ชาวบุรีรัมย ยึดมั่นใน “ฮีตสิบสอง” คือ มีประเพณีประจำสิบ สองเดือนในรอบปีเช่นเดียวกับชาวอีสานทั่วไป ดังนี้
เดือนเจียง (เดือนอ้าย)หรือเดือนธันวาคม นิมนต์พระสงฆ์มาเข้าปริวาสกรรมหรือเข้ากรรม เพื่อฝึกสำนึกความผิดหรือความบกพร่องของตนและ มุ่งประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยต่อไป ในด้านฆราวาสจำทำพิธีเลี้ยงผีแถนผีต่าง ๆ(ผีบรรพบุรุษ)
เดือนยี่(มกราคม) ทำบุญคูณข้าว หรือบุญคูณลาน โดยนิมนต์พระสงฆ์สวดมนต์เย็นและฉันภัตตาหารเช้าเพื่อเป็นศิริมงคลแก่ข้าวเปลือกเมื่อพระฉัน อาหารเช้าเสร็จก็ทำพิธีสู่ขวัญข้าวต่อไป
เดือนสาม (กุมภาพันธ์) ทำบุญข้าวจี่และบุญมาฆบูชา เริ่มพิธีทำบุญข้าวจี่ในตอนเข้าโดยใช้ข้าวเหนียวปั้นหุ้มน้ำอ้อยนำไปย่างไฟหรือจี่พอเกรียมแล้วชุบ ด้วยไข่นำไปย่างไฟจนสุกแล้วใส่ภาชนะเพื่อนำไปถวายพระสงฆ์พร้อมกับอาหารอื่น ๆ ข้าวจี่ที่เหลือจากพระฉันแล้ว ชาวบ้านจะแบ่งกันรับประทานถือว่าผู้รับประทาน จะเป็นมงคลแก่ตัวเอง
เดือนสี่(มีนาคม) ทำบุญเผวส (บุญพระเวส) หรือทำบุญมหาชาติ มีการฟังเทศน์มหาชาต ิถือกันว่าต้องฟังให้จบทุกกัณฑ์ในวันเดียวจึงจะได้กุศล งานบุญนี้มีผู้นำของมาถวายพระเรียกว่า “กันฑ์หลอน”
เดือนห้า (เมษายน) ตรุษสงกรานต์ หรือทำบุญขึ้นบ้านใหม่ มีการสรงน้ำพระพุทธรูปและพระสงฆ์ชาวบ้านจะไปเก็บดอกไม้มาบูชาพระ
เดือนหก (พฤษภาคม) ทำบุญบั้งไฟ และทำบุญวิสาขบูชา จะมีการฟังเทศน์ตลอดวันกลางคือนมีเวียนเทียน สำหรับบุญบั้งไฟก็เป็นพิธีเพื่อ ขอฝนจากเทวดา (แถน) และมีการบวชนาคด้วย
เดือนเจ็ด (มิถุนายน) ทำบุญซำฮะ เพื่อบูชาเทวดาอารักษ์หลักเมือง โดยทำพิธีเซ่นบวงสรวงหลักเมืองหลักบ้าน ผีพ่อแม่ ผีปู่ผีเมือง (ผีบรรพบุรุษ) ผีตาแฮก (เทวดารักษาไร่นา) เพื่อระลึกถึงผู้มีพระคุณ
เดือนแปด (กรกฎาคม) ทำบุญเข้าพรรษา มีการทำบุญตักบาตรพระสงฆ์
ถวายภัตตาหาร เช้าและเพลแด่พระสงฆ์สามเณรฟังพระธรรมเทศนา ตอนบ่ายและนำขี้ผึ้งมาหล่อเป็นเทียนพรรษา เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และจะเก็บไว้ตลอดพรรษา
เดือนเก้า (สิงหาคม) ทำบุญข้าวประดับดิน โดยจัดอาหารคาวหวาน หมากพลู บุหรี่ สุราแล้วนำไปวางไว้ใต้ต้นไม้หรือที่ใดที่หนึ่งพร้อมทั้งเชิญวิญญาณบรรพบุรุษและญาติที่ล่วงลักไปแล้วให้มารับเอาอาหารไป
เดือนสิบ(กันยายน) ทำบุญข้าวสาก หรือสลากภัตในวันเพ็ญ เป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตาย เช่นเดียวกับทำบุญข้าวประดับดิน
เดือนสิบเอ็ด ( ตลุาคม) มีการทำบุญออกพรรษา ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน11 ตอนเช้าชาวบ้านจะร่วมทำบุญตั้กบาตร รับศีล ฟังเทศน์ ถวายผ้าจำนำพรรษา
พระสงฆ์จะร่วมกันทำพิธีออกวัสสาปวารณา กลางคืน มีการจุดโคมไฟแขวนไว้ตามต้นไม้ หรือตามริมรั้วของวัด
เดือนสิบสอง (พฤศจิกายน) ในเดือนนี้จะมีการทำบุญกฐิน สำหรับประชาชนที่อยู่ตามริมน้ำจะมีการแข่งเรือด้วย เช่น ริมแม่น้ำโขงแม่น้ำมูล แม่น้ำชี ฯลฯ เพื่อระลึกถึงอุสพญานาค หรือบางแห่งจะมีการแห่ปราสาทผึ้งเพื่อถวายพระสงฆ์และเพื่อเป็นพุธบูชาประเพณี |