนินเขา มีลำน้ำเปื๋อยไหลผ่าน ชาวบ้านใช้เพื่อการเกษตรตลอดปี บ้านฮวกเป็นหมู่บ้านเล็กๆมีประมาณ ๑๕๐ ครัวเรือน ด้านที่ติดกับลาวนั้นเป็นแขวงไชยบุรี เมื่อปี ๒๕๓๗ ได้มีการเปิดจุดผ่อนปรนชายแดนที่กิ่วหก บ้านฮวก เพื่อให้ประชาชนทั้งสองประเทศได้ติดต่อค้าขายกัน จึงเกิดเป็นตลาดนัดการค้าชายแดนไทย-ลาว ซึ่งเป็นแหล่งซื้อขาย ...
|
|
|
๑. งานอนุเสาวรีย์ผู้เสียสละ พ.ต.ท. ๒๓๒๔ (จัดระหว่างวันที่ ๓๑ มกราคม ถึง ๘ กุมภาพันธ์ ณ อนุสรณ์ผู้เสียสละ อ.เชียงคำ)
๒. งานสืบสานตำนานไทลื้อ (จัดทุกวันเสาร์-อาทิตย์ สัปดาห์ที่ ๒ ณ วัดพระธาตุสบแวน อ.เชียงคำ)
๓. งานบวงสรวงพ่อขุนงำเมือง (จัดขึ้นในวันที่ ๕ มีนาคม ณ ลานอนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง หน้ากว๊านพะเยา)
๔. งานเทศกาลลิ้นจี่และของดีเมืองพะเยา (จัดขึ้นที่กว๊านพะเยา)
๕. งานประเพณีนมัสการพระเจ้าตนหลวงเดือนแปดเป็ง (จัดในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ที่วัดศรีโคมคำ อ.เมือง)
๖. งานเปิดโลกอุตสาหกรรมอัญมณีและของดีเมืองพะเยา (จัดระหว่างวันที่ ๘-๑๒ กุมภาพันธ์ ณ ศูนย์อุตสาหกรรมอัญมณี ต.แม่กา อ.เมือง)
๗. งานกาชาดและงานฤดูหนาว (จัดขึ้นประมาณปลายเดือนธันวาคม-ต้นเดือนมกราคม ณ บริเวณสนามข้างสถานีขนส่งจ.พะเยา)
๘. งานประเพณีปู่จากพญานาค (บูชาพระลอ จัดขึ้นบริเวณโบราณสถานเวียงลอ บ้านห้วยงิ้ว อ.จุน)
๙. วันดอกคำใต้บาน (ระหว่างวันที่ ๑๓-๑๔ กุมภาพันธ์ จัดในอ.ดอกคำใต้)
๑๐. งานเทศกาลลิ้นจี่และของดีแม่ใข (จัดในอ.แม่ใจ) |
|
|
|
|
|
|
|
ไหว้พระ วัดวาอาราม |
|
วัดติโลกอาราม
วัดแห่งนี้ตั้งอยู่บนเกาะกลางน้ำใจกลางกว๊านพะเยา เป็นที่ตั้งของหลวงพ่อศิลาแห่งกว๊านพะเยา วัดติโลกอารามได้จมอยู่ใต้บาดาลมานานกว่า ๕๐๐ ปีมาแล้ว หลักฐานศิลาจารึกได้บันทึกไว้ว่า พระราชาสมัยนั้นผู้ครองเมืองเชียงใหม่ พระเจ้าติโลกราช โปรดให้เจ้าแสนหัว เจ้าผู้ครองเมืองพะเยา ได้สร้างถวายในปีพ.ศ. ๒๐๑๙ – ๒๐๒๙ เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติแก่กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ที่ชาวล้านนาได้ยกย่องต่อพระเจ้าติโลกราช
วัดศรีโคมคำ
ตราประจำจังหวัดพะเยา มีรูปพระเจ้าตนหลวงวัดศรีโคมคำ เป็นสัญลักษณ์ว่าเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวพะเยา และคำขวัญประจำจังหวัดยังมีตอนหนึ่งว่าศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าตนหลวง จึงเป็นที่กล่าวขานกันว่า ถ้ามาพะเยาแล้ว ไม่ได้มากราบนมัสการพระเจ้าตนหลวงที่วัดศรีโคมคำแห่งนี้ ถือว่ามาไม่ถึงพะเยา ชาวบ้านเรียกกันว่าพระนั่งดิน
วัดพระธาตุจอมทอง
พระธาตุจอมทอง เป็นเจดีย์ทรงล้านนาสูง ๓๐ เมตร ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจตุรัส กว้าง ๙ เมตร ซ้อนกันสามชั้น รองรับองค์ระฆัง ส่วนยอดสุดเป็นฉัตรสีทอง ฐานโดยรอบข้างล่างบุด้วยแผ่นโลหะ ดุนลายเป็นรูป ๑๒ นักษัตร และลายไทยอันงดงามมาก ลักษณะคล้ายพระธาตุหริภุญชัย จ.ลำพูน
วัดลี
วัดลีเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์เวียงพยาว (วัดลี) ตั้งอยู่หลังโรงเรียนเทศบาล ๓ เป็นวัดที่สร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๐๓๘ ตั้งอยู่ในบริเวณเวียงพยาวหรือเวียงรูปน้ำเต้า ขนาดความกว้าง ๑,๐๐๐ เมตร ยาว ๑,๕๐๐ เมตร มีแนวคูเมืองล้อมรอบ มีร่องรอยของซากโบราณสถานที่เป็นวัดร้างหลายแห่งอยู่ภายในบริเวณตัวเวียง ปัจจุบันเหลือเพียงวัดลีแห่งนี้
วัดศรีอุโมงค์คำ
ชาวบ้านเรียกว่าวัดสูง ที่ตั้งวัดตั้งอยู่บนเนินสูง โบสถ์และเจดีย์ก็ตั้งอยู่บนฐานสูง มองดูโดดเด่น เมื่อมองจากทุกทิศทางและมองจากริมกว๊านพะเยา มาถึงวัดศรีอุโมงค์คำ “มานมัสการพระเจ้าล้านตื้อและพระเจ้าแข้งคม”
วัดป่าแดงบุญนาค
เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยพระพุทธศาสนาเข้ามาในอาณาจักรพะเยา เดิมชื่อวัดบุญนาค ตอนหลังมีการสร้างวัดใหม่เพิ่มชื่อว่า วัดป่าแดง ปัจจุบันก็รวมเป็นวัดเดียวกันชื่อ วัดป่าแดงบุญนาค เป็นวัดสำคัญของเมืองพะเยา พบศิลาจารึก ๒ หลักในบริเวณวัด จารึกหลักที่ ๑ เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๔๒ เรียกชื่อวัดนี้ว่า วัดพญาร่วง จารึกหลักที่ ๒ เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๗๘ กล่าวถึงพระเป็นเจ้าอยู่หัว (พระเมืองเกษเกล้า กษัตริย์เชียงใหม่) มีราชโองการให้
วัดหลวงราชสัณฐาน
ไม่ควรพลาดชมจิตรกรรมฝาผนังบนแผ่นไม้ วัดตั้งอยู่ในตำบลเวียง อ.เมือง จ.พะเยา เดิมเป็นวัดร้าง ต่อมาเจ้าหลวงวงศ์ร่วมกับชาวบ้านได้บูรณะปฏิสังขรณ์จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๓๘๗ ชาวบ้านเรียกว่าวัดหลวง เนื่องจากเป็นวัดที่เจ้าหลวงวงศ์ซึ่งครองเมืองพะเยาเป็นผู้บูรณะปฏิสังขรณ์นั่นเอง
วัดอนาลโยทิพยาราม
วัดอนาลโยทิพยารามแห่งดอยบุษราคัม อุทยานพระพุทธศาสนา อยู่ห่างจากตัวจังหวัด ๒๐ กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข ๑ ไปตามทิศเหนือ มุ่งหน้าสู่อำเภอแม่ใจ ประมาณ ๗ กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข ๑๑๒๗ และเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข ๑๑๙๓ ถ้าใช้เส้นทางทิศใต้ มุ่งหน้าสู่อำเภองาว จ.ลำปาง กิโลเมตรที่ ๔ สี่แยกแม่ต๋ำ เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข ๑๑๙๓ ก็เป็นอีกเส้นทางหนึ่งที่เดินทางไปสู่วัดอนาลโยทิพยาราม
วัดราชคฤห์
เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าวัดใหม่ เป็นวัดที่ตั้งอยู่กลางเมือง มีบรรยากาศสงบร่มรื่น ภายในวัดประดิษฐานเจดีย์องค์ไม่ใหญ่นักแต่งามน่าแวะเที่ยวชม ความโดดเด่น คือ ซุ้มประตูโขงและเจดีย์อันงดงาม ซุ้มประตูโขงเป็นซุ้มประตูทางเดินเข้าสู่วัด ประดับด้วยปูนปั้น นางฟ้าเทวดา พญานาค และดอกไม้ ลวดลายโดดเด่นสะดุดตา ยอดซุ้มประตูเป็นรูปพรหมสี่หน้า เจดีย์อยู่ด้านหลังโบสถ์ เป็นทรงแปดเหลี่ยมย่อมุม สูงประมาณ ๒๐ เมตร องค์เจดีย์มีซุ้มจระนำและเจดีย์บริวารทั้งสี่ทิศตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยม ลานประทักษิณรอบเจดีย์กว้างด้านละ ๑.๕๐ เมตร มีกำแพงแก้วล้อมรอบ ประตูทางเข้ามีสี่ด้าน มีรูปปั้นสิงห์คู่เฝ้าประตูทุกด้าน นับเป็นเจดีย์ศิลปะล้านนาที่สวยงามของเมืองพะเยา
--------------------------------------------------------------
|
|
|
|
|
|
วัดพระธาตุจอมศีล
วัดพระธาตุจอมศีลอยู่ในเขตวนอุทยานบ้านถ้ำ มีต้นไม้ร่มรื่นทิวทัศน์สวยงาม สามารถชมทิวทัศน์เมืองดอกคำใต้ได้จากบนเขาที่ตั้งของวัดแห่งนี้ ที่ตั้งบ้านถ้ำ ต.บ้านถ้ำ อ.ดอกคำใต้ ห่างจากอำเภอดอกคำใต้ ๑๕ กิโลเมตร ใช้เส้นทางหมายเลข ๑๒๕๑ ไปทางเชียงม่วน ทางเข้าวัดอยู่ทางซ้ายมือ เลี้ยวเข้าถนนข้างปั้มน้ำมัน ผ่านวัดสุวรรณคูหาไปอีกเล็กน้อยก็ถึงวัดพระธาตุจอมศีล โบสถ์สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็นศิลปะล้านนา
-------------------------------------------------------------- |
|
|
|
|
|
วัดพระธาตุปูปอ
ชาวพะเยาถือว่า วัดพระธาตุปูปอเป็นวัดพี่น้องกับวัดศรีโคมคำ ช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปีจะมีประเพณีการรดน้ำพระธาตุเป็นประจำ พระธาตุปูปอเป็นพระธาตุทรงแปดเหลี่ยมขนาดเล็ก สีขาว อยู่ไกล้ๆกับโบสถ์ พระธาตุปูปอตั้งอยู่ที่บ้านสันป่ากอก ต.ดงเจน ห่างจากเมืองพะเยาเพียง ๗ กิโลเมตร
วัดพระธาตุดอยจุก
พระธาตุดอยจุกเป็นเจดีย์แปดเหลี่ยม ศิลปะล้านนา มีซุ้มจระนำทั้งแปดทิศ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางประธานพร ตามตำนานเล่าต่อกันมาว่า พระพุทธเจ้าเสด็จมาพัก ณ บริเวณที่ตั้งของพระธาตุ ซึ่งที่แห่งนี้ชาวบ้านเรียกกันว่า ดอยจุก หมายถึง หยุด วัดพระธาตุดอยจุกตั้งอยู่บนเขาที่อ.ดงเจน ทางเข้าวัดอยู่เลยจากทางเข้าวัดพระธาตุปูปอไปประมาณ 1.5 ก.ม. อยู่ทางซ้ายมือ เมื่อเดินทางมาจากเมืองพะเยา
--------------------------------------------------------------
|
|
|
|
|
|
วัดศรีสุพรรณเป็นวัดสำคัญของชาวแม่ใจ เป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าทองทิพย์ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ตั้งอยู่ที่บ้านแม่ใจ ตำบลและอำเภอแม่ใจ ไกล้ที่ว่าการอำเภอ พระเจ้าทองทิพย์เป็นพระพุทธรูปสำริด ปางมารวิชัยสมัยเชียงแสนรุ่น ๓ หน้าตักกว้าง ๒๙ นิ้ว สูง ๒๔ นิ้ว มีพุทธลักษณะงดงาม พระพักตร์เนื้อทองสุกปลั่ง พระเกศเป็นเปลวไฟ
วัดศรีบุญเรือง
เป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าองค์ดำ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่งของชาวแม่ใจ ปกติวิหารจะไม่เปิด จะต้องโทรติดต่อเจ้าอาวาสเพื่อขอเข้าวิหารสักการะพระเจ้าองค์ดำ โทร. ๐๕๔-๔๙๙๐๑๐ วัดตั้งอยู่ริมทางหลวงหมายเลข ๑ พะเยา-เชียงราย บ้านขัวตาด ต.ศรีถ้อย อ.แม่ใจ บริเวณแยกศรีบุญเรือง วัดตั้งอยู่ทางซ้ายมือ พระเจ้าองค์ดำประดิษฐานอยู่ในวิหาร เป็นพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย
-------------------------------------------------------------- |
|
|
|
|
|
วัดพระธาตุขิงแกง
เป็นวัดเก่าแก่ที่สำคัญของอำเภอจุน ห่างจากตัวอำเภอจุน ๘ กิโลเมตร ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข ๑๐๙๑ จุน-ปง ก่อนถึงโรงเรียนบ้านธาตุขิง พบทางแยกเข้าวัดทางขวา ให้เลี้ยวเข้าไปประมาณ ๒๐๐ เมตร วัดอยู่ทางซ้ายมือ ตั้งอยู่บนเนินเขา มีเนื้อที่กว้าง บรรยากาศสงบร่มรื่น พระธาตุชิงแกงเป็นเจดีย์ทรงล้านนาขนาดใหญ่ ฐานกว้างด้านละ ๑๕ เมตร สูง ๒๐ เมตร ประดิษฐานพระพุทธรูปในซุ้มเรือนแก้วทั้งสี่ด้าน ช่วงกลางองค์เจดีย์ประดับกระจกสี มีกำแพงแก้วล้อมรอบและเจดีย์บริวารทั้งสี่มุม
--------------------------------------------------------------
|
|
|
|
|
|
วัดนันตาราม
ตั้งอยู่บริเวณตลาดเทศบาลตำบลเชียงคำ ไม่ปรากฏว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยใด เป็นวัดประจำชุมชนชาวไทยใหญ่ เดิมเรียก วัดจองคา เพราะมุงด้วยหญ้าคา (คำว่า จอง เป็นภาษาไทยใหญ่ หมายถึงวัด) พุทธศาสนิกชนชาวไทยใหญ่เป็นผู้สร้าง โดย พ่อหม่อง โพธิ์ขิ่น บริจาคที่ดินเนื้อที่ ๓ ไร่เศษ เป็นสถานที่ก่อสร้าง พ่อเฒ่าอุบล เป็นประธานในการก่อสร้างจนสำเร็จเรียบร้อย มีฐานะเป็นอารามหรือสำนักสงฆ์ ประชาชนทั่วไปนิยมเรียก วัดจองเหนือ
วัดพระนั่งดิน
เป็นวัดที่องค์พระประธานของวัดไม่มีฐานรองรับเหมือนกับพระประธานองค์อื่นๆ เคยมีราษฎรสร้างฐานรองรับเพื่ออัญเชิญพระประธานขึ้นประดิษฐานบนฐานรองรับ แต่ปรากฏว่าพยายามยกเท่าไรก็ยกไม่ขึ้น จึงเรียกสืบต่อกันมาว่า พระนั่งดิน ตามตำนานกล่าวว่า พระพุทธรูปนี้สร้างตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ ดังนั้น พระเจ้านั่งดินน่าจะมีอายุกว่า ๒๕๐๐ ปี ในการสร้างพระพุทธรูปนี้ใช้เวลา ๑ เดือน ๗ วัน จึงเสร็จ เมื่อสร้างเสร็จได้ประดิษฐานไว้บนพื้นราบ ไม่มีฐานชุกชีดังพระพุทธรูปอื่นๆทั่วไป
วัดพระธาตุสบแวน
ที่วัดพระธาตุสบแวนแห่งนี้มีสิ่งน่าสนใจหลายอย่าง มีบ้านชาวไทลื้อ มีต้นจามจุรี
ขนาดใหญ่อายุกว่า ๑๐๐ ปี มีเจดีย์อายุเก่าแก่กว่า ๘๐๐ ปี บ้านชาวไทลื้อที่ตั้งอยู่
ภายในวัดมีศูนย์หัตถกรรมทอผ้า จากผู้หญิงสูงอายุในหมู่บ้าน มีงานหัตถกรรมจาก
ผ้าฝ้าย มีให้ซื้อขายและได้ชมวิธีการทอผ้าและสามารถเข้าชมเรือนไทลื้อ เพื่อรู้ถึงวิถีชีวิต
ความเป็นอยู่ของชาวไทลื้อได้อย่างละเอียด พระธาตุสบแวนอยู่ด้านหลังวิหาร เป็นเจดีย์
เก่าแก่อายุมากกว่า ๘๐๐ ปี
วัดแสนเมืองมา
วัดแสนเมืองมา มาจากชื่อหมู่บ้านมางในสิบสองปันนา ประเทศจีน วัดสร้างตามแบบศิลปะไทลื้อ ป้ายต่างๆในบริเวณวัดมีทั้งภาษาไทยและภาษาจีน เนื่องจากมีชาวไทลื้อเดินทางไปมาหาสู่ระหว่างไทยกับสิบสองปันนา สัณนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ หลังคามุงแป้นเกล็ดไม้งดงามมาก เป็นศิลปะไทลื้อ หน้าบันเป็นไม้แกะสลักรูปเทพนม บนพื้นสลักลายสวยงาม บันไดทางเข้าเป็นรูปพญานาค ประตูด้านข้างทางเข้ามีรูปปั้นสิงห์คู่เฝ้าประตู ...
วัดหย่วน
ที่วัดหย่วนเป็นศูนย์กลางแสดงผลงานทางศิลปะวัฒนธรรมของชาวไทลื้อ และเป็นศูนย์ฝึกอาชีพโดยเฉพาะผ้าทอไทลื้อ ซึ่งมีลวดลายสีสันสดใสสวยงาม ในอดีตชาวไทลื้อมีถิ่นอาศัยอยู่ในเขตสิบสองปันนาประเทศจีน กินอาณาบริเวณถึง ๒๕,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหุบเขาและลุ่มแม่น้ำ เป็นบริเวณที่อยู่อาศัยทำกินของไทลื้อ แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่ไหลผ่านแคว้นสิบสองปันนา ชาวไทลื้อเรียกว่า แม่น้ำของ ชาวไทลื้อมีนิสัยรักสงบ ขยัน อดทน และยังอนุรักษ์วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม การแต่งกายไว้เป็นอย่างดีอีกด้วย ที่ตั้งของวัดหย่วนอยู่ไม่ไกลจากวัดแสนเมืองมาและสถานีขนส่งมากนัก อยู่ทางทิศเหนือห่างกันเพียง ๕๐๐ เมตรโดยประมาณ
วัดพระธาตุดอยคำ
วัดพระธาตุดอยคำ เป็นวัดที่ตั้งอยู่บนยอดดอย ตำบลเจดีย์คำ อ.เชียงคำ มีถนนลาดยางขึ้นไปจนถึงตัวองค์พระเจดีย์ได้เลย วัดแห่งนี้มีความสำคัญอยู่ที่ พระธาตุดอยคำที่มีสถาปัตยกรรมแบบล้านนา ทั้งสี่ทิศมีสิงห์ปูนปั้นประดับอยู่ พระธาตุองค์นี้เป็นปูชนียสถานคู่เมืองเชียงคำมาอย่างยาวนาน
--------------------------------------------------------------
|
|
|
|
|
|
วัดพระธาตุดอยหยวก
วัดพระธาตุดอยหยวกตั้งอยู่บนเนินเขา บรรยากาศร่มรื่นเงียบสงบ เป็นวัดสำคัญของอำเภอปง พระธาตุมีลักษณะงดงามมาก เป็นศิลปะเฉพาะของพะเยา เจดีย์สีทอง มีซุ้มจระนำประดิษฐานพระพุทธรูปทั้งสี่ทิศ ประดับกระจกสีตามซุ้มและฐานองค์ระฆัง ส่วนยอดเป็นฉัตรทองที่มุมทั้งสี่มีเจดีย์บริวาร วิหารเป็นทรงล้านนา หลังไม่ใหญ่แต่งดงามมีเสน่ห์ เป็นศิลปะแบบทางเหนือ
--------------------------------------------------------------
|
|
|
|
|
|
วัดพระธาตุภูซาง เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่ไม่ควรพลาดเมื่อเดินทางมาเยือนน้ำตกภูซาง และตลาดการค้าชายแดนไทย-ลาว บ้านฮวก ก่อนถึงที่ทำการอุทยานภูซางเล็กน้อย ประมาณ ๑ กิโลเมตร ด้านขวามือจะมีทางแยกขึ้นไปสู่วัดพระธาตุภูซาง วัดแห่งนี้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาวเหนือ เป็นที่เคารพและสักการะของประชาชนตำบลภูซาง และตำบลใกล้เคียงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความสงบร่มรื่น ภายในบริเวณมีต้นไม้ใหญ่ให้ความร่มรื่นอยู่มากมาย และเป็นศูนย์บำบัดผู้ติดยาเสพติดและโรคเอดส์ นอกจากนี้ยังมีสวนสมุนไพรมากมายหลายชนิด ซึ่งสามารถใช้เป็นแหล่งการเรียนรู้ได้อีกด้วย บรรยากาศสงบ มองเห็นวิวทิวทัศน์อย่างสวยงามได้โดยรอบจากพระธาตุแห่งนี้
-------------------------------------------------------------- |
|
|
|
|
|
วัดท่าฟ้าใต้
วัดท่าฟ้าใต้ เป็นวัดที่สร้างตามรูปแบบศิลปะไทลื้อที่งดงามมาก วิหารมีรูปแบบศิลปะไทลื้อ ก่ออิฐถือปูน หลังคามุงแป้นเกล็ดซ้อนกัน ๓ ชั้น หน้าบัน เป็นลายเครือเถาแบบไทลื้อที่ประยุกต์ลายมาจากธรรมชาติ มีลายดอกไม้บานอยู่ตรงกลาง ประดับด้วยกระจกเงา โดยเชื่อว่าเป็นสิ่งสะท้อนความชั่วร้ายมิให้มาทำร้ายกล้ำกรายได้ ใบระกาเป็นไม้สัก แกะสลักเป็นรูปพญานาค เชิงชายฉลุลายน้ำหยด เอกลักษณ์ของไทลื้อ
พระธาตุภูปอ
พระธาตุภูปอตั้งอยู่ในเขตบ้านหนองกลาง ม.7 ต.บ้านมาง อ.เชียงม่วน จ.พะเยา ห่างจากถนนสายบ้านปงสนุก บ้านหนองกลาง ประมาณ 1.5 กิโลเมตร ถนนตัดขึ้นสู่พระธาตุเป็นถนนคอนกรีตสูงชันจากจุดที่พระธาตุตั้งอยู่บนยอดเขา สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ได้ ๓๖๐ องศา มองเห็นชุมชนของอำเภอเชียงม่วนเป็นอย่างดี เช่น บ้านมาง บ้านหลวง และยังสามารถมองเห็นฝั่งต้าได้อย่างชัดเจน ตามตำนานกล่าวไว้ว่าเมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าได้เดินทางมาเผยแพร่พระพุทธศาสนาที่เขาลูกนี้ ชาวบ้านต่างนำเครื่องอุปโภคไปถวาย และสิ่งที่มีมากเป็นพิเศษคือใบพลูได้นำมาถวายจนกองเป็นภูเขาพระพุทธองค์ได้ทรงตรัสห้ามว่า "พลูพอแล้วนะ" หรือภาษาคำเมืองว่า "ปูปอแล้ว" ดังนั้นพระธาตุนี้ จึงมีชื่อว่า "พระธาตภูปอ"
--------------------------------------------------------------
|
|
|
|
|
|
|
|
สัมผัสธรรมชาติ |
|
กว๊านพะเยา
ในภาษาเหนือ กว๊านคือ น้ำลึกหรือน้ำวน กว๊านพะเยาเป็นทะเลสาบที่ใหญ่เป็นอันดับ ๓ ของประเทศทีเดียว รองจากบึงบอระเพ็ดและหนองหาน แต่กว๊านพะเยารั้งตำแหน่งแหล่งน้ำจืดใหญ่ที่สุด แห่งภาคเหนือตอนบน มีเนื้อที่ถึง ๑๒,๘๓๑ ไร่
|
|
|
น้ำตกจำปาทอง
อยู่ในอุทยานแห่งชาติดอยหลวง มีพื้นที่ครอบคลุมถึง ๓ จังหวัดคือ เชียงราย พะเยาและลำปาง ที่ทำการอุทยานฯอยู่ในเขตจังหวัดเชียงราย ตัวน้ำตกจำปาทองอยู่ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดพะเยา การเดินทางจากสี่แยกประตูชัย ใช้ทางหลวงหมายเลข ๑ ไปทางอำเภอแม่ใจ กิโลเมตรที่ ๗ แยกไปทางซ้ายมือ ทางหลวงหมายเลข ๑๑๒๗ ผ่านวัดต๊ำม่อง วัดถ้ำกลางไปอีก ๕๐๐ เมตร พบทางแยกซ้ายให้เลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ ๔ กิโลเมตร พบหน่วยพิทักษ์อุทยานฯที่ดล.๖ (จำปาทอง) น้ำตกอยู่เลยหน่วยพิทักษ์ไปอีก ๓๕๐ เมตร น้ำตกอยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๒๓ กิโลเมตร ที่ตั้งอยู่ที่บ้านต๊ำกลาง ต.ต๊ำ อ.เมือง ที่บ้านต๊ำในซึ่งอยู่ไกล้ๆกับน้ำตกมีชื่อเสียงในเรื่องการรักษาป่าอย่างเข้มแข็ง พื้นที่ป่าได้รับประกาศให้เป็นป่าชุมชน มีความอุดมสมบูรณ์เป็นต้นน้ำที่ไหลลงสู่กว๊านพะเยา น้ำตกจำปาทองเป็นน้ำตกขนาดใหญ่ มีความอุดมสมบูรณ์มีน้ำตลอดทั้งปี สายน้ำลดหลั่นลงมา ๖ ชั้น ชั้นที่สวยที่สุดคือชั้นที่ ๒ และ ๓ และมีแอ่งให้ลงเล่นน้ำได้หลายแห่ง มีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติเป็นระยะทาง ๒.๒๐ กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ ๒ ชั่วโมง ผ่านป่าดงดิบแล้ง |
|
|
ถนนดอกทองกวาว
ระยะทางยาวถึง ๒๐ กิโลเมตร จากอำเภอดอกคำใต้ไปอำเภอจุน บนทางหลวงหมายเลข ๑๐๒๑ สองข้างทางจะมีต้นดอกทองกวาวตลอดความยาว ๒๐ กิโลเมตร ในเดือนกุมภาพันธ์ดอกทองกวาวจะบานสะพรั่ง สวยงามอย่างยิ่ง เป็นสัญลักษณ์หนึ่งของอำเภอดอกคำใต้ ดอกทองกวาวมีอยู่ทุกที่ทั่วอำเภอ ตามท้องนาอันเขียวขจีก็ยังมีต้นทองกวาวอยู่ทั่วไป
|
|
|
หนองเล็งทราย
ใช้ถนนทางหลวงหมายเลข ๑ มุ่งหน้าสู่ทิศเหนือ พะเยา-เชียงราย มาจนถึงแยกศรีบุญเรือง เลี้ยวขวาเข้าถนนพหลโยธินสายในไปประมาณ ๑ กิโลเมตร ถึงวัดโพธารามทางซ้ายมือ ให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนข้างวัดไปจนสุดทาง จะพบกับหนองน้ำแห่งอำเภอแม่ใจเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่คือ หนองเล็งทราย หนองแห่งนี้เนื้อที่ประมาณ ๕,๕๐๐ ไร่ ครอบคลุมหลายตำบล |
|
|
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ
มีเนื้อที่ครอบคลุม ๔ อำเภอ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอจุน อำเภอเชียงคำ และอำเภอปง เนื้อที่ทั้งหมด ๒๓๑,๘๗๕ ไร่ ภูมิประเทศเป็นป่าดงดิบ ป่าต้นน้ำอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่าหายาก เช่น เลียงผา, กวาง, นกยูง, เนื้อทราย, ละอง, ละมั่ง, ไก่ฟ้าหลังขาว, นกแว่นสีเทา กิจกรรมท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่น่าสนใจ เดือนพฤษภาคมถึงธันวาคม จะมีลานนกยูงผสมพันธุ์ |
|
|
วนอุทยานภูลังกา
จากข้อมูลของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วนอุทยานภูลังกา ดอยภูลังกาภาษาชาวเขา เผ่าเมี่ยน เรียกว่า “ฟินจาเบาะ” หมายความว่า “ภูเทวดา” เป็นยอดดอยที่สวยงาม
|
|
|
จุดกำเนิดแม่น้ำยม
ลำน้ำยมมีจุดกำเนิดบนยอดดอยสูงจากวนอุทยานภูลังกา เป็นสายน้ำที่ไหลลงมาทางตัวอำเภอปง ชื่อ ลำน้ำงิม และมาบรรจบกับลำน้ำควร กลายเป็นจุดกำเนิดของแม่น้ำยม ซึ่งจุดนี้อยู่ไม่ไกลจากตัวอำเภอปงมากนัก จะมีป้ายบอกหรือสอบถามชาวบ้านก็ได้ ห่างจากถนนเมนของตัวอำเภอประมาณ ๑ กิโลเมตร ก็จะได้พบกับจุดที่แม่น้ำสองสายมาบรรจบกัน
|
|
|
อุทยานแห่งชาติภูซาง
ตามข้อมูลของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้กล่าวถึงอุทยานแห่งชาติภูซาง ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้ อุทยานแห่งชาติภูซาง มีขนาดพื้นที่ประมาณ ๒๘๔.๘ ตารางกิโลเมตร (๑๗,๘๐๔๙.๖๒ ไร่) อยู่ในเขตอำเภอเทิง จ.เชียงราย อ.ภูซาง อ.เชียงคำ จ.พะเยา อุทยานแห่งชาติภูซาง เป็นอุทยานแห่งชาติที่มีอาณาเขตติดต่อกับ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ...
|
|
|
วนอุทยานไดโนเสาร์เชียงม่วน-แก่งหลวง
ไดโนเสาร์เชียงม่วนเป็นไดโนเสาร์ตัวแรกที่ค้นพบในภาคเหนือ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๔๕ – ๒๕๕๒ นายวรวุธ สุธีธร นักโบราณชีววิทยา หัวหน้าคณะสำรวจของกรมทรัพยากรธรณี ได้นำคณะสำรวจเข้ามาทำการขุดค้นซากดึกดำบรรพ์ที่พบที่ อ.เชียงม่วน จ.พะเยา พบซากกระดูกไดโนเสาร์วางตัวเรียงต่อกันในแนวทิศเหนือ-ทิศใต้ จำนวน ๑๐๔ ชิ้น ...
|
|
|
ฝั่งต้าไชยสถาน
ฝั่งต้าหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ฝั่งต้าไชยสถาน มีลักษณะของการกัดเซาะพังทลายของดินภูเขาเตี้ยๆ ทำให้เกิดรูปร่างคล้ายเสาแหลมๆเรียงรายติดต่อกันเป็นแนวยาวประมาณ ๒๐๐ เมตร มีความสูงประมาณ ๒๕ เมตร บนยอดเขาฝั่งต้าแห่งนี้ยังเป็นจุดชมวิวและพักผ่อนได้ มีเนื้อที่ค่อนข้างราบประมาณ ๓ ไร่ สามารถมองเห็นทิวทัศน์สวยงามรอบด้าน ไกล้ๆกันมีสระน้ำอยู่ด้านหน้า มีสถานที่จัดไว้สำหรับพักผ่อนหย่อนใจ สามารถมองเห็นฝั่งต้าถัดไปจากสระน้ำแห่งนี้ ฝั่งต้าไชยสถานตั้งอยู่ที่หมู่ ๔ ต.เชียงม่วน อ.เชียงม่วน จากที่ว่าการอำเภอเชียงม่วนระยะทางประมาณ ๕ กิโลเมตร
|
|
|
เหมืองเชียงม่วน
เหมืองเชียงม่วนในความดูแลของบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ตั้งอยู่ในตำบลบ้านสระ อ.เชียงม่วน จ.พะเยา บนเนื้อที่รวม ๒,๕๗๐ ไร่ ดำเนินการผลิตถ่านหินเชิงพาณิชย์นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๙ ถ่านหินของเหมืองเชียงม่วนเป็นถ่านหินประเภทลิกไนต์ มีปริมาณซัลเฟอร์ต่ำ ซึ่งส่วนใหญ่จะจำหน่ายให้กับลูกค้าภายในประเทศ ทั้งในธุรกิจไฟฟ้า ซีเมนต์และเยื่อกระดาษ ได้มีการขุดพบซากฟอสซิลภายในบริเวณเหมืองมากมายหลายชนิด ซากฟอสซิลที่พบส่วนใหญ่จะเป็นกระดูกและฟันของช้างไตรโลโฟดอน กอมโฟแทร์ (Triphodont Gomphothere) ซึ่งเป็นช้างโบราณที่มี ๔ งา จระเข้ ปลา อีเก้ง หมู ลิงอุรังอุตัง เต่า หอยชนิดต่างๆและเมล็ดพืชโบราณ ซึ่งซากฟอสซิลเหล่านี้มีอายุในช่วงยุคไมโอซีน (Myosin) ตอนกลางหรือราว ๑๓-๑๕ ล้านปีก่อน ที่ตั้งเหมืองเชียงม่วน จากอำเภอเชียงม่วนไปตามเส้นทางหมายเลข ๑๐๙๑ มุ่งหน้าอ.ปง พอถึงทางแยกบ้านสระให้เลี้ยวไปทางซ้ายมือที่จะไปอำเภอดอกคำใต้ ตามทางหลวงหมายเลข ๑๒๕๑ จากทางแยกนี้ไปประมาณ ๓ กิโลเมตร ทางด้านขวามือจะเป็นที่ตั้งของจุดชมวิวของเหมืองเชียงม่วน
|
|
|
อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง
อุทยานแห่งชาติดอยภูนางมีสิ่งน่าสนใจมากมายโดยเฉพาะนกยูงและน้ำตกต่างๆ มีเนื้อที่ประมาณ ๕๓๘,๑๒๘ ไร่ หรือ ๘๖๑ ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ ๓ อำเภอ ได้แก่ อ.เชียงม่วน อ.ปง อ.ดอกคำใต้ สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง มีสัตว์ป่าหายากหลายชนิด เสือปลา แมวลายหินอ่อน แมวดาว เลียงผา ตัวนิ่ม ฯลฯ ที่สำคัญคือ นกยูง |
|
|
|
|
|
|
|
ชมสิ่งก่อสร้าง |
|
หอวัฒนธรรมนิทัศน์
อยู่ไกล้กับวัดศรีโคมคำ เป็นพิพิทธภัณฑ์แสดงโบราณวัตถุ เอกสารข้อมูลสำคัญทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดพะเยา ภายในอาคารมีห้องแสดงต่างๆมากมาย เช่นก่อนที่จะเป็นอาณาจักรห้องขุนเจือง กษัตริย์องค์ที่ ๒ ของอาณาจักรภูกามยาว ห้องพญางำเมือง แสดงถึงความสัมพันธ์ของ ๓ กษัตริย์ ได้แก่ พญาร่วงแห่งอาณาจักรสุโขทัย พญามังรายแห่งอาณาจักรล้านนาและพญางำเมืองแห่งอาณาจักรภูกามยาว ห้องแสดงเครื่องปั้นดินเผา ห้องแสดงพะเยายุครุ่งเรืองและยุคเสื่อม ห้องแสดงวิถีชาวบ้าน ประวัติพระเจ้าตนหลวง ยังมีลานแสดงศิลาจารึกอีกมากมาย เปิดทำการทุกเวลา ๘.๓๐ น. – ๑๖.๓๐ น. โทร. ๐๕๕-๔๑๐๐๕๘ – ๙ |
|
|
อนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง
จังหวัดพะเยาได้รับการยกฐานะให้เป็นจังหวัดที่ ๗๒ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ชาวพะเยาจึงร่วมใจกันสร้างอนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมืองขึ้น บริเวณสวนสาธารณะริมกว๊านพะเยา เป็นรูปปั้นสำริดความสูงเท่าครึ่งขององค์จริงในท่าประทับยืน ทรงชุดกษัตริย์สวมมงกุฎ พระหัตถ์ถือดาบอาญาสิทธิ์ หันพระพักตร์ไปทางกว๊านพะเยา ประดิษฐานบนแท่นสูง ๒.๕๐ เมตร |
|
|
ประมงน้ำจืดพะเยาและพระตำหนัก
เป็นสถานีประมงที่มีความสำคัญของภาคเหนือ มีการเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดเพื่อจำหน่ายแจกจ่ายแก่ประชาชน เพื่อนำไปเป็นอาชีพและเพื่อไปปล่อยยังแหล่งน้ำธรรมชาติ มีผลงานที่สำคัญของสถานีประมงน้ำจืดแห่งนี้คือ การผสมเทียมปลาบึกได้เป็นครั้งแรกของโลก เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๖ ภายในจึงมีการตั้งพิพิทธภัณฑ์ปลาบึกขึ้น เพื่อเผยแพร่ความรู้สู่สังคมและประชาชนทั่วไป สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเคยเสด็จมาประทับ ณ สถานีประมงแห่งนี้ |
|
|
ศาลหลักเมืองพะเยา
ตั้งอยู่ริมถนนท่ากว๊าน มีถนนล้อมรอบทั้งสี่ด้าน อยู่ไม่ไกลจากริมกว๊านพะเยามากนัก และไกล้ๆกันนั้นคือวัดศรีอุโมงค์คำ และอีกด้านหนึ่งเป็นวัดราชคฤห์ จากถนนประตูชัยเลี้ยวซ้ายไปจรดถนนท่ากว๊านก็สามารถเห็นศาลหลักเมืองได้อย่างชัดเจน ศาลหลักเมืองพะเยามีความสวยงามทั้งกลางวันและกลางคืน ไม่ควรพลาดทีจะต้องแวะไปกราบสักครั้งหนึ่งเมื่อถึงจังหวัดพะเยา |
|
|
อ่างเก็บน้ำห้วยชมพู – ผาเทวดา
ที่ตั้งของอ่างเก็บน้ำห้วยชมพู-ผาเทวดา อยู่ในเขตพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ อบต.สันโค้ง ที่นี่มีกิจกรรมและแหล่งท่องเที่ยวหลายอย่าง มีการเดินป่าขึ้นไปโรยตัวที่หน้าผาเทวดา เที่ยวน้ำตก ชมทุ่งทานตะวันในช่วงฤดูหนาวประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ท้องทุ่งบริเวณตำบลสันโค้งจะสวยงามสว่างสดใสเต็มไปด้วยดอกทานตะวัน บานท่ามกลางขุนเขารายรอบ
|
|
|
โบราณสถานเวียงลอ
สถานที่ตั้งของโบราณสถานเวียงลอห่างจากตัวอำเภอจุนไปตามทางหลวงหมายเลข ๑๐๒๑ ถึงบ้านห้วยงิ้วประมาณ ๑๗ กิโลเมตร มีทางแยกเป็นทางเดินถึงบ้านน้ำจุนอีก ๑๒ กิโลเมตร มีทางแยกเป็นทางเดินถึงบ้านน้ำจุนอีก ๑๒ กิโลเมตร ปรากฏซากกำแพงเมืองเก่า วัดร้างอยู่มากมาย พระธาตุและวัดเก่าแก่คือ วัดศรีปิงเมือง เมืองลอหรือเวียงลอ มีคูเมืองและกำแพงคันดิน ๑-๒ ชั้น ล้อมรอบ ตั้งอยู่ที่ราบระหว่างเชิงดอยจิกจ้องและแม่น้ำอิง
|
|
|
อนุสรณ์ผู้เสียสละ พทต. ๒๓๒๔
อนุสรณ์สถานเป็นเสาห้าเหลี่ยมสีเขียว ด้านหน้าเป็นลานครึ่งวงกลม ด้านหลังเป็นพื้นที่อาคารนิทรรศการ เป็นอาคารชั้นเดียว จัดแสดงภาพถ่ายชุดแต่งกายทหาร อาวุธปืน ระเบิด และเครื่องเวชภัณฑ์ของ ผกค.พร้อมทั้งแสดงรายชื่อพลเรือน ทหารและตำรวจ จำนวน ๓๙๙ คน ที่เสียชีวิตจากการต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ – ๒๕๒๕ ในเขตพื้นที่จ.พะเยาและจ.เชียงราย มีการจำลองสถานที่สนามรบแสดงให้เห็นการต่อสู้กันอย่างดุเดือด ให้เห็นลักษณะภูมิประเทศในเขตต่างๆ เช่น อ.ปง และอ.เชียงม่วน มีฐานที่มั่นสำคัญคือ ดอยผาจิและดอยผาช้างน้อย ฐานที่มั่นบนดอยภูลังกาและดอยน้ำสาเป็นต้น สถานที่แห่งนี้เป็นที่ศึกษาประวัติศาสตร์การสู้รบกับคอมมิวนิสต์ เพื่อรำลึกถึงวีรกรรมของพลเรือน ตำรวจ และทหาร ที่ตั้งอยู่ห่างจากอ.เชียงคำ ๓ กิโลเมตร บนทางหลวงหมายเลข ๑๐๒๑ ไปทางอ.จุน อนุสรณ์สถานอยู่ทางซ้ายมือหน้าค่ายขุนจอมธรรม เปิดวันจันทร์- เสาร์ เวลา ๙.๐๐ น. - ๑๒.๐๐ น. , ๑๓.๐๐ น. – ๑๖.๐๐ น.
|
|
|
|
|
|
|
|
ขับรถเที่ยว |
|
พะเยา |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ปั่นจักรยาน |
|
พะเยา |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ชมวิถีเกษตร |
|
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปังค่า
เป็นพื้นที่พัฒนาเกษตรที่สูง มีสิ่งที่น่าสนใจภายในศูนย์คือพืชผักเมืองหนาว ซึ่งมีการปลูกตามไหล่เขา เป็นพืชล้มลุกและยืนต้น เช่น ฟักทองญี่ปุ่น ซุกินี หอมญี่ปุ่น มะเขือก้านดำ ขิงแดง อโวคาโด ท้อ พลับ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการปลูกดอกไม้หลากสีอีกหลายชนิด ทิวทัศน์รอบบริเวณสวยงาม อากาศเย็นสบายตลอดปี ในบริเวณไกล้เคียงมีชุมชนของชาวม้ง และชาวเมี่ยน หรือเย้าอยู่ไกล้ๆ หากไปเยือนในช่วงเทศกาลสำคัญจะได้พบเห็นกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรม ...
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ตีกอล์ฟ |
|
|
|
ผจญภัย |
|
พะเยา |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ประตูสู่อินโดจีน |
|
ประตูสู่อินโดจีน
ประเทศไทย ศูนย์กลางเส้นทางเชื่อมโยงเที่ยวประเทศเพื่อนบ้าน อ่านต่อ >> |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ที่มาของภาพ และข้อมูล
จังหวัด พะเยา
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
|