หน้าแรก > เที่ยวเมืองน่าน สัมผัสชมพูภูคาบานบนอุทยานแห่งชาติดอยภูคาแห่งเดียวในโลก
|
|
|
|
|
น่าน เมืองที่ยังคงรักษาวัฒนธรรมได้อย่างน่าอัศจรรย์ สะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ด้าน โบราณสถาน สถาปัตยกรรม อาคา รบ้านเรือน งานศิลปะ ประเพณี วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนหลากหลายชนเผ่า ผ่านมาหลายยุคสมัยที่สังคมมีการเปลี่ยนแปลงจากกระแสความเจริญจากภายนอกอย่าง มากมาย จนถึงปัจจุบันน่านยังคงรักษาวัฒนธรรมได้ลงตัวอย่างลงตัวและน่าสนใจอย่าง ยิ่ง น่านยังได้รับการกล่าวกันว่าเป็นชุมชนคนต้นน้ำอันเป็นพื้นที่ประกอบด้วย แม่น้ำ สา ยธาร ภูเขา ป่าไม้ ทั้งวัฒนธรรมและธรรมชาติได้หล่อหลอมความเป็น เมืองแห่งอารยธรรม ล้านนาตะวันออก อย่างแท้จริง และยังมีกลิ่นไอของอารยธรรมล้านช้างหรือเมืองหลวงพระบางอันลือชื่อใน ปัจจุบัน อีกด้วย อันเป็นเสน่ห์ให้ผู้คนหลงใหลในความเป็นอดีตและความเป็นธรรมชาติเดินทางมา ท่องเที่ยวยังเมืองน่านและกลายเป็นจุดหมายทางการท่องเที่ยวแห่งใหม่ใน ภูมิภาคภาคเหนือในปัจจุบัน
|
|
ในเดือนกุมภาพันธ์ อันเป็นเดือนแห่งความรัก ไปจนถึงเดือนมีนาคม นักท่องเที่ยวต่างรอคอยที่จะมาสัมผัสความงามของดอกชมพูภูคา
นามว่า ชมพูภูคา ได้รับพระราชทานมาจากสมเด็จพระเทพพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ต้นชมพูภูคาเป็นพืชหายากชนิดหนึ่งของโลก
มีดอกสีชมพูอมขาว มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Bretschneidera sinensis Hemsl ชื่อวงศ์ BRETSCHNEIDERACEAE
พบแห่งเดียวที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา อ.ปัว จ.น่าน เคยค้นพบในพื้นที่ตอนใต้ของประเทศจีนและตอนเหนือของประเทศเวียดนาม
จากนั้นก็ไม่มีการค้นพบอีกเลยและอาจจะสูญพันธ์จากโลกไปแล้ว จนในปี 2552 ได้มีการค้นพบอีกครั้งโดย ดร. ธวัชชัย สันติสุข
นักพฤกษศาสตร์คนสำคัญของประเทศไทย ณ อุทยานแห่งชาติ ดอยภูคาแห่งนี้
|
|
ดอยภูคานับเป็นบ้านแห่งสุดท้ายของต้นชมพูภูคาพันธุ์ไม้หิมาลัย เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 ดร.ธวัชชัย สันติสุข ผู้เชี่ยวชาญพฤกษศาสตร์ป่าไม้ กรมป่าไม้ เป็นผู้สำรวจพบเป็นครั้งแรกในเขตอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ทุกปีในเดือนกุมภาพันธ์ดอกชมพูภูคาจะผลิดอกตามปลายกิ่งเป็นช่อสีชมพูยาว 30-35 เซนติเมตร เมื่อบานจะทำให้ช่อดอกเป็นพุ่มสวยงาม ชมพูภูคาเป็นพันธุ์ไม้ที่เคยมีการสำรวจพบตามหุบเขาแถบมณฑลยูนนานทางตอนใต้ของประเทศจีนและทางเหนือของเวียดนาม จากนั้นก็ไม่มีรายงานการค้นพบพืชชนิดนี้อีก พื้นที่ป่าดิบเขาดอยภูคาจึงอาจเป็นแหล่งกำเนิดสุดท้ายของชมพูภูคา ซึ่งเป็นไม้หายากใกล้สูญพันธุ์ชนิดหนึ่งของโลก จุดชมต้นชมพูภูคาที่เข้าถึงง่ายที่สุดอยู่ริมถนนห่างจากที่ทำการไป 5 กิโลเมตร
เส้นทางศึกษาธรรมชาติชมพูภูคา จัดไว้ 2 เส้นทาง คือ เส้นทางศึกษาธรรมชาติดอกชมพูภูคามีทั้งเส้นรอบใหญ่ ระยะทาง 4 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 3 ชั่วโมง และเส้นทางรอบเล็กระยะทาง 2 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 1.30 ชั่วโมง ซึ่งจะพบพันธุ์ไม้ที่หายากและพันธุ์ไม้เฉพาะถิ่น สมุนไพร เป็นต้น และเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าดึกดำบรรพ์ (ดอยดงหญ้าหวาย) ระยะทาง 7 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 5 ชั่วโมง เป็นแหล่งดูนก ที่มีนกไต่ไม้สีสวยที่พบเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย นกชนิดต่าง ๆ และผีเสื้อนานาพันธุ์ด้วย |
|
ที่มาของภาพ และข้อมูล : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย |