|
|
|
|
:: จังหวัดชายแดนไทย, เมืองชายแดน |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
เมืองชายแดน > ที่กิน - อาหาร และเครื่องดื่ม |
|
|
 |
ภาพโดย : www.facebook.com/WhiteCloudTravel, thai.tourismthailand.org |
|
|
รายชื่อร้านอาหาร และเครื่องดื่ม แบ่งตามประเภทของอาหาร |
หมวดหมู่อาหารการกิน |
|
|
อาหารพื้นบ้านภาคใต้มีรสชาติโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ สืบเนื่องจากดินแดนภาคใต้
เคยเป็นศูนย์กลางการเดินเรือค้าขายของพ่อค้าจากอินเดีย จีนและชวาในอดีต ทำให้วัฒนธรรม
ของชาวต่างชาติโดยเฉพาะอินเดียใต้ ซึ่งเป็นต้นตำรับในการใช้เครื่องเทศปรุงอาหารได้เข้ามา
มีอิทธิพลอย่างมาก
าหารพื้นบ้านภาคใต้ทั่วไป มีลักษณะผสมผสานระหว่างอาหารไทยพื้นบ้านกับอาหารอินเดียใต้
เช่น น้ำบูดู ซึ่งได้มาจากการหมักปลาทะเลสดผสมกับเม็ดเกลือ และมีความคล้ายคลึงกับอาหารมาเลเซีย
อาหารของภาคใต้จึงมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่น ๆ และด้วยสภาพภูมิศาสตร์อยู่ติดทะเลทั้งสองด้าน
มีอาหารทะเลอุดมสมบูรณ์ แต่สภาพอากาศร้อนชื้น ฝนตกตลอดปี อาหารประเภทแกงและเครื่องจิ้ม
จึงมีรสจัด ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ป้องกันการเจ็บป่วยได้อีกด้วย
|
|
|
ผัก |
ความหลากหลายในสำรับอาหารปักษ์ใต้ได้รับอิทธิพลจากอินเดียใต้ ทำให้เกิดตำรับอาหารใหม่
มากมาย ล้วนผ่านวิธีการดัดแปลง ปรับปรุงเป็นวัฒนธรรมอาหารการกินที่ถ่ายทอดมาสู่รุ่นลูกหลาน
ในปัจจุบัน ทำให้มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากภาคอื่นอย่างชัดเจนคือ รสชาติจัดและเน้นเครื่องเทศ
และมีผักสารพัดชนิดที่เรียกว่า "ผักเหนาะ" ซึ่งเป็นพืชพื้นบ้านหาได้ในท้องถิ่น เช่น สะตอ ลูกเหนียง
ยอดกระถิน มากินร่วมด้วย เพื่อบรรเทารสเผ็ดของอาหาร ทั้งมีสรรพคุณเป็นยาอีกด้วย
|
|
|
|
|
|
แกง |
เนื้อสัตว์ที่นำมาปรุงเป็นอาหารส่วนมากนิยมสัตว์ทะเล เช่น ปลากระบอก ปลาทู ปูทะเล กุ้ง
หอย ซึ่งหาได้ในท้องถิ่น
อาหารพื้นบ้านของภาคใต้ เช่น แกงเหลือง แกงไตปลา นิยมใส่ขมิ้นปรุงอาหารเพื่อแก้รสคาว
เครื่องจิ้มคือน้ำบูดู |
|
|
|
|
ข้าวยำ |
ชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม เรียกว่า นาชิกาบู นาชิแปลว่าข้าว กาบูแปลว่ายำ
ประกอบด้วยข้าวสุกที่หุงด้วยใบยอ ราดด้วยน้ำบูดู มะพร้าวคั่ว กุ้งแห้งป่น พริกแห้งคั่วป่น
และผักสดหลายชนิด ผักที่นิยมใช้ในการปรุงข้าวยำ ได้แก่ เมล็ดกระถิน สะตอหั่นฝอย
ถั่วงอกเด็ดราก แตงกวา ส้มโอหรือมะขามดิบ หั่นปนกันแล้วคลุกให้เข้ากัน
โดยทั่วไปนิยมรับประทานข้าวยำเป็นอาหารเช้าหรือกลางวัน |
|
|
|
|
การถนอมอาหาร |
|
สภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศ ทำให้ชาวใต้เกิดภูมิปัญญาในการถนอมอาหารโดยอาศัย
ธรรมชาติ เช่น การตากแห้ง หมัก ดอง รมควัน เช่น ปลาเค็ม กุ้งแห้ง บูดู เป็นต้น |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ที่มาของภาพ และข้อมูล
วัฒนธรรมอาหารการกินพื้นบ้าน โดย นางวิไลภรณ์ สุจา
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอาเซียน กรมประชาสัมพันธ์
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
| |