หน้าแรก > เยือนดินแดนมรดกโลก หลวงพระบาง สปป.ลาว ..
เส้นทาง น่าน - ด่านห้วยโก๋น - เมืองเงิน - เมืองหงสา - ไซยะบุลี - หลวงพระบาง |
|
|
|
ภาพโดย facebook.com/YoSopa |
เยี่ยมยามเมืองคู่แฝดของน่าน หลวงพระบาง .. เส้นทาง น่าน - ด่านห้วยโก๋น - เมืองเงิน - เมืองหงสา - ไซยะบุลี - หลวงพระบาง ดินแดนมรดกโลก แห่งอาณาจักรล้านช้าง สายน้ำโขงอันงดงาม กับวิถีชีวิตของชาวหลวงพระบาง |
|
จากเมืองน่านนั้นมีเส้นทางถนนที่เชื่อมโรงไปถึงเมืองคู่แฝดในประวัติศาสตร์ของน่านได้ โดยขับรถขึ้นไปทางเหนือ ผ่านอำเภอท่าวังผา อำเภอเชียงกลาง อำเภอทุ่งช้าง ไปสุดที่ปลายชายแดนบ้านห้วยโก๋นที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงกว่า แล้วไปผ่านเข้าด่านน้ำเงินของลาว ผ่านเมืองเงิน เมืองหงสา เมืองไชยะบุลี ไปถึงเมืองหลวงพระบาง |
|
ประตูสู่หลวงพระบาง เมืองคู่แฝดของน่าน
การเดินทางไปหลวงพระบาง ผ่านด่านห้วยโก๋น อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน และผ่านด่านสากลน้ำเงิน สปป.ลาว แบ่งเป็นทางรถยนต์ และทางเรือ
อ่านต่อ >> |
|
ตลาดชายแดนบ้านห้วยโก๋น
ตลาดจะมีทุกวันเสาร์ เริ่มตั้งแต่เช้าถึงประมาณใกล้เที่ยง สินค้าที่จำหน่าย ได้แก่ ผ้าทอลายน้ำไหล ฝีมือชาวไทลื้อ สินค้าอุปโภคบริโภค
อ่านต่อ >> |
|
|
|
จากด่านน้ำเงินของลาว ผ่าน ตม. ลาว เดินทางจุดมุ่งหมายค้างแรมกันที่ เมืองหงสา ถึงจะเป็นเมืองเล็ก ๆ แต่ก็พอจะมีอะไรให้เที่ยวชมอยู่บ้าง อย่างเช่นวัดวาอารามตามรายทาง
วัดบ้านเวียงแก้ว เป็นวัดแรก
นอกจากพระธาตุองค์เล็ก ๆ น้อย ๆ สีกระดำกระด่างบนลานวัดยังมีวิหารสถาปัตยกรรมแบบไทลื้อหลังคาแป้นเกล็ดไม้ตระหง่าน
แม้สภาพจะทรุดโทรมไปสักหน่อย
หน้าวิหารมีสิงห์ปูนปั้นหน้าตาเหมือนสัตว์ประหลาดจังก้าอยู่สองฟากประตูที่เขียนลวดลายทวารบาลสีเหลืองแดง
ภาพจิตรกรรมฝีมือช่างพื้นเมืองสีสันและลานตา ดูน่ารักคล้าย ๆ จิตรกรรมเด็ก บนผนังด้านหน้าแอบเข้าไปภายในวิหาร
ที่อลังการด้วยตุงผ้ามากมายแขวนห้อยระย้าลงมาจากเพดานพากันกราบพระประธานปูนปั้นศิลปะไทลื้อก่อนจะแยกย้ายกันไปตื่นตาตื่นใจ
กับจิตรกรรมบนผนังด้านในที่วาดด้วยเส้นสายและสีสันสดใสจริงใจ ส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องราวในพุทธประวัติและชาดก
วัดสีมงคน วัดนี้มีวิหารหลังเล็กทรวดทรงคล้ายสิมอีสานตั้งอยู่หน้าเสาหงส์ปูนปั้น หน้าบันรวงผึ้ง แกะสลักไม้สวยงาม แต่ชำรุดทรุดโทรม ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปประธานปูนปั้น 3 องค์ พญานาคเชิงบันไดทางขึ้น ที่ใช้เปลือกหอยแครงมาทำเป็นเกล็ดพญานาคบอกว่ารู้จักประยุกต์วัสดุเหลือใช้
วัดสีบุนเรือง ไหว้องค์พระธาตุสีบุนเรือง อันเก่าแก่อายุกว่า 400 ปี (แต่ทาสีทองใหม่เอี่ยม) ที่เรียงรายอยู่กับเจดีย์องค์เล็ก ๆ อีกหลายองค์
เมืองหงสา มีชื่อ เต็ม ๆ ว่าเมืองหงสาวดี เป็นเมืองที่มีช้างมากเหมือนกับสุรินทร์บ้านเรา แถมยังมีงานช้างเหมือนกันด้วย เวลางานจะมีช้างมาชุมนุมกันประมาณ 700 เชือก ส่วนเวลาไม่มีงานช้างก็จะอยู่ในป่า นักท่องเที่ยวฝรั่งเข้ามากันเยอะ แต่มาจากหลวงพระบาง ไม่ได้เข้ามาจากทางด่านน้ำเงินเหมือนเรา ส่วนใหญ่ก็จะเข้ามาขี่ช้างเที่ยวป่ากันในราคา 25 เหรียญ ต่อ 2 ชั่วโมง
เช่ารถไปขี่เที่ยว ค่าเช่าจักรยานคิดเป็นวัน วันละ 20,000 กีบ ขี่เล่นริมทุ่งนาชมบรรยากาศชนบทยามอาทิตย์ลับขอบฟ้า
จากเมืองหงสาเราต้องนั่งรถลุยข้ามน้ำ ไปยังบ้านท่าช่วงอันเป็นท่าเรือโดยสารที่จะนำพาเราไปยังเมืองหลวงพระบาง มรดกโลก จุดหมายปลายทาง ความจริงทางถนนก็ไปได้เหมือนกัน โดยผ่านไปทางเมืองไชยะบุลี
ลงเรือนั่งเอกเขนกกินลมชมทิวทัศน์สองฟากฝั่งซึ่งเป็นเทือกเขาอุดมสมบูรณ์ เขียวชอุ่มพุ่มไสวด้วยป่าไม้เบียดเสียดหนาแน่น สลับกับวิถีชีวิตประจำวันแบบลาวพื้นบ้าน พายเรือ ถ่อแพ หาปู หาปลา ไปตามประสาชาวชนบท แค่นี้ก็ทำให้ชาวเมืองใหญ่อย่างเราตื่นตาตื่นใจลุกขึ้นลุกลงถ่ายภาพได้ตลอดเส้นทาง ด้วยความที่ไม่ค่อยเคยเห็นกัน |
|
|
ภาพโดย facebook.com/YoSopa
|
เนิ่นนานประมาณ 3 ชั่วโมง ใกล้ถึงหลวงพระบางแล้ว หากมีเวลาสามารถเที่ยวถ้ำติ่งก่อนเข้าเมืองหลวงพระบางได้
วันรุ่งขึ้น ออกไปตักบาตรข้าวเหนียวเข้ามืดบนถนน ซึ่งพระภิกษุจากวัดในหลวงพระบางจะเดินบิณฆบาตรตามกันมาเป็นแถวยาวบนถนนที่เรียงรายด้วยตึกรามเก่าสองฟากฝั่ง โดยมีชาวบ้านนั่งรอตักบาตรอยู่ริมทาง เป็นภาพของเมืองอันสวยงามเรียบร้อย สร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวทั่วโลกมานาน โดยเฉพาะพวกฝรั่งอยากจะมาสัมผัสบรรยากาศกันทั้งนั้น
เดินเที่ยวดูผู้คนจับจ่ายซ้อหาสินค้าอย่างมีชีวิตชีวา ที่ตลาดเช้าหลวงพระบางริมแม่น้ำโขง เช่าจักรยานเที่ยวเมืองชมวัดวาอารามของหลวงพระบาง มีอยู่มากมายหลายสิบวัด แต่ละแห่งล้วนเก่าแก่ แต่งดงามแบบเรียบง่าย เรียงรายอยู่สองฟากฝั่งถนนติดๆ กัน
ขึ้นไปชมพระอาทิตย์ตกกันบน พระธาตุพูสี ซึ่งหลังจากไต่บันได ผ่านร่มเงาครึ้มของต้นจำปาบุปผาเมืองลาว ขึ้นไปจนถึงยอดเขา นักท่องเที่ยวมากมายหลายเชื้อชาติ ขึ้นมานั่งรอยืนรอดูอาทิตย์อัสดง แสงสุดท้ายลับฟ้า จากนั้นฝ่าความมืดกลับลงมาเดินช๊อปปิ้งกันบนถนนทำเป็นถนนคนเดิน สว่างไสวด้วยแสงไฟ มีของที่ระลึก เครื่องประดับ สินค้าพื้นเมือง ผ้าทอ ผ้าถุง ฯลฯ |
|
|
สถานที่ท่องเที่ยว |
|
วัดเชียงทอง |
|
พระราชวังหลวง |
|
น้ำตกตาดกวางสี |
|
พระธาตุพูสี |
|
|
|
ภาพโดย facebook.com/YoSopa
|
ตัวอย่าง เส้นทางท่่องเที่ยว |
น่าน - หลวงพระบาง |
ล่องเรือ : น่าน - ด่านชายแดนห้วยโก๋น - เมืองเงิน - ปากห้วยแคน ล่องเรือแม่น้ำโขง - หลวงพระบาง
น่าน ด่านห้วยโก๋น เมืองเงิน ปากห้วยแคน ล่องเรือแม่น้ำโขงสู่หลวงพระบาง ถ้ำติ่ง วัดเชียงทอง พระราชวังหลวง พระธาตุพูสี น้ำตกตาดกวางสี ถนนคนเดิน
วันแรก : น่าน - ด่านชายแดนห้วยโก๋น - ล่องเรือแม่น้ำโขง - หลวงพระบาง
วันที่สอง : ตักบาตรข้าวเหนียว ตลาดเช้าหลวงพระบาง พิพิธภัณฑ์หลวงพระบาง วัดเชียงทอง น้ำตกตาดกวางสี พระธาตุพูสี
วันที่สาม : หลวงพระบาง - ด่านห้วยโก๋น - ปากห้วยแคน - น่าน
|
รถยนต์ : น่าน - ด่านห้วยโก๋น - เมืองเงิน - หงสา - ไชยบุรี - หลวงพระบาง
น่าน ด่านห้วยโก๋น ลาว เมืองเงิน หงสา ไชยบุรี วัดเชียงทอง พระราชวังหลวง พระธาตุพูสี น้ำตกตาดกวางสี ถนนคนเดินหลวงพระบาง ตักบาตรข้าวเหนียว หงสา น่าน
วันแรก : น่าน - ด่านชายแดนห้วยโก๋น -เมืองเงิน หงสา -ไชยะบุรี
วันที่สอง : ตักบาตรเช้า ตลาดเช้าหลวงพระบาง พระราชวังหลวง วัดเชียงทอง น้ำตกตาดกวางสี พระธาตุพูสี
วันที่สาม : หลวงพระบาง - หงสา - ด่านห้วยโก๋น - น่าน |
|
น่าน - หลวงพระบาง - วังเวียง - เวียงจันทน์ |
น่าน ด่านห้วยโก๋น เมืองเงิน ปากห้วยแคน ล่องเรือแม่น้ำโขงสู่หลวงพระบาง ถ้ำติ่ง วัดเชียงทอง พระราชวังหลวง พระธาตุพูสี น้ำตกตาดกวางสี กุ้ยหลินเมืองลาว แดนสวรรค์บนพื้นดิน ประตูชัย เวียงจันทน์ หนองคาย
วันแรก : น่าน - ด่านชายแดนห้วยโก๋น - ล่องเรือแม่น้ำโขงสู่หลวงพระบาง
วันที่สอง : ตักบาตรเช้า ตลาดเช้าหลวงพระบาง พระราชวังหลวง วัดเชียงทอง น้ำตกตาดกวางสี พระธาตุพูสี
วันที่สาม : หลวงพระบาง วังเวียง
วันที่สี่ : วังเวียง เวียงจันทน์ หอพระแก้ว วัดพระธาตุหลวง ประตูชัย ตลาดเช้า ดิวตี้ฟรี หนองคาย |
|
2 วัน 1 คืน ในหลวงพระบาง
วันแรก : ตักบาตรข้าวเหนี่ยว - ชมเมืองหลวงพระบาง - วัดเชียงทอง - บ้านเรือนโคโลเนียลสไตล์ - พระราชวังหลวงพระบาง -
เที่ยววัด .. วัดชุมของสุรินธาราม - วัดสบสิการาม - วัดแสนสุขาราม - วัดศรีบุญเรือง - น้ำตกตาดกวางสี - ยอดพูสี วัดธัมโมธยาราม
วันที่สอง : ล่องลำนาวา - หมู่บ้านชนบท ทำกระดาษสา - ภาพวิถีชีวิตสองฟากฝั่ง - วัดล่องคูน- ถ้ำช้าง |
|
|
|
|
ที่มาของภาพ และข้อมูล :
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
สำนักงานจังหวัดน่าน
อนุสาร อ.ส.ท.ฉบับเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 |