เกี่ยวกับเรา | บริการ | ลงโฆษณา | พันธมิตรกับเรา | สะสมแต้ม | ออกแบบเว็บไซต์
 
           
 
 ปลายทาง   |  รีวิวท่องเที่ยว   |  รีวิวที่พัก   | รีวิวร้านอาหาร   |  สัมผัสอารยธรรมลุ่มแม่น้ำโขง
บริการ  :   โปรโมชั่น  |  ตั๋วเครื่องบิน  |  โรงแรม ที่พัก  |  แพคเกจทัวร์ |  รถเช่า  |  ข้อมูลการเดินทาง
 
:: ปลายทางอินโดจีน
ไทยประตูสู่อินโดจีน
ลาว > หลวงพระบาง-เวียงจันทน์
ลาวใต้ > ปากเซ
จีนตอนใต้ > สิบสองปันนา นครคุนหมิง
เวียดนามเหนือ > ฮานอย ฮาลอง
เวียดนามกลาง > เว้ ดานัง ฮอยอัน
เวียดนามใต้ > โฮจิมินห์ซิตี้ ดาลัต มุยเน่
เมียนมาร์ > ย่างกุ้ง หงสาวดี อินทร์แขวน สิเรียม
เมียนมาร์ > มัณฑะเลย์ พุกาม อินเล
กัมพูชา > เสียมราฐ นครวัด นครธม
กัมพูชา > พะตะบอง พนมเปญ
 
เกี่ยวกับเรา
สำหรับผู้ประกอบการ
   โฆษณากับเรา
   พันธมิตรกับเรา
   สะสมแต้ม โลตัสพลัส

:: จังหวัดชายแดนไทย, เมืองชายแดน
เชียงของ พะเยา อุตรดิตถ์ น่าน เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม
มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี สระแก้ว ศรีษะเกษ บุรีรัมย์ สุรินทร์ จันทบุรี
ตราด แม่สาย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ตาก กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง
 
 
B08,
B09

สารบัญที่พัก โฮมสเตย์ รีสอร์ท
รีวิวที่พัก โฮมสเตย์ รีสอร์ท
การเดินทาง
โปรโมชั่น
บันทึกความทรงจำ


ไทย > เมืองชายแดน > ข้อมูลทั่วไป  
ภาพโดย : www.facebook.com/WhiteCloudTravel, thai.tourismthailand.org

สารบัญ สถานที่ท่องเที่ยว
กิจกรรมท่องเที่ยว
หน้าสารบัญ สถานที่ท่องเที่ยว
เส้นทางท่องเที่ยว
สัมผัสอารยธรรมลุ่มแม่น้ำโขง


B08,
B09
 
เมืองปลายทาง
พรมแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน เที่ยวชายแดนไทย-ลาว
เที่ยวชายแดนไทย-กัมพูชา เที่ยวชายแดนไทย-พม่า
   
พรมแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน


ประเทศไทยมีแนวพรมแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านถึง 4 ประเทศ ได้แก่ พรมแดนด้านพม่า (เมียนมาร์) ยาว 2,202 กิโลเมตร พรมแดนด้านลาว 1,750 กิโลเมตร พรมแดนด้านกัมพูชายาว 798 กิโลเมตร พรมแดนด้านมาเลเซีย 576 กิโลเมตร โดยที่แนวพรมแดนส่วนใหญ่ยึดเอาแนวสันปันน้ำของภูเขา ทางน้ำหรือลำน้ำบริเวณแนวกลางของร่องน้ำที่ไหล แรงที่สุด เรียกว่า ร่องน้ำลึก ยกเว้นพรมแดนในแม่น้ำโขงที่ฝรั่งเศสให้ถือเอาเกาะแก่งเป็นของลาวทั้งหมด แม้ว่าจะอยู่ ใกล้ฝั่งไทย (ยกเว้น 8 เกาะ)

แนวพรมแดนระหว่างไทย-สหภาพพม่า หรือเมียนมาร์
ความยาว 2,202 กิโลเมตร ทอดไปตามร่องน้ำลึกของแม่น้ำรวก แม่น้ำสาย ทิวเขาแดนลาว แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำเมย ทิวเขาถนนธงชัย ทิวเขาตะนาวศรี และแม่น้ำกระบุรี (ปากจั่น) อยู่ในเขตพื้นที่ จ.เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง

แนวพรมแดนระหว่างไทย-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ความยาว 1,750 กิโลเมตร ทอดไปตามร่องน้ำลึก ของแม่น้ำโขงตอนบน แม่น้ำเหืองงา แม่น้ำเหือง และแม่น้ำโขงตอนล่าง และทอดไปตามสันปันน้ำในทิวเขาหลวงพระบาง ทางตอนเหนือ และสันปันน้ำในทิวเขาภูแดนลาวทางตอนใต้ อยู่ในเขต จ.เชียงราย พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี

แนวพรมแดนระหว่างไทย-ราชอาณาจักรกัมพูชา
ความยาวประมาณ 798 กิโลเมตร นับจากอ่าวไทยทอดไปตามทิวเขา บรรทัด แม่น้ำไพลิน (หรือห้วยเขมร) คลองลึก คลองด่าน คลองน้ำใส ที่ราบแนวเส้นตรงคลองปากอ้าว (ปากอ่าว) และทิว เขาพนมดงรัก ในเขต จ.ตราด จันทบุรี สระแก้ว บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

แนวพรมแดนระหว่างไทย-สหพันธรัฐมาเลเซีย ความยาว 576 กิโลเมตร ทอดไปตามสันปันน้ำของทิวเขาสันกาลาคีรี ร่องน้ำลึกของแม่น้ำโก-ลก ในเขต จ.สตูล สงขลา ยะลา และนราธิวาส แนวพรมแดนแสดงความเป็นอธิปไตยเหนือพื้นที่ บริเวณนั้น แนวพรมแดนทางธรรมชาติ เหมาะสำหรับกีดขวาง ช่วยในการป้องกันข้าศึกรุกราน แต่ขัดขวางด้านการ คมนาคม ติดต่อค้าขายและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างมิตรประเทศ ในปัจจุบันนี้แนวพรมแดนจัดว่าเป็นแหล่งเศรษฐกิจ ที่สำคัญของประเทศ เพราะเปิดตลาดทำการค้าขายกันหลายแห่งกลายเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยว เพราะมีจุดชมวิวที่ สวยงามด้วย บางแห่งมีประวัติความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ โดยทั่วไปเป็นจุดที่อยู่ตรงช่องเขาหรือมีแม่น้ำกั้น

ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการท่องเที่ยวตามแนวเส้นทางเชื่อมโยงแหล่ง ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยกำหนด เส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยงและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวร่วมกัน ยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน ด้านบริการท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐาน และพัฒนาบุคลากรภาคบริการให้มีคุณภาพ โดยไทยเป็น ผู้ให้ความช่วยเหลือด้านการตลาด

ประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านมีทรัพยากรทางด้านการท่องเที่ยวมากมาย ทั้งที่มี ความสำคัญทางโบราณคดี ประวัติศาสตร์ พุทธศาสนา และวัฒนธรรมดั้งเดิม มีความงดงาม ทางสถาปัตยกรรม และยังมีทรัพยากรธรรมชาติที่ยังอยู่ในสภาพที่อุดมสมบูรณ์ที่สามารถจะ พัฒนาให้ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการดึงดูดการท่องเที่ยว สามารถพัฒนาเป็นวงจรการท่องเที่ยวเชื่อมโยงระหว่างกัน ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ กับพื้นที่อื่นทั้งในและระหว่างประเทศได้

- แนวเหนือ-ใต้ สามารถพัฒนาเชื่อมโยงไทย พม่า ลาว ไปถึงจีน (ตอนใต้) โดยจัดทำเป็น วงรอบการท่องเที่ยวทางน้ำ ทางบก และทางอากาศ ที่สามารถเริ่มเดินทางจากประเทศ ใดประเทศหนึ่งได้ และปรับเปลี่ยนเส้นทางได้ตามความเหมาะสม รวมถึงการจัดกิจกรรม ตามลำน้ำโขงเพื่อเพิ่มศักยภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางมายังแหล่งท่องเที่ยว ต่างๆ ในพื้นที่

- แนวตะวันออก-ตะวันตก สามารถพัฒนาการท่องเที่ยวในลักษณะ nature-based หรือ soft adventure tours เชื่อมโยงพม่า ไทย ลาว กัมพูชา และต่อไปยังเวียดนามได้ ดังนั้น ประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน จึงมีโอกาสในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชื่อมโยงใน ลักษณะการจัดทำรายการนำเที่ยวร่วมกัน (Joint Package Tour/ Multi-country Tour Packages) และ/หรือการจัดรายการนำเที่ยวข้ามแดนเป็น Cross-border Overland Tours ระหว่างกันได้
 
 
เที่ยวชายแดนไทย-ลาว
ไทยจะเป็นศูนย์กลางการส่งจ่ายนักท่องเที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยวหลักของลาว

การเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยว
- การพัฒนาสามเหลี่ยมท่องเที่ยวระหว่างไทย-กัมพูชา-ลาว (Emerald Triangle) ครอบคลุมพื้นที่

ไทย : บุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี และศรีสะเกษ
กัมพูชา : เขาพระวิหาร รัตนคีรี เสียมราฐ และสตรึงเตง
ลาว : จำปาสัก

- กิจกรรมตามลำน้ำโขงเพื่อเพิ่มศักยภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทาง มายังแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ของทั้งสองประเทศ

การกำหนดพื้นที่ชายแดนเป้าหมาย
ในการพัฒนาร่วมกับ สปป.ลาวมี 7 จุด คือ
1 เชียงของ จ.เชียงราย-บ้านห้วยทราย
2 เชียงแสน จ.เชียงราย – ต้นผึ้ง
3 ห้วยโก๋น จ.น่าน – เมืองเงิน
4 หนองคาย – ท่านาแล้ง
5 นครพนม – ท่าแขก
6 มุกดาหาร – สะหวันนะเขต
7 ช่องเม็ก จ.อุบลราชธานี – ปากเซ

จากการพิจารณาศักยภาพเมืองทั้งด้านความพร้อมในการพัฒนากิจกรรมเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว ความพร้อมของแหล่งวัตถุดิบและแรงงาน และความ ได้เปรียบด้านที่ตั้งของเมืองที่อยู่ในแนวเส้นทางหลักเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้าน ตลอดจน ปัจจัยด้านความมั่นคง พบว่า พื้นที่ชายแดนเป้าหมายที่จะดำเนินการพัฒนาตามลำดับความ เร่งด่วน ประกอบด้วย

เชียงของ เชียงแสน เป็นการพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับและส่งเสริมการลงทุนร่วมระหว่าง ประเทศ ในลักษณะเขตเศรษฐกิจชายแดนที่เชียงราย ครอบคลุม 3 เมืองชายแดนหลัก ได้แก่ แม่สาย เชียงแสน และเชียงของ ซึ่งกำหนดให้ เชียงแสน มีบทบาทเป็นศูนย์กลางการ พัฒนาด้านอุตสาหกรรม โดยเป็นฐานการผลิตและการลงทุนที่สามารถพัฒนาเชื่อมโยงกับ ประเทศเพื่อนบ้านได้ และเชียงของพัฒนาเป็นเขตประกอบการอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตรครบวงจรและเขตอุตสาหกรรมทั่วไปซึ่งจะดำเนินการในระยะที่ สอง

มุกดาหาร พัฒนาเป็นประตูสู่ สปป.ลาว และเวียดนามตอนกลาง ผ่านสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่สองและเป็น “เขตเศรษฐกิจชายแดน” โดยเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมและศูนย์ กระจายสินค้าเพื่อสนับสนุนการผลิตในสะหวันนะเขต (Savan-Seno Special Economic Zone) โดยในระยะแรกมุ่งเน้นการจัดตั้งศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า การ ดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมการเกษตร และสนับสนุนการค้า การท่องเที่ยวตามแนวเชื่อมโยง ไทย สปป.ลาว และเวียดนาม
 
 
เที่ยวชายแดนไทย-กัมพูชา
ไทยทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง การบริการและการส่งจ่ายนักท่องเที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยวหลักของกัมพูชา เชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยว ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมระหว่างไทยกับกัมพูชา

การส่งเสริมการท่องเที่ยวร่วมกันระหว่างไทยและกัมพูชาเป็นเครื่องมือที่สำคัญใน การพัฒนาเศรษฐกิจร่วมกัน ก่อให้เกิดการประสานกันทางด้านสังคมและวัฒนธรรม และเป็นการส่งเสริมการพัฒนาสู่ระดับท้องถิ่น โดยกรอบการพัฒนาที่สำคัญคือ นโยบายการส่งเสริม “two kingdoms one destination” และการพัฒนาตามแนว เชื่อมโยงชายฝั่ง

กัมพูชามีทรัพยากรทางด้านท่องเที่ยวมากมาย แต่ในปัจจุบันแหล่งท่องเที่ยวส่วน ใหญ่ยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย โดยเฉพาะสำหรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศ แหล่ง ท่องเที่ยวที่เป็นที่รู้จักเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ ซึ่งมีความงดงามทางสถาปัตยกรรม เช่น นครวัดนครธม และเกาะกงเป็นพื้นที่ ท่องเที่ยวชายฝั่งทะเล นอกจากนั้นกัมพูชายังมีทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถจะ พัฒนาให้ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางด้านอนุรักษ์ เช่น อุทยานแห่งชาติ เขตรักษา พันธุ์สัตว์ป่า และพื้นที่คุ้มครองต่างๆ ซึ่งยังอยู่ในสภาพที่อุดมสมบูรณ์ โดยการ เชื่อมโยงการท่องเที่ยวระหว่างไทย-กัมพูชา สามารถทำได้ดังนี้
- ทางอากาศ โดยพัฒนาเชื่อมต่อระหว่าง อู่ตะเภา-เสียมราฐ-เกาะกง กรุงเทพฯ-เสียมราฐ-เกาะกง และ พนมเปญ-เสียมราฐ-เกาะกง ซึ่งแต่ละ เส้นทางใช้เวลาการบินเพียง 1 ชม.
- ทางบก มีความเป็นไปได้ในการเชื่อมโยงในเส้นทาง อรัญประเทศ-ปอยเปต- เสียมราฐ และอรัญประเทศ-พระตะบอง-เสียมราฐ
การกำหนดพื้นที่ชายแดนเป้าหมาย
ในการพัฒนาร่วมกับกัมพูชามี 5 จุด คือ
1 ตราด – เกาะกง
2 อรัญประเทศ – ปอยเปต
3 บ้านผักกาด จ.จันทบุรี-ไพลิน
4 ช่องจอม จ.สุรินทร์ -ภูมิสำโรง และ
5 ช่องสะงำ จ.ศรีสะเกษ-อันลองเวง

โดยพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาร่วมกับกัมพูชาได้มีตกลงร่วมระหว่าง 2 ประเทศ ภายใต้แผนความร่วมมือทางเศรษฐกิจและแผนปฏิบัติการไทย-กัมพูชา ซึ่งพื้นที่ เป้าหมายที่จะดำเนินการพัฒนาในระยะแรก คือ

ตราด-เกาะกง โดยมีกิจกรรมการผลิตร่วมไทย-กัมพูชา ภายใต้เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน (Cross Border Economic Zone) การพัฒนาเมืองชายแดนตราด-เกาะกง ตั้งขึ้นอยู่ในพื้นที่ใน ประเทศกัมพูชา เมืองเกาะกง ซึ่งเป็นเมืองหลวงของจังหวัดและอำเภอมอนดูนไซมา ยุทธ ศาสตร์การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนเกาะกง ประกอบด้วย การจัดตั้งนิคม อุตสาหกรรมเกาะกง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมและระบบสาธารณูปโภค พื้นฐาน การส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในท้องถิ่น การจัดตั้งเขตแปรรูปเพื่อการส่งออก การ ส่งเสริมการประมงชายฝั่ง การจัดทำผังเมือง และแผนงานเมืองพี่เมืองน้องในเขตชายแดน

อรัญประเทศ-ปอยเปต ส่งเสริมการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและการสร้างเมืองแฝด (Twin city) กิจกรรมทั้งสองอย่างจะต้องใช้ที่ดินค่อนข้างมาก ดังนั้นกระบวนการวางแผนจึงควร เริ่มต้นด้วยการสำรองพื้นที่เพื่อรองรับการขยายตัวของกิจกรรมต่างๆ

 
 
เที่ยวชายแดนไทย-พม่า
ไทยมี ศักยภาพทางการบริการประชาสัมพันธ์ และการส่งจ่ายนักท่องเที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยว หลักของพม่า

การท่องเที่ยวเชื่อมโยงไทย-พม่า จะเน้นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ Agro-tourism และการจาริกแสวงบุญทางพุทธศาสนา เนื่องจากพม่ามีแหล่งท่องเที่ยวทาง ประวัติศาสตร์พุทธศาสนาและวัฒนธรรมดั้งเดิม และมีทรัพยากรธรรมชาติสมบูรณ์ที่ จะเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการดึงดูดการท่องเที่ยว โดยมีวงจรการท่องเที่ยวในพื้นที่ เป้าหมาย ได้แก่ แม่สาย แม่สอด และระนอง ให้เชื่อมโยงกับพื้นที่อื่นทั้งในและ ระหว่างประเทศในลักษณะการจัดทำรายการนำเที่ยวร่วมกัน (Joint Package Tour/ Multi-country Tour Packages) รวมถึงการจัดรายการนำเที่ยวข้ามแดนเป็น Crossborder Overland Tours

แนวเหนือ-ใต้ ผ่านเชียงราย สนับสนุนการพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว
ภาคเหนือตอนบนเชื่อมโยง 3 ประเทศ พม่า ลาว จีน(ตอนใต้) โดยจัดทำวงรอบการ
ท่องเที่ยวทางน้ำ บก และอากาศ ที่สามารถเริ่มเดินทางจากประเทศใดประเทศหนึ่ง
ได้ และปรับเปลี่ยนเส้นทางได้ตามความเหมาะสม

แนวตะวันออก-ตะวันตก ผ่านแม่สอด สนับสนุนการพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวด้านตะวันตก เน้นการท่องเที่ยวลักษณะ nature-based หรือ soft adventure tours ร่วม 2 ประเทศ เช่น เมาะละแหม่ง เมืองตากอากาศชายทะเล และย่างกุ้ง (ตามโครงการ Golden Civilizations ของ ททท.)

ระนอง-เกาะสอง เน้นการท่องเที่ยวธรรมชาติเชิงอนุรักษ์ และส่งเสริมสุขภาพ แบบ long stay


การกำหนดพื้นที่ชายแดนเป้าหมาย
ในการพัฒนาร่วมกับพม่ามี 6 จุด คือ
1 อ.แม่สาย จ. เชียงราย กับ จ.ท่าขี้เหล็ก
2 อ.แม่สอด จ.ตาก กับ จ.เมียวดี
3 อ.บางสะพาน จ. ประจวบคีรีขันธ์ กับเ มืองปกเปี้ยน
4 จ.กาญจนบุรี กับเมืองทวาย
5 ระนอง – เกาะสอง และ
6 เจดีย์สององค์ จ.กาญจนบุรี– พญาตองซู

จากการพิจารณาความพร้อมพื้นที่จากศักยภาพเมืองทั้งด้าน ความพร้อมในการพัฒนากิจกรรมเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว ความพร้อมของแหล่งวัตถุดิบและแรงงาน และความได้เปรียบด้านที่ตั้งของเมืองที่อยู่ในแนวเส้นทาง
หลักเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้าน ตลอดจนปัจจัยด้านความมั่นคง พบว่า พื้นที่ชายแดนเป้าหมายที่
จะดำเนินการพัฒนาตามลำดับความเร่งด่วน ประกอบด้วย

แม่สาย จ.เชียงราย กับ จ. ท่าขี้เหล็ก เป็นการพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับและส่งเสริมการ ลงทุนร่วมระหว่างประเทศ ในลักษณะเขตเศรษฐกิจชายแดนที่เชียงราย ครอบคลุม 3 เมืองชายแดนหลัก ได้แก่ แม่สาย เชียงแสน และเชียงของ โดยแม่สายจะมีบทบาทเป็น ศูนย์กลางการค้า บริการ ท่องเที่ยว และศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าของเขตเศรษฐกิจ ชายแดนเชียงราย โดยการพัฒนาจะเชื่อมโยงกับการผลิตและพัฒนาพื้นที่ยุทธศาสตร์ เชียงราย-เชียงใหม่-ลำพูน เป็นฐานเศรษฐกิจที่สำคัญตามแนวเขตเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ เชื่อมไทย-พม่า-ลาว-จีนด้านตะวันตก โดยมีเขตเศรษฐกิจเป็นจุดการผลิตหลักเป็นฐาน ทางการค้าการลงทุน อุตสาหกรรม และท่องเที่ยวในอนาคต

แม่สอด จ.ตาก กับ จ.เมียวดี จากความได้เปรียบของที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ที่เป็นประตู เศรษฐกิจเชื่อมสู่พม่า มีความพร้อมของผลิตผลทางการเกษตรที่เป็นวัตถุดิบใน ภาคอุตสาหกรรม ทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และเป็นฐานการผลิต อุตสาหกรรมดั้งเดิมหลายชนิด ส่งผลให้ แม่สอดมีศักยภาพในการพัฒนาการผลิตด้าน อุตสาหกรรม การค้า การลงทุน และท่องเที่ยว โดยสามารถส่งเสริมให้ดำเนินกิจกรรมการ ผลิต และพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจชายแดนร่วม (Cross-Border Economic Zone) ที่จะ เชื่อมโยงการลงทุนกับพม่าในลักษณะ Co-Production Area แห่งแรกระหว่างไทย-พม่า

ระนอง – เกาะสอง พื้นที่มีศักยภาพในการเชื่อมโยงกิจกรรมการผลิตด้านประมง ทั้งนี้ ฐานการผลิตหลักทั้งด้านการค้า การบริการ อุตสาหกรรม จะพึ่งพาด้านการประมง เป็น หลัก ซึ่งปัจจุบันประสบปัญหาจากการยกเลิกสัมปทานประมงในพม่า ทำให้เกิดการปิดตัว โรงงานและธุรกิจเกี่ยวเนื่องจำนวนมาก ในระยะแรกจึงต้องเร่งให้ภาครัฐเจรจาหาข้อยุติ เพื่อฟื้นฟูด้านการค้าและการลงทุน ตลอดจนส่งเสริมการท่องเที่ยวเชื่อมโยงซึ่งมีโอกาส การร่วมทุนการกับประเทศพม่าสูง
 
ที่มาของภาพ และข้อมูล
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอาเซียน กรมประชาสัมพันธ์
ไทยประตูสู่อินโดจีน
จังหวัดชายแดนไทย-ลาว และจีนตอนใต้
เชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี อุตรดิตถ์ น่าน พะเยา
 
จังหวัดชายแดนไทย-กัมพูชา
สระแก้ว สุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ ตราด จันทบุรี
 
     
จังหวัดชายแดนไทย-ลาว/กัมพูชา-เวียดนาม
หนองคาย นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี เชียงราย อุตรดิตถ์ สระแก้ว

 
จังหวัดชายแดนไทย-พม่า
เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง
 
   
 
* สำหรับผู้ประกอบการที่พัก โฮมสเตย์ รีสอร์ท, ร้านอาหาร, ร้านค้า และสถานประกอบการอื่นๆ สามารถแจ้งเพิ่ม แก้ไขข้อมูลรายละเอียดสถานประกอบการ และโปรโมชั่นได้ฟรี
ผ่านทาง e-mail : mekongrivertoday@ .com  
 
:: พันธมิตร(Partner) กับ MekongRiverToday.com
ร่วมเป็นพันธมิตร(Partner) กับเราเพื่อสิทธิประโยชน์ทางธุรกิจของท่าน
แบบเพื่อนบ้าน (ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น)
  ผู้ประกอบการสามารถแจ้งข้อมูลรายละเอียดของที่พัก โฮมสเตย์ รีสอร์ท ร้านอาหาร ร้านค้า ผลิตภัณฑ์ หรือ บริการต่างๆ ของผู้ประกอบการให้กับ MekongRiverToday.com เพื่อรับหน้าเว็บเพจประชาสัมพันธ์ฟรี 1 หน้า พร้อมทั้งรับสิทธิ์แจ้งแก้ไขรายละเอียด และสิทธิพิเศษอื่นๆ อ่านต่อ >>
แบบเพื่อนใจดี (นำสินค้าหรือบริการของท่าน มาแลกบริการของเรา)
  รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานเหมือนเพื่อนบ้าน และรับมากกว่า เช่น โฆษณาฟรีในตำแหน่งแบนเนอร์ว่าง, ประชาสัมพันธ์ผ่านข่าวหน้าแรก MekongRiverToday.com, MekongRiverToday fanpage และ twitter ส่วนลด และบริการโฆษณาฟรี /บริการออกแบบเว็บไซต์ และสิทธิพิเศษอื่นๆ อ่านต่อ >>

อ่านรายละเอียดคลิกที่นี่
สำหรับผู้ประกอบการ  
ติดต่อโฆษณา และประชาสัมพันธ์์ ดูรายละเอียดตำแหน่ง Banner อัตราค่าโฆษณา และโปรโมชั่น อ่านรายละเอียด คลิกที่นี่  
   
 
สะสมแต้ม โลตัสพลัส
ลงโฆษณากับเราวันนี้ รับแต้มสะสมเพื่อแลกรางวัลโฆษณาฟรีกับ MekongRiverToday.com
 
     
 
:: เมนู
ข้อมูลทั่วไป
ประตูสู่อินโดจีน
เมืองชายแดนประเทศไทย
การเดินทาง
โปรโมชั่น
ข่าวท่องเที่ยว
ปฏิทินท่องเที่ยว
สัมผัสอารยธรรมลุ่มแม่น้ำโขง
กิจกรรมท่องเที่ยว
เส้นทางท่องเที่ยว
บันทึกความทรงจำ
ที่พัก โฮมสเตย์ รีสอร์ท
รีวิวที่พัก โฮมสเตย์ รีสอร์ท
ร้านอาหาร กาแฟ เครื่องดื่ม
รีวิวที่กิน ร้านอาหาร
ห้องภาพ





 
A2
A3
 

 
 
 
 
 
 
 
เมืองชายแดนไทย-ลาว เมืองชายแดนไทย-ลาว/กัมพูชา-เวียดนาม เมืองชายแดนไทย-กัมพูชา เมืองชายแดนไทย-พม่า ข้อมูลการเดินทาง
ภูดู่, จ.อุตรดิตถ์
ห้วยโกร๋น, จ.น่าน
บ้านฮวก, จ.พะเยา
เชียงของ, จ.เชียงราย
ท่าลี่, จ.เลย
จ.หนองคาย 
จ.บึงกาฬ
จ.อำนาจเจริญ
จ.อุบลราชธานี
จ.นครพนม
จ.มุกดาหาร
จ.อุบลราชธานี
จ.หนองคาย
ภูดู่, จ.อุตรดิตถ์
เชียงของ, จ.เชียงราย
อรัญประเทศ, จ.สระแก้ว
จ.ศรีสะเกษ
จ.สุรินทร์
จ.บุรีรัมย์
อรัญประเทศ, จ.สระแก้ว
จ.จันทบุรี
บ้านหาดเล็ก, จ.ตราด
แม่สาย, จ.เชียงราย
จ.เชียงใหม่
จ.แม่ฮ่องสอน
แม่สอด, จ.ตาก
จ.กาญจนบุรี
จ.ประจวบคีรีขันธ์
จ.ระนอง
เอกสารการเดินทาง
รถยนต์โดยสารระหว่างประเทศ
         
ลาว เวียดนาม กัมพูชา พม่า จีนตอนใต้
ที่พัก หลวงพระบาง
ที่พัก นครเวียงจันทน์
ที่พัก วังเวียง
ที่พัก จำปาสัก
ที่พัก ไชยะบุรี
ที่พัก เดียนเบียนฟู
ที่พัก กว๋างนิง
ที่พัก ฮานอย ฮาลอง
ที่พัก เว้
ที่พัก ดานัง
ที่พัก ฮอยอัน
ที่พัก โฮจิมินห์ซิตี้ ดาลัต มุยเน่
ที่พัก เสียมราฐ
ที่พัก พนมเปญ
ที่พัก พะตะบอง
ที่พัก เกาะกง
ที่พัก กรุงสีหนุวิลล์
ที่พัก เชียงตุง
ที่พัก เมืองลา
ที่พัก เมียวดี
ที่พัก ย่างกุ้ง
ที่พัก มัณฑะเลย์
ที่พัก พุกาม
ที่พัก อินเล
ที่พัก สิบสองปันนา
ที่พัก คุนหมิง
   
ที่พัก เมืองชายแดนไทย
ไทย-ลาว และจีนตอนใต้
ไทย-ลาว/กัมพูชา-เวียดนาม
ไทย-กัมพูชา
ไทย-พม่า
   
         
ตั๋วเครื่องบิน โรงแรม ที่พัก โฮมสเตย์ รีสอร์ท  แพคเกจทัวร์ รถเช่า  อินเตอร์เน็ตและโทรข้ามแดน
ในประเทศ
ต่างประเทศ 
เมืองชายแดนไทย
ลาว
จีนตอนใต้
เวียดนาม
กัมพูชา
พม่า
เมืองชายแดนไทย
ลาว
จีนตอนใต้
เวียดนาม
กัมพูชา
พม่า
ในประเทศ
ต่างประเทศ 
ในประเทศ
ต่างประเทศ