|
 |
ภาพโดย :
thai.tourismthailand.org |
|
อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ |
ประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในหมู่ บ้านส่วนใหญ่เป็นชาวไทยใหญ่ และมีคนพื้นเมืองเดิมอยู่ร่วมกัน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ทำไร่ และหาของป่ามาเลี้ยงสมาชิกในครอบครัว ที่มาของชื่อหมู่บ้านเวียงแหง น่าจะมาจากการที่หมู่บ้าน เป็นที่ตั้งของเมืองโบราณแต่เดิม และ มีประเพณีวัฒนธรรมเก่าแก่นอกจากนี้ในอดีตยังเป็นเส้นทางเดินทัพของสมเด็จพระ นเรศวรมหาราช
สภาพอากาศดี มีประวัติศาสตร์ของชุมชนที่เป็นเส้นทางเดินทัพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
พื้นที่ส่วนใหญ่ของอำเภอเวียงแหง ประกอบด้วย ภูเขาสูง และ ป่าไม้ ต้นน้ำลำธาร ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 93 % ของพื้นที่อำเภอ มีพื้นที่ราบ และที่ราบเชิงเขา มีลักษณะยาวรี ทอดตัวในแนวทิศเหนือ ทิศใต้ ของอำเภอเป็นพื้นที่ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากเป็นพื้นที่ราบลุ่มน้ำแตง เหมาะแก่การล่องแพ ไปยังเขต ตำบลเมืองคอง อ.เชียงดาว เหมาะสมกับการสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และ ผู้ที่ชอบการผจญภัย
มีชนเผ่าหลากหลาย เช่น ชาวไทยภูเข่าเผ่าลีซอ กะเหรี่ยง มูเซอ ลีซู ไทยใหญ่ ประโอ ประหล่อง และ ไทยลื้อ
มีโบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่ พระธาตุแสนไห และพระธาตุบริวารอีก 9 องค์ ที่เป็นที่สักการะนับถือ
การแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ของชนเผ่า และ ไทยใหญ่ จะเห็นได้เวลามีงานประเพณีสำคัญๆ มีเสน่ห์ชวนมอง
อาหารพื้นเมืองประจำถิ่น ได้แก่
คั่วถั่วมะแปบ-ถั่วมันหมู-ผักกาดจอเจม-ไก่หลาม-แกงน้ำขิงใส่ ปลา
น้ำพริกคั่วทราย-จิ้นลุง-แกงฮังเล-แกงแคไก่-แกงแคกบ-ปลาหลาม
คั่วหน่อไม้ใส่งา- ใส้อั่วสมุนไพร- แกงอ่อม-น้ำพริกตาแดง-จิ้นตำ-แกงผักเขียว
|
อาณาเขต |
อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่
|
หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ |
ตำรวจท่องเที่ยว
|
Link ที่น่าสนใจ |
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงาน
บริการและสิ่งอำนวยความสะดวก:
ให้การสนับสนุนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ โดยการให้โบรชัวร์การท่องเที่ยวและสร้างสรรค์สื่อการท่องเที่ยว
กรมอุตุนิยมวิทยา - อากาศจังหวัด อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่
|
|
 |
|
|
ที่มาของภาพ และข้อมูล
จังหวัด อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
|