|
|
ภาพโดย : www.facebook/YoYing Sopa,
www.facebook/Pui Apiwat, www.tourismthailand.org |
|
นครหลวงเวียงจันทน์ ได้รับสถาปนาเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านช้างในปี 2106 (ค.ศ.1563) เมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชทรงย้ายเมืองหลวงมาจากเมืองหลวงพระบาง นครหลวงเวียงจันทน์ มีพื้นที่ 3,960.8 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 9 เมือง ได้แก่ จันทะบุลี สีโคดตะบอง ไซเสดถา สีสัดตะนาก นาซายทอง ไซทานี หาดซายฟอง สังทอง ปากงึ่ม มีประชากรประมาณ 700,000 คน เดิมใช้ชื่อว่ากำแพงนครเวียงจันทน์ ต่อมาเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2547 รัฐบาลลาวได้เปลี่ยนชื่อเป็นนครหลวงเวียงจันทน์ |
|
การท่องเที่ยว
สถานที่สำคัญ
ประตูชัย สัญลักษณ์แห่งชัยชนะของปวงชนลาว พ้นจากการเป็นเมืองขึ้น โดยเลียนแบบ ประตูชัย ปารีส แต่ใช้ศิลปะลาว
หอพระแก้ว เดิมเป็นวัด เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ปัจจุบัน (แม้ไม่มีพระแก้วมรกตแล้ว) เป็นพิพิธภัณฑ์และมีร้านขายของที่ระลึก
พระธาตุหลวง พระธาตุ (สถูป) ขนาดใหญ่สีทองอร่าม บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และเป็นเครื่องหมายในดวงตราสำคัญของประเทศ
วัดสีสะเกด อีกวัดหนึ่งที่ไม่ได้ถูกทำลายในช่วงสงคราม มีพระพุทธรูปใหญ่ และเล็กเรียงรายอยู่มากที่สุด
ตลาดจีนชั่งเจี่ยง
ร้านอาหาร ภัตตาคาร
อาหารประจำชาติของลาว คือ อาหารแนว ตำ ยำ ปิ้งย่าง และเฝอ (ก๋วยเตี๋ยว) โดยมีอิทธิพลอาหารผสมของแถบอินโดจีนจากจีน เวียตนาม และอิทธิพลจากการเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส ในเวียงจันทน์ จึงมีร้านอาหารพื้นเมือง ร้านกาแฟ ร้านขนมปังเลื่องชื่ออยู่มากมาย และหลายร้านก็ขายอาหารลาว ไทย อเมริกัน ยุโรป ปะปนกันก็มี
|
|
การคมนาคม
จากประเทศไทย
สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 1 (หนองคาย-เวียงจันทน์) สร้างข้ามแม่น้ำโขงระยะทาง 18 กิโลเมตร เพื่อข้ามระหว่าง หนองคาย เข้ามายังเมืองเวียงจันทน์ โดยเป็นเส้นทางหลักสำหรับการเดินทางและการขนส่ง หลังจากนั้นก็มี เดิมเรียกสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แต่เนื่องจากมีการสร้างสะพานเชื่อมเพิ่มขึ้น จีงเรียกด้วยหมายเลข 1 และสะพานมิตรภาพ 1 นี้ยังมีการขนส่งด้วยรถไฟขนานอยู่บนสะพาน คาดว่าจะเป็นการขนส่งระหว่างไทยกับลาวที่มีต้นทุนต่ำที่สุด
การเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวก็สะดวกมากขึ้น เนื่องจากมีหลายสายการบินบินตรงจากกรุงเทพฯ ถึงเวียงจันทน์ หรือกรุงเทพฯ ถึงอุดรธานี แล้วมีรถโดยสารบริการส่งข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาวต่อไป
จากประเทศจีน
มีโครงการตั้งแต่ พ.ศ. 2553 ในการสร้างรถไฟความเร็วสูงจากเวียงจันทน์ไปยังยูนนาน
ภายในประเทศลาว
การเดินทางภายในประเทศลาว
มีรถโดยสารประจำทางกระจายทั่วเมือง และมีการโดยสารโดยเอกสาร ด้วย คือ แท็กซี่มีเตอร์ ตุ๊กตุ๊ก สกายแล็ป (สองชนิดหลังต้องอาศัยการต่อราคาเอง ราคาการเดินทางแต่ละครั้งไม่ตายตัว)
|
|
ที่มาของภาพ และข้อมูล
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเวียงจันทน์
ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
กระทรวงการต่างประเทศ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอาเซียน กรมประชาสัมพันธ์
|