|
|
ภาพโดย : www.facebook/Iamnekojung Meaw,
www.facebook/Pui Apiwat, www.tourismthailand.org |
|
ตั้งอยู่ตอนใต้ของ สปป. ลาว ห่างจากนครหลวงเวียงจันทน์ 610 กม.
ทิศเหนือ |
ติดกับแขวงสาละวัน |
ทิศใต้ |
ติดกับกัมพูชา |
ทิศตะวันออก |
ติดกับแขวงเซกอง แขวงอัตตะปือ |
ทิศตะวันตก |
ติดกับจังหวัดอุบลราชธานี เป็นแขวงเดียวทางตอนใต้ของ สปป. ลาว ที่มีพื้นที่บน 2 ฝั่งแม่น้ำโขง |
ภูมิประเทศ และ ภูมิอากาศ
พื้นที่ 15,410 ตร.กม
ภูมิประเทศแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ พื้นที่ราบ และพื้นที่สูง
พื้นที่ราบ (มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 80-120 เมตร) 1,135,000 เฮกตาร์ คิดเป็น 74 % ของพื้นที่แขวง มีฝน 2,279 มล. ต่อปี อากาศร้อนชื้น อุณหภูมิเฉลี่ย 27 ํC เหมาะสำหรับการปลูกข้าวและพืชตระกูลถั่ว
พื้นที่สูง (มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 400-1,284 เมตร) 406,500 เฮกตาร์ คิดเป็น 26 % ของพื้นที่แขวง มีฝน 3,500 มล. ต่อปี มีความชื้น 80 % อุณหภูมิเฉลี่ย 21 ํC เหมาะปลูกพืชเพื่อการเกษตร เช่น ผัก กาแฟ ชา เร่ว (หมากแหน่ง) ไม้เศรษฐกิจ
การแบ่งเขตการปกครอง
10 เมือง ได้แก่ ปากเซ บาเจียงจะเลินสุก ปะทุมพอน จำปาสัก สุขุมา มูนละปาโมก ซะนะสมบูน ปากซอง โพนทอง เมืองโขง
ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์
เป็นจุดเชื่อมโยงเครือข่ายคมนาคมทางบกระหว่างไทย-ลาว-กัมพูชา ตามเส้นทาง
อุบลราชธานี-จำปาสัก-อัตตะปือ- สตรึงเตรง(กัมพูชา) และจุดเชื่อมต่อไทย-ลาว-เวียดนามโดยเชื่อม
ต่อไทย กับ ทะเลจีนใต้ ตามเส้นทางอุบลราชธานี-จำปาสัก-ดานัง-เว้ หรือ เชื่อมต่อไทยไปยังปาก
แม่น้ำโขง ตามเส้นทางอุบลราชธานี-จำปาสัก-โฮจิมินห์-คุชิ-วุงเตา (เวียดนาม)
เป็นจุดเชื่อมเครือข่ายคมนาคมทางบกระหว่างประเทศให้กับแขวงอื่นๆ ภายในประเทศ โดยเฉพาะแขวง
ที่ไม่มีด่านพรมแดน ได้แก่ แขวงสาละวัน เซกอง และอัตตะปือ ดังนั้น นักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทาง
จากจังหวัดอุบลราชธานี ไปยังตอนใต้ของสปป.ลาวจะผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองและศุลกากรที่ด่าน
ช่องเม็ก-วังเต่า รวมทั้ง สินค้านำเข้า-ส่งออกระหว่างไทย-ลาว
มีศักยภาพที่จะพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากมีความอุดมสมบูรณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และ
ภูมิอากาศ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้แขวงสามารถผลิตพืชผลทางเกษตรเพียงพอสำหรับการบริโภค
และการส่งออก เช่น ข้าว เมล็ดกาแฟ ผักผลไม้ และพืชไร่ต่างๆ โดยเฉพาะเมือง ปากช่อง ซึ่งเป็นเมือง
ที่ตั้งอยู่บริเวณที่ราบสูง มีสภาพอากาศเย็นตลอดทั้งปี และมีฝนตกชุก เป็นพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการ
เพาะปลูก นอกจากนั้น แขวงมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่น่าสนใจ เช่น น้ำตกหลี่ผี คอนพะเพ็ง และ
ประสาทหินวัดพู เป็นต้น
|
|
การท่องเที่ยว
แขวงจำปาสักมีศักยภาพสูงมากในด้านการท่องเที่ยว โดยมีแหล่งท่องเที่ยว 95 แห่ง ประกอบด้วยแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ 41 แห่ง ทางประวัติศาสตร์ 25 แห่ง ทางวัฒนธรรม 29 แห่ง โดยใน 95 แห่งได้รับการสำรวจแล้ว 43 แห่ง และเปิดบริการแล้ว 33 แห่ง
สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ มรดกโลกที่ปราสาทหินวัดพู น้ำตกคอนพะเพ็ง(ไนแองการาแห่งเอเชีย) น้ำตกหลี่ผี น้ำตกตาดฟาน น้ำตกผาส้วม ปลาโลมา น้ำจืดที่เวินคาม ดอนโขง ฯลฯ
แขวงจำปาสักมีที่พัก เป็นโรงแรม 25 แห่ง บ้านพัก 100 แห่ง รวม 797 ร้านอาหาร 75 แห่ง บริษัทท่องเที่ยวและสาขา 12 แห่ง
|
น้ำตกตาดผาส่วม สัมผัสธรรมชาติ และชมความงามของน้ำตก ชมวิถีชีวิตหลากหลายของชนเผ่า
ปราสาทขอมที่วัดพู ซึ่งเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม จากองค์การ UNESCO
ทัศนียภาพแม่น้ำโขง ที่เรียกว่า มหานทีสีทันดอน
น้ำตกหลี่ผี บนเกาะ ดอน ชมวิถีชีวิตชาวบ้าน
น้ำตกคอนพะเพ็ง ที่ได้สมญานามว่า “ไนแองการ่าแห่งเอเชีย”
|
คมนาคม
ทางบก |
เส้นทางติดต่อไปยังแขวงอื่นๆ
- ถนนหมายเลข 13 ซึ่งเป็นถนนสายหลักของสปป.ลาว เชื่อมภาคเหนือกับภาคใต้ (ความยาวในแขวงจำปาสัก 204 กิโลเมตร)
- ถนนเลขที่ 23 ไปสู่แขวงเซกอง
- ถนนเลขที่ 20 ไปแขวงสาละวัน
- ถนนเลขที่ 18 ไปแขวงอัตตะปือ
เส้นทางติดต่อไปยังไทย
ถนนหมายเลข 10 จากช่องเม็ก-ปากเซ ระยะทาง 45 กิโลเมตรเป็นเส้นทางที่สำคัญ โดยเฉพาะการนำนักท่องเที่ยวที่เดินทางจากประเทศไทยผ่านจังหวัดอุบลราชธานี เข้าสู่แขวงจำปาสัก สำหรับการขนส่ง เส้นทางจากปากเซไปยังท่าเรือคลองเตย ระยะประมาณ 995 กม.
เส้นทางติดต่อไปยังเวียดนาม
- ปากเซ – ลาวบาว จ. กวางจิ ระยะทาง 500 กม.
- ปากเซ – ดงฮา จ. กวางจิ ระยะทาง 570 กม.
- ปากเซ – ฮานอย ระยะทาง 1,170 กม.
- ปากเซ – ดานัง ระยะทาง 820 กม.
- ปากเซ - จ.กอนตูม ระยะทาง 419 กม.
- ปากเซ – กวางหงาย ระยะทาง 499 กม.
- ปากเซ – โฮจิมินห์ ระยะทาง 1,499 กม.
เส้นทางติดต่อไปยังกัมพูชา
จากปากเซ-ชายแดนกัมพูชา ระยะทาง 203 กม.
|
ทางน้ำ |
มีเส้นทางน้ำยาว 196 กม. ใช้ได้ทั้งฤดูแล้งและฤดูฝน
|
ทางอากาศ |
มีสนามบินนานาชาติ 1 แห่ง คือ สนามบินปากเซ มีเที่ยวบินของสายการบินลาวไปยังเวียงจันทน์ และเสียมราฐ ในระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมไทย-ลาว ที่จังหวัดอุบลราชธานี-แขวงจำปาสัก เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2547 รัฐบาลไทยได้เห็นชอบให้ความช่วยเหลือในการปรับปรุงสนามบินดังกล่าว มูลค่าโครงการ 320 ล้านบาทในรูปของเงินให้เปล่าร้อยละ 30 และเงินกู้ร้อยละ 70 (แล้วเสร็จเมื่อเดือนมิถุนายน 2553) |
|
|
|
ที่มาของภาพ และข้อมูล
สถานกงสุลใหญ่ ณ แขวงสะหวันนะเขต
ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
กระทรวงการต่างประเทศ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอาเซียน กรมประชาสัมพันธ์
|