วันที่ 1 ของทริป
19.30 ออกเดินทางรถปรับอากาศพิเศษ พักกลางทาง รับประทานข้าวต้มร้อน ๆ และเข้าห้องน้ำ ที่พิษณุโลก
วันที่ 2 ของทริป
06.00 เดินทางถึงสถานีขนส่ง อ.ปัว
06.00 เดินทางจากสถานีขนส่ง อ.ปัว เข้าที่พัก
08.30 รับประทานอาหารเช้า
09.30 ศักการะ ... ศาลเจ้าพ่อหลวงภูคา และเที่ยวน้ำตกศิลาเพชร น้ำตก ที่มีต้นกำเนิด จากดอยภูคา
10.30 ดูแม่บ้านป่าตอง ทำข้าวแคบ ขนมพื้นเมือง วิถีชุมชนที่กำลังจางหายไปจากชุมชน
จากนั้นไปที่วัดพระธาตุจอมพริก จากที่นี่ ภาพพาโนรามา ของ ต.ศิลาเพชร ต้นกำเนิดแห่งตำนาน เมืองย่าง ... เมืองน่าน
ย้อนขึ้นไปทาง อ.ท่าวังผา ไปยังวัดหนองบัว วัดที่ยังคงศิลปไตลื้อ ได้อย่างสมบูรณ์ อุโบสถหลังเล็ก ๆ สิงห์ 2 ตัวหมอบเฝ้าหน้าวิหาร ถ้าโชคดี หน้าวิหารจะมี ดนตรีพื้นเมืองผู้สูงอาย ... ด้านหลังวิหาร จะมี เฮือนไทลื้อมะเก่า เฮือนพำนักที่บ่งบอกเรื่องราวของความเป็นอยู่ผู้คน ณ ดินแดนแห่งนี้ ... ที่ใต้ถุนเฮือน มีร้านค้ากลุ่มแม่บ้าน ร้านเล็ก ๆ พร้อมกับกี่ทอผ้า
12.30 อาหารกลางวัน
13.30 เดินทาง เข้าไป เวียงวรนคร ในอดีต หรือ เมืองปัว ในปัจจุบัน
ไปดูวัดศิลปะไทลื้อโบราณ ต้นกำเนิดแห่งประวัติศาสตร์เมืองน่าน ที่วัดบ้านต้นแหลง วัดที่อุโบสถ ยังคงสภาพเดิมไว้ได้อย่างเหนียวแน่น (เป็นความโชคดี ที่ชุมชน ไม่มีเงินพอที่จะสร้างอุโบสถใหม่) บนหลังคา เราจะเห็นพญานาค 3 เศียร แปลกตา ... แทน พระพุทธ พระธรรม พระสงค์ ... และสิงห์คู่ ที่ยืนปกป้อง หน้าอุโบสถ ซึ่งภายใน โปร่งเย็นสบาย ตามสไตล์ไตลื้อ ที่หลังคา ยังคงมุงด้วยไม้ หากทรุดโทรมลงตามกาลเวลา หากมีใจศรัทธา ก็ร่วมบริจาคเงินเพื่อซ่อมแซมได้
ไปวัดปรางค์ ดูต้นดิกเดียม เป็นต้นไม้ที่แปลก คือ เมื่อมีคนเอามือไปเกาที่ลำต้น ... กิ่ง และใบของต้นดิกเดียมจะแกว่งสั่นไหว ทั้งๆ ที่ไม่มีลมพัด มาถึงปัว
แวะชมเครื่องเงิน ที่ดอยซิลเวอร์แวร์ เครื่องเงินเมืองน่าน ได้ชื่อว่า เป็นเครื่องเงินที่มีชื่อแห่งหนึ่งทีเดียว ... และบริเวณ หน้าร้านนี้ จะมีซุ้มขายผ้าทอสวย ๆ ทั้งลายเอกลักษณ์ของเมืองย่าง และลายประยุกต์ ที่ยังมีกลิ่นอาย แห่งไตลื้อ
16.00 กลับมาถึงที่พัก
18.00 รับประทานอาหารเย็น
วันที่ 3 ของทริป
08.00 รับประทานอาหารเช้า
แวะสักการะ อนุสาวรีย์พระยาผานอง ที่หน้าอำเภอปัว
10.30 แวะชมวัดร้องแง วัดศิลปะไทยลื้อ บนเส้นทางขึ้นดอยภูคา ...ลัดเลาะไต่ดอย ชื่นชมธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ ขุนเขา ผ่านที่ทำการอุทธยานดอยภูคา ตัดไปยัง บ่อเกลือ ... แวะพักเพื่อชมวิว เป็นระยะ ๆ ตามอัธยาศัย เช่น ที่จุดชมวิว (มีศาลเจ้าพ่อหลวงภูคาด้วย) ลานดูดาว
12.30 รับประทานอาหารกลางวัน ที่บ่อเกลือ
13.30 เที่ยวชมบ่อเกลือ แหล่งผลิตเกลือสินเธาร์ ใหญ่มากในภูมิภาคนี้ ... เกลือ ... ขุมทรัพย์อันมีค่า ที่เหล่านครรัฐที่เข้มแข็งในละแวกนี้ ในอดีต จะแผ่อิทธิพลเหนือแหล่งทรัพยากรแห่งนี้
15.30 ถึงที่พัก บนยอดภูคา ... เข้าที่พัก บ้านพักอุทยานภูคา พักผ่อนตามอัธยาศัย ชื่นชมธรรมชาติ ที่ระเบียงหลังห้องพัก ซึ่งสวยงามและอากาศดีมาก ก็ตามอัธยาศัย ถึงเวลา
18.00 รับประทานอาหารเย็น
วันที่ 4 ของทริป
07.00 รับประทานอาหารเช้า
08.00 เดินทางลงจากดอยภูคา มาทางศิลาเพชร
10.00 แวะชมหอศิลป์ริมน่าน ... จุดเชื่อมต่อแห่งกาลเวลา
11.00 แล้วเราก็เข้าสู่ ใจกลางเมืองน่าน ... การเคลื่อนย้ายจากศิลาเพชร เข้าสู่เมืองน่าน ณ ที่ตั้งอยู่ในปัจจุบัน ในช่วงเวลายาวนาน นับร้อยปี
วัดพระธาตุแช่แห้ง วัดประจำสำหรับคนปีเถอะ
11.30 รับประทานอาหารกลางวัน
12.30 ลุยกันต่อ ...5 สถานที่ ที่ละครึ่งชั่วโมง
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ น่าน
วันวาน คือ หอคำ อันเป็นที่ประทับของพระเจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดชฯ พระเจ้าน่าน ทรงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2446
แวะไปถ่ายรูปต้นดอกจำปาลาว มุมมหาชน
วัดภูมินทร์
เป็นวัดที่สร้างทรงจัตุรมุข ที่ดูคล้ายตั้งอยู่บนหลังพญานาคขนาดใหญ่ 2 ตัว แหนพระอุโบสถเทินไว้กลางลำตัว ตรงใจกลางพระอุโบสถจัตุรมุข ประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ 4 องค์ หันพระพักตร์ออกด้านประตูทั้งสี่ทิศ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง แสดงเรื่องราวชาดก วิถีชีวิตพื้นบ้าน และภาพ ปู่ม่าน ย่าม่าน ...
วัดพระธาตุช้างค้ำ ... วันวาน คือ วัดหลวงกลางเวียง พญาภูเข่ง เจ้าผู้ครองนครน่าน เป็นผู้สร้าง เมื่อปี พ.ศ. 1949 หรือย้อนอดีตไปเกือบ 400 ปี ภายในวัดประดิษฐาน เจดีย์ช้างค้ำ ซึ่งเป็นศิลปสมัยสุโขทัย อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 รอบเจดีย์มีรูปปั้นช้างปูนปั้น เพียงครึ่งตัวประดับอยู่โดยรอบ
วัดหัวข่วง ... ศิลปกรรมแบบท้องถิ่นล้านนา สกุลช่างเมืองน่าน มีหอไตรเก่าลักษณะน่าชม คล้ายวิหาร แต่มีขนาดเล็ก และทรงสูง หน้าบันและฝาชั้นบน ประดับลายแกะสลักสวยงาม ตั้งอยู่ใกล้องค์เจดีย์ทรงประสาท หรือเรือนทอง อิทธิพล ศิลปะล้านนา ทรงรูปแบบที่ช่างเมืองน่าน ดัดแปลงนำมาใช้ในระยะหลัง ซึ่งคงมีอายุไม่เก่าไปกว่าครึ่งแรก ของพุทธศตวรรณที่ 22
วัดมิ่งเมือง
เป็นที่ประดิษสถานของหลักเมือง และจุดเด่นของวัดนี้ คือ สถาปัตยกรรม ที่ผสมผสานแนวความคิดสมัยใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิหารวัดมิ่งเมือง ที่มี ลวดลายศิลปะปูนปั้น ที่ประดับตกแต่งตัววิหาร มีความสวยงาม วิจิตรบรรจงมาก
16.00 รับประทานอาหารเย็น
17.00 ไปดูตะวันลับฟ้า ที่วัดพระธาตุเขาน้อย ที่อยู่ไม่ไกลมากนัก ที่นี่ เมืองน่าน ทั้งเมือง ก็จะอยู่เบื้องหน้าเรา เฉกเช่น อยู่เบื้องหน้า พระปางลีลา ที่ทอดสายตา สอดส่อง การใช้ชีวิตของชาวน่าน ให้อยู่เย็นเป็นสุข
18.00 เดินทางถึงสถานีขนส่ง ซึ่งอยู่เชิงเขา วัดพระธาตุเขาน้อย
18.30 รถออกจากสถานี จังหวัดน่าน รถทัวร์
วันที่ 5 ของทริป
05.00 ถึง กทม. โดยสวัสดิภาพ (มีพักกลางทาง รับประทานข้าวต้มร้อน ๆ และเข้าห้องน้ำ ที่พิษณุโลก) |