|
|
ภาพโดย :
thai.tourismthailand.org |
|
หนองคาย |
จังหวัดหนองคายเป็นจังหวัดชายแดนริมฝั่งแม่น้ำโขงที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่ง เพราะเป็นประตูสู่เมืองเวียงจันทน์ เมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นที่ตั้งของสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งแรก ที่เชื่อมโยงประเทศไทย-ลาวเข้าด้วยกัน ทำให้หนองคายในวันนี้กลายเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญเมืองหนึ่ง โดยเฉพาะเป็นจุดชมบั้งไฟพญานาคในวันออกพรรษาที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลกและด้วย ความที่เป็นเมืองสงบเงียบ เรียบง่าย เต็มไปด้วยบรรยากาศแห่งศาสนา วัฒนธรรมประเพณี และวิถีชีวิตพื้นบ้าน ที่ผสมผสานกันได้อย่างลงตัวและมีเสน่ห์ ทั้งยังอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ หลากหลายไปด้วยอาหารการกินและสินค้านานาชนิด มีโรงแรมที่พักมากมาย และการคมนาคมสะดวกสบาย เมืองริมโขงแห่งนี้จึงเป็นอีกหนึ่งเมืองท่องเที่ยวที่นักเดินทางไม่ควรพลาด มาเยี่ยมเยือน
หนองคายมีพื้นที่ล้อมรอบทั้งหมด 7,332.38 ตาราง กิโลเมตร หรือ 4,582,675 ไร่ เป็นจังหวัดเขตชายแดนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 615 กิโลเมตร จ. หนองคายมีแม่น้ำโขงเป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว แขวงต่างๆ ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวที่มีเขตแดนติดกับเขตแดนของ จ. หนองคาย ได้แก่ กำแพงนครเวียงจันทร์ แขวงบริคำไซย และแขวงคำม่วน จ. หนองคายมีด่านผ่านแดนไปสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนประลาว 6 ด่าน มี 3 จุดเป็นด่านถาวร อีก 3 จุดเป็นด่านผ่อนผัน มีสะพานมิตรภาพไทย-ลาวเชื่อมไปมาระหว่างทั้งสองประเทศเป็นหลัก ซึ่งประเทศไทยและประเทศออสเตรเลียได้ร่วมมือกันสร้างขึ้นเพื่อเป็นประตู สำคัญสู่อินโดจีน
|
อาณาเขต |
ทิศเหนือ ติดต่อกับ แม่น้ำโขงซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศไทย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดสกลนคร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดนครพนม
ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดเลย
ภูมิประเทศ
จังหวัดหนองคายตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ราบสูงซึ่งได้แบ่งตามพื้นที่ออกเป็น 4 ลักษณะ
บริเวณที่ราบได้แก่ อำเภอเมืองหนองคาย อำเภอท่าบ่อ และอำเภอศรีเชียงใหม่ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกข้าวและการเพาะปลูกตามริมฝั่งแม่น้ำโขง
บริเวณที่เป็นเนินราบเป็นพื้นที่ที่มีกระจายอยู่ทั่วไปในทุกเขตอำเภอซึ่งใช้เป็นนาข้าว ใช้ในการเพาะปลูกพืชไร่ต่างๆ ใช้ในการทำสวน และเป็นป่าธรรมชาติ
บริเวณที่เป็นเนินสูงชันและเนินเขา เป็นพื้นที่ที่มีป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณซึ่งพบได้ในเขตอำเภอบึงกาฬอำเภอเซกา อำเภอบึงโขงหลง อำเภอศรีวิไล อำเภอบุงคล้า อำเภอพรเจริญ อำเภอสังคม เป็นต้น
บริเวณที่เป็นภูเขาสูงและที่สูงชันเหนือระดับน้ำทะเล 200 เมตร ซึ่งเป็นแนวทิวเขาต่างๆ ที่อยู่ทางทิศตะวันตกในเขตอำเภอสังคม และทางทิศตะวันออกในเขตอำเภอบึงกาฬ หลายอำเภอได้รับประโยชน์สำหรับการทำการเกษตรจากการที่มีแม่น้ำโขงไหลผ่าน นอกจากการเกษตรประชาชนยังใช้ประโยชน์จากแม่น้ำโขงในการบริโภคอีกด้วย โดยเฉพาะประชาชนที่อาศัยอยู่ตามริมฝั่งแม่น้ำโขง นอกจากนั้นสำนักงานคณะกรรมการพลังงานแห่งชาติยังได้ติดตั้งสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าขึ้น 113 สถานี ใน 11 อำเภอและ 2 กิ่งอำเภอ เพื่อสูบน้ำจากแม่น้ำโขงสำหรับใช้ในการทำการเกษตร นอกเหนือจากแม่น้ำโขงแล้วยังมีแม่น้ำสงครามที่มีความยาว 420 กิโลเมตร ที่ไหลมาจากทิวเขาพูพานซึ่งไหลผ่าน จ.อุดรธานี จ. สกลนคร อ. โซ่พิสัย และ อ. เซกา
ภูมิอากาศ
ค่าเฉลี่ยฝนในระหว่างปี พ.ศ. 2530- พ.ศ. 2535 มีค่า 1,662.2 มิลลิเมตร ในปี 2534 ฝนตกหนักที่สุดนานถึง 23 วัน และปริมาตรน้ำสูงถึง 379.4 มิลลิเมตร และปริมาตรฝนที่น้อยที่สุดคือตกเพียง 2 วัน ซึ่งก็อยู่ในปี พ.ศ. 2534 และมีปริมาตรน้ำฝน 1.1 มิลลิเมตร หนองคายมีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 18.0-37.0 องศาเซลเซียส
เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ติดกับแม่น้ำโขงจึงทำให้จังหวัดหนองคายมีฝนตกหนักในช่วงเดือนพฤษภาคนจนถึงเดือนตุลาคมของทุกปี ฤดูหนาวจะเริ่มในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์โดยอุณหภูมิเฉลี่ยในพื้นที่เกือบทั้งหมดอยู่ที่ 11 องศาเซลเซียส และฤดูร้อนจะเริ่มในเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายนด้วยอุณหภูมิเฉลี่ยที่ 35 องศาเซลเซียส
เขตการปกครอง
จังหวัดหนองคายแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 13 อำเภอ และ 4 กิ่งอำเภอ, องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลเมือง 1 แห่ง, เทศบาลตำบล 16 แห่ง, องค์การบริหารส่วนตำบล 112 แห่ง, 115 ตำบล, 1,300 หมู่บ้าน มี 9 อำเภอ และ 1 กิ่งอำเภอที่อยู่ติดบริเวณชายแดน มีสำนักงาน 35 แห่งที่อยู่ภายใต้การบริหารโดยตรงของสำนักงานบริหารส่วนภูมิภาค และสำนักงานอีก 66 แห่งอยู่ภายใต้การสั่งการโดยตรงของสำนักงานบริหารส่วนกลาง กรมต่างๆ และหน่วยงานต่างๆ ที่เป็นสำนักงานการดูแลตรวจตรา
|
หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ |
ตำรวจท่องเที่ยว
|
Link ที่น่าสนใจ |
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงาน
บริการและสิ่งอำนวยความสะดวก:
ให้การสนับสนุนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ โดยการให้โบรชัวร์การท่องเที่ยวและสร้างสรรค์สื่อการท่องเที่ยว
กรมอุตุนิยมวิทยา - อากาศจังหวัดหนองคาย
|
|
|
|
|
ที่มาของภาพ และข้อมูล
สำนักงานจังหวัดหนองคาย
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
|