|
|
|
หัตถกรรมขึ้นชื่อของเมืองน่าน เพราะมีลวดลายสวยงาม เป็นเอกลักษ์เฉพาะถิ่น โดยเฉพาะผ้าทอของชาวไทลื้อ ที่น่าสนใจเป็นพิเศษคือ ผ้าซิ่น โดยจะมีลายที่เป็นเอกลักษณ์ คือ ซิ่นตีนจก ซิ่นมัดหมี่ หรือที่ชาวไทยลื้อเรียก ซิ่นก่าน ซิ่นม่าน หรือซิ่นป้อง และลายที่มีชื่อเสียงมาก รู้จักกันทั่วไปว่าเป็นผ้าทอมือของเมืองน่าน คือ ซิ่นลายน้ำไหล ลายไทลื้อ |
|
กลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดน่านมีทั้งชนชาติไท ชาวไทยภูเขา ที่อาศัยอยู่เดิมและได้อพยพมาจากล้านช้าง สิบสองปันนา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้แก่ ไทยวนหรือไทยโยนก ไทลื้อ ถิ่น(ลัวะ) ขมุ ม้ง(แม้ว) เย้า (เมี่ยน) และมลาบรี (ผีตองเหลือง) จึงทำให้ผ้าทอเมืองน่านมีที่มาของภาพ และข้อมูลหลายแห่งด้วยกัน
ผ้าทอเมืองน่านเป็นผ้าที่ทอจากฝ้าย ในอดีตนั้นจะใช้ฝ้ายที่มีในท้องถิ่น โดยเริ่มจากการปลูกฝ้าย และเข้าสู่ขบวนการผลิตเป็นเส้นด้าย โดยภูมิปัญญาของท้องถิ่นทั้งหมด รวมทั้งกรรมวิธีย้อมสีธรรมชาติ เช่น สีดำจากผลมะเกลือ สีแดงจากครั่ง สีเหลืองจากขมิ้น แก่นขนุนและสีน้ำตาลได้จากเปลือกต้นสุน เป็นต้น การสืบทอดทางวัฒนธรรม พบว่า ผู้ที่มีอาชีพทอผ้าส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากชาวไทยลื้อโบราณ |
|
ผ้าทอไทลื้อ ของชุมชนบ้านหนองบัว
ผ้าทอลายน้ำไหล ผ้าทอที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวไทลื้อ จังหวัดน่าน เมืองเก่า ยังคงรักษาประเพณีวัฒนธรรมโบราณของตนเองสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งสันนิฐานว่าการออกแบบลายผ้าทอชาวไทลื้อ สืบเชื้อสายมาจากชาวไทลื้อในดินแดนสิบสองปันนา ประเทศจีน อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2379
โดยตั้งถิ่นฐานที่บ้านล้าหลวง อ.เชียงคำ จ.พะเยา และตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านหนองบัว บ้านต้นฮ่าง ต.ป่าคา อ.ท่าวังผา จ.น่าน และบ้านดอนมูล อ.ท่าวังผา จ.น่าน โดยการนำของเจ้าหลวงเมืองล้า ชาวไทลื้อ มีภาษาพูด และประเพณีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง
สาเหตุที่เรียกผ้าทอลายน้ำไหล เพราะลวดลายที่อออกมามีลักษณะเหมือนลายน้ำไหล จึงเรียกว่าผ้าลายน้ำไหล แต่ปัจจุบันได้คิดพลิกแพลงลวดลายต่างๆ เพิ่มขึ้นมาอีกมากมาย และได้ขยายพื้นที่การทอผ้าเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่ยังคงเรียกชื่อเดิมว่าผ้าลายน้ำไหล ผ้าทอลายน้ำไหลจังหวัดน่าน ปัจจุบันมีการทอลวดลายต่างๆ มากมาย เช่น ลายน้ำไหล มีลักษณะเป็นคลื่นเหมือนขั้นบันไดมองดูเหมือนสายน้ำกำลังไหลเป็นทางยาว นับว่าเป็นลายต้นแบบ และดั้งเดิม จึงเรียกลายน้ำไหล
ในส่วนของผู้ผลิตผ้าลายน้ำไหล ต้นตำรับดั้งเดิมอยู่ที่ บ้านหนองบัว หมู่บ้านของชาวไทลื้อเชื้อสายเมืองล้า โดยเริ่มทอผ้ามาไม่น้อยกว่า 150 ปี โดยมีนางจันทร์สม พรหมปัญญา เป็นประธานกลุ่ม เมื่อปี 2523 และแบ่งกลุ่มออกเป็น 2 จุด จุดแรกที่บ้าน นางจันทร์สม และจุดที่สองที่บ้านคุณดวงศรี และก็มีการกระจัดกระจายไปตามครัวเรือนต่างๆ ที่มีกี่กระตุกเครื่องทอผ้า
โดยทางกลุ่มมีสมาชิกทั้งหมด 19 คน ส่วนใหญ่จะใช้เวลาว่างจากการทำการเกษตร มารวมกลุ่มทอผ้า
|
ทั้งนี้ ในส่วนของช่องทางการขาย ทางบ้านหนองบัว ยังคงยึดช่องทางการขาย เดิม คือ ในวัดหนองบัว และที่บ้านป้าจันทร์สม เพราะต้องการสร้างเอกลักษณ์ให้กับผ้าทอลายน้ำไหลของชาวไทลื้อ มีขายเพียงแห่งเดียว นักท่องเที่ยวต้องมาซื้อที่แหล่งผลิตที่บ้านหนองบัวเท่านั้น ถึงจะได้ของแท้ ราคาขายต่อผืนประมาณ350- 450 บาท ปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนแปรรูปออกมาเป็นกระเป๋า ผ้าคลุมไหล่ ผ้าม่าน เป็นต้น ซึ่งเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม และสร้างโอกาสการขายใหม่อีกทางหนึ่ง ด้วย
โทร. 054-685-222 |
|
|
|
ที่มาของภาพ และข้อมูล :
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
สำนักงานจังหวัดน่าน
ASTVผู้จัดการออนไลน์ : ผ้าทอชาวไทลื้อ ดึงภูมิปัญญาขายท่องเที่ยวโอทอปเมืองน่าน |