เกี่ยวกับเรา | บริการ | ลงโฆษณา | พันธมิตรกับเรา | สะสมแต้ม | ออกแบบเว็บไซต์
 
           
 
 ปลายทาง   |  รีวิวท่องเที่ยว   |  รีวิวที่พัก   | รีวิวร้านอาหาร   |  สัมผัสอารยธรรมลุ่มแม่น้ำโขง
บริการ  :   โปรโมชั่น  |  ตั๋วเครื่องบิน  |  โรงแรม ที่พัก  |  แพคเกจทัวร์ |  รถเช่า  |  ข้อมูลการเดินทาง
 
:: ปลายทางอินโดจีน
ไทยประตูสู่อินโดจีน
ลาว > หลวงพระบาง-เวียงจันทน์
ลาวใต้ > ปากเซ
จีนตอนใต้ > สิบสองปันนา นครคุนหมิง
เวียดนามเหนือ > ฮานอย ฮาลอง
เวียดนามกลาง > เว้ ดานัง ฮอยอัน
เวียดนามใต้ > โฮจิมินห์ซิตี้ ดาลัต มุยเน่
เมียนมาร์ > ย่างกุ้ง หงสาวดี อินทร์แขวน สิเรียม
เมียนมาร์ > มัณฑะเลย์ พุกาม อินเล
กัมพูชา > เสียมราฐ นครวัด นครธม
กัมพูชา > พะตะบอง พนมเปญ
 
เกี่ยวกับเรา
สำหรับผู้ประกอบการ
   โฆษณากับเรา
   พันธมิตรกับเรา
   สะสมแต้ม โลตัสพลัส

:: จังหวัดชายแดนไทย, เมืองชายแดน
เชียงของ พะเยา อุตรดิตถ์ น่าน เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม
มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี สระแก้ว ศรีษะเกษ บุรีรัมย์ สุรินทร์ จันทบุรี
ตราด แม่สาย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ตาก กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง
 
 
B08,
B09

สารบัญที่พัก โฮมสเตย์ รีสอร์ท
รีวิวที่พัก โฮมสเตย์ รีสอร์ท
การเดินทาง
โปรโมชั่น
บันทึกความทรงจำ


พะเยา> กิจกรรมท่องเที่ยว  
ภาพโดย : thai.tourismthailand.org
กิจกรรมท่องเที่ยวใน จังหวัด พะเยาและจังหวัดใกล้เคียง
วิถีชีวิตชุมชน ไหว้พระ วัดวาอาราม
สัมผัสธรรมชาติ ชมสิ่งก่อสร้าง
ขับรถเที่ยว ปั่นจักรยาน
ชมวิถีเกษตร ตีกอล์ฟ
ผจญภัย ประตูสู่อินโดจีน
 
กิจกรรมท่องเที่ยว
วิถีชีวิตชุมชน
ตลาดเช้า
บรรยากาศเป็นตลาดพื้นเมืองที่อยู่ในย่านเทศบาล เป็นตลาดที่ขายอาหารสดที่มีในท้องถิ่นทางภาคเหนือ มีทั้งเห็ด ผักสดพื้นเมือง อาหารต่างๆ อาหารเช้าแบบชาวพะเยา กาแฟกับข้าวเหนียวร้อนๆ ทานกับปลาส้มทอด ปลาส้มห่อไข่ อร่อยสุดยอดไปเลยและปลานานาชนิดสดๆจากกว๊านพะเยา ไม่ควรพลาดที่จะมาเดินชมตลาดเช้าเมื่อมาถึงพะเยา
 
 

ตลาดโต้รุ่ง
ตลาดโต้รุ่งบรรยากาศคึกคัก ตั้งแต่เริ่มพลบค่ำ เหมาะสำหรับคนที่ชอบบรรยากาศและทานอาหารในตอนกลางคืน มีให้เลือกนับร้อยร้าน ตั้งอยู่บนถนนรอบเวียงประตูกลอง เป็นอีกแห่งหนึ่งที่ไม่ควรพลาดเมื่อมาถึงพะเยา

 
  โบราณสถานบ้านร่องไฮ
เป็นโบราณสถานที่เป็นชุมชนโบราณขนาดใหญ่ อยู่ริมกว๊านพะเยา เป็นส่วนหนึ่งของวัดติโลกอารามในสมัยโบราณ บริเวณไกล้เคียงกันมีร่องรอยของศาสนสถานอยู่ประมาณ ๘-๙ แห่ง โดยมีกลุ่มโบราณสถานบ้านร่องไฮ ตำบลแม่ใส อำเภอเมือง หลักฐานที่เคยพบเกี่ยวข้องโดยตรงกับวัดติโลกอาราม คือ จารึกวัดติโลกอาราม พบที่เนินสันธาตุในกว๊านพะเยาไกล้กับท้ายหมู่บ้านร่องไฮ
 
 

บ้านโบราณอายุร้อยปีริมกว๊านพะเยา
บ้านโบราณที่ยังคงสภาพเดิมอยู่ของจังหวัดพะเยา อยู่ริมถนนชายกว๊านเลียบกว๊านพะเยา ยังมีสภาพสมบูรณ์ให้สามารถชมดูได้ ซึ่งต้องขออนุญาติเจ้าของบ้านก่อน มีอยู่ ๒ หลัง

 
 

บ้านปางปูเลาะ
เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าเมี่ยนหรือเย้า ส่วนใหญ่มีอาชีพทำสวนลิ้นจี่และไร่กาแฟ ทิวทัศน์สวยงาม อากาศเย็นสบายทั้งปี เส้นทางสะดวก สภาพถนนดี รถยนต์เข้าถึงหมู่บ้าน หากต้องการพักค้างแรมควรจะเตรียมอาหารและเครื่องดื่มไปด้วย ตั้งอยู่ที่ตำบลศรีถ้อย อ.แม่ใจ ห่างจากตัวอำเภอแม่ใจไป ๑๒ กิโลเมตร บนทางหลวงหมายเลข ๑ ไปทางอำเภอแม่ใจถึงวัดศรีบุญเรืองให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนข้างวัด เป็นทางลาดยาง ๑๒ กิโลเมตรจะถึงหมู่บ้านปางปูเลาะ สิ่งที่น่าสนใจคือศูนย์วัฒนธรรมชนเผ่าเมี่ยนหรือเย้า เป็นที่จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ เครื่องมือเกษตร อุปกรณ์และเครื่องมือล่าสัตว์ รวมถึงประวัติความเป็นมาของชุมชน สวนลิ้นจี่ที่ปลูกสลับกับกาแฟตามเชิงเขาก็น่าสนใจ ทั้งลิ้นจี่และกาแฟเป็นสินค้าขึ้นชื่อของอำเภอแม่ใจ สามารถเข้าไปเที่ยวชมสวนได้ในเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน นับเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม ลิ้นจี่ออกผลสามารถเลือกชิมสดๆได้จากต้นและหาซื้อได้ในราคาถูก นอกจากนี้ยังมีถ้ำประกายเพชรที่มีหินงอกหินย้อยอันสวยงาม รวมทั้งขึ้นไปชมทิวทัศน์บนผาแดง ถ้าเป็นช่วงฤดูหนาว จะได้ชมดอกเสี้ยวบานสะพรั่งทั่วหุบเขาบ้านผาแดง

ที่บ้านปางปูเลาะมีบริการบ้านพักแบบโฮมสเตย์ในหมู่บ้านชาวเขา ติดต่อล่วงหน้าได้ที่ โทร. ๐๘๖-๑๙๘๖๒๖๙ , ๐๘๙-๕๕๙๖๗๕๓, ๐๘๙-๕๖๐๗๓๗๗

 
 

บ้านไทลื้อเชียงคำ
ชาวไทลื้อในอ.เชียงคำมีวิถีชีวิตอย่างเรียบง่าย บ้านเรือนตั้งอยู่ริมฝั่งน้ำ เอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชาวไทลื้อคือ จะมีบ่อน้ำไว้ประจำในแต่ละบ้าน และทุกบ้านจะมีการปลูกพืชผักสวนครัวอยู่ในบริเวณบ้านด้วย ชาวไทลื้อจะประกอบอาชีพทำไร่ทำนา เมื่อหมดฤดูทำนาแล้ว ผู้หญิงชาวไทลื้อจะพากันทอผ้า ถือว่าผ้าทอไทลื้อมีเอกลักษณ์โดดเด่นไม่แพ้จากผ้าทอที่ใดๆ บ้านเรือนไทลื้อที่ยังหลงเหลืออยู่บ้าง มีให้แวะชม ตั้งอยู่บนเส้นทางระหว่างสถานีตำรวจเชียงคำมุ่งหน้าสู่วัดพระธาตุสบแวน ผ่านตลาดไปเล็กน้อย จะพบกับเรือนไทลื้อที่สมบูรณ์แบบแห่ง อ.เชียงคำ อยู่ทางซ้ายมือ


 
 

ใบตองจากป่ามาสู่เมือง
พะเยาเป็นเมืองปลอดสารพิษตัวจริง ที่เห็นได้ชัดเมื่อมาถึงเชียงคำคือคนอาศัยอยู่อย่างเรียบง่าย กลมกลืนกับธรรมชาติอย่างลงตัว ไกล้ๆกับบ้านไทลื้อ มีคนขายใบตองที่ทำมายาวนาน กระจายขายให้กับแม่ค้าผู้ทำอาหารและขนมทั่วตลาดเชียงคำมาเกินกว่า ๒๐ ปีแล้ว ชาวบ้านได้ตัดส่งมาจากป่า ซึ่งเป็นใบตองกล้วยป่า จะหนาและนุ่ม ใบไม่ขาดวิ่น จึงเป็นที่นิยมทั่วทั้งเชียงคำ กาลเวลาไม่ได้ทำให้วิถีชีวิตและธรรมชาติของชาวเชียงคำเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใดเลย


 
  ตลาดเช้าเชียงคำ
ตลาดเช้าในเชียงคำ บรรยากาศเรียบง่าย อยู่ไกล้ๆกับที่ว่าการอำเภอเชียงคำและไปรษณีย์ อาหารพื้นเมืองมีมากมาย แหนมซี่โครงที่ขึ้นชื่อมีขายที่ตลาดแห่งนี้ ก่อนจะเดินทางไปไหว้พระธาตุต่างๆหรือชมบ้านไทลื้อ น่าจะมาซื้อจับจ่าย ชมแหล่งอาหารของชาวเชียงคำกันก่อน ร้านชากาแฟ น้ำเต้าหู้ มีอยู่รอบๆตลาด ไม่ควรพลาดตลาดเช้าของชาวเชียงคำ
 
 

ตลาดนัดชายแดนไทย-ลาว (บ้านฮวก)
บ้านฮวกเป็นหมู่บ้านชายแดนติดกับประเทศลาว อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูซางไปเพียง ๕ กิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่ของบ้านฮวก เป็นเนินเขา มีลำน้ำเปื๋อยไหลผ่าน ชาวบ้านใช้เพื่อการเกษตรตลอดปี บ้านฮวกเป็นหมู่บ้านเล็กๆมีประมาณ ๑๕๐ ครัวเรือน ด้านที่ติดกับลาวนั้นเป็นแขวงไชยบุรี เมื่อปี ๒๕๓๗ ได้มีการเปิดจุดผ่อนปรนชายแดนที่กิ่วหก บ้านฮวก เพื่อให้ประชาชนทั้งสองประเทศได้ติดต่อค้าขายกัน จึงเกิดเป็นตลาดนัดการค้าชายแดนไทย-ลาว ซึ่งเป็นแหล่งซื้อขาย ...


 
  ๑. งานอนุเสาวรีย์ผู้เสียสละ พ.ต.ท. ๒๓๒๔ (จัดระหว่างวันที่ ๓๑ มกราคม ถึง ๘ กุมภาพันธ์ ณ อนุสรณ์ผู้เสียสละ อ.เชียงคำ)
๒. งานสืบสานตำนานไทลื้อ (จัดทุกวันเสาร์-อาทิตย์ สัปดาห์ที่ ๒ ณ วัดพระธาตุสบแวน อ.เชียงคำ)
๓. งานบวงสรวงพ่อขุนงำเมือง (จัดขึ้นในวันที่ ๕ มีนาคม ณ ลานอนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง หน้ากว๊านพะเยา)
๔. งานเทศกาลลิ้นจี่และของดีเมืองพะเยา (จัดขึ้นที่กว๊านพะเยา)
๕. งานประเพณีนมัสการพระเจ้าตนหลวงเดือนแปดเป็ง (จัดในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ที่วัดศรีโคมคำ อ.เมือง)
๖. งานเปิดโลกอุตสาหกรรมอัญมณีและของดีเมืองพะเยา (จัดระหว่างวันที่ ๘-๑๒ กุมภาพันธ์ ณ ศูนย์อุตสาหกรรมอัญมณี ต.แม่กา อ.เมือง)
๗. งานกาชาดและงานฤดูหนาว (จัดขึ้นประมาณปลายเดือนธันวาคม-ต้นเดือนมกราคม ณ บริเวณสนามข้างสถานีขนส่งจ.พะเยา)
๘. งานประเพณีปู่จากพญานาค (บูชาพระลอ จัดขึ้นบริเวณโบราณสถานเวียงลอ บ้านห้วยงิ้ว อ.จุน)
๙. วันดอกคำใต้บาน (ระหว่างวันที่ ๑๓-๑๔ กุมภาพันธ์ จัดในอ.ดอกคำใต้)
๑๐. งานเทศกาลลิ้นจี่และของดีแม่ใข (จัดในอ.แม่ใจ)
 
     
ไหว้พระ วัดวาอาราม

วัดติโลกอาราม
วัดแห่งนี้ตั้งอยู่บนเกาะกลางน้ำใจกลางกว๊านพะเยา เป็นที่ตั้งของหลวงพ่อศิลาแห่งกว๊านพะเยา วัดติโลกอารามได้จมอยู่ใต้บาดาลมานานกว่า ๕๐๐ ปีมาแล้ว หลักฐานศิลาจารึกได้บันทึกไว้ว่า พระราชาสมัยนั้นผู้ครองเมืองเชียงใหม่ พระเจ้าติโลกราช โปรดให้เจ้าแสนหัว เจ้าผู้ครองเมืองพะเยา ได้สร้างถวายในปีพ.ศ. ๒๐๑๙ – ๒๐๒๙ เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติแก่กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ที่ชาวล้านนาได้ยกย่องต่อพระเจ้าติโลกราช

วัดศรีโคมคำ
ตราประจำจังหวัดพะเยา มีรูปพระเจ้าตนหลวงวัดศรีโคมคำ เป็นสัญลักษณ์ว่าเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวพะเยา และคำขวัญประจำจังหวัดยังมีตอนหนึ่งว่าศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าตนหลวง จึงเป็นที่กล่าวขานกันว่า ถ้ามาพะเยาแล้ว ไม่ได้มากราบนมัสการพระเจ้าตนหลวงที่วัดศรีโคมคำแห่งนี้ ถือว่ามาไม่ถึงพะเยา ชาวบ้านเรียกกันว่าพระนั่งดิน

วัดพระธาตุจอมทอง
พระธาตุจอมทอง เป็นเจดีย์ทรงล้านนาสูง ๓๐ เมตร ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจตุรัส กว้าง ๙ เมตร ซ้อนกันสามชั้น รองรับองค์ระฆัง ส่วนยอดสุดเป็นฉัตรสีทอง ฐานโดยรอบข้างล่างบุด้วยแผ่นโลหะ ดุนลายเป็นรูป ๑๒ นักษัตร และลายไทยอันงดงามมาก ลักษณะคล้ายพระธาตุหริภุญชัย จ.ลำพูน

วัดลี
วัดลีเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์เวียงพยาว (วัดลี) ตั้งอยู่หลังโรงเรียนเทศบาล ๓ เป็นวัดที่สร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๐๓๘ ตั้งอยู่ในบริเวณเวียงพยาวหรือเวียงรูปน้ำเต้า ขนาดความกว้าง ๑,๐๐๐ เมตร ยาว ๑,๕๐๐ เมตร มีแนวคูเมืองล้อมรอบ มีร่องรอยของซากโบราณสถานที่เป็นวัดร้างหลายแห่งอยู่ภายในบริเวณตัวเวียง ปัจจุบันเหลือเพียงวัดลีแห่งนี้


วัดศรีอุโมงค์คำ
ชาวบ้านเรียกว่าวัดสูง ที่ตั้งวัดตั้งอยู่บนเนินสูง โบสถ์และเจดีย์ก็ตั้งอยู่บนฐานสูง มองดูโดดเด่น เมื่อมองจากทุกทิศทางและมองจากริมกว๊านพะเยา มาถึงวัดศรีอุโมงค์คำ “มานมัสการพระเจ้าล้านตื้อและพระเจ้าแข้งคม”

วัดป่าแดงบุญนาค
เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยพระพุทธศาสนาเข้ามาในอาณาจักรพะเยา เดิมชื่อวัดบุญนาค ตอนหลังมีการสร้างวัดใหม่เพิ่มชื่อว่า วัดป่าแดง ปัจจุบันก็รวมเป็นวัดเดียวกันชื่อ วัดป่าแดงบุญนาค เป็นวัดสำคัญของเมืองพะเยา พบศิลาจารึก ๒ หลักในบริเวณวัด จารึกหลักที่ ๑ เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๔๒ เรียกชื่อวัดนี้ว่า วัดพญาร่วง จารึกหลักที่ ๒ เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๗๘ กล่าวถึงพระเป็นเจ้าอยู่หัว (พระเมืองเกษเกล้า กษัตริย์เชียงใหม่) มีราชโองการให้

วัดหลวงราชสัณฐาน
ไม่ควรพลาดชมจิตรกรรมฝาผนังบนแผ่นไม้ วัดตั้งอยู่ในตำบลเวียง อ.เมือง จ.พะเยา เดิมเป็นวัดร้าง ต่อมาเจ้าหลวงวงศ์ร่วมกับชาวบ้านได้บูรณะปฏิสังขรณ์จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๓๘๗ ชาวบ้านเรียกว่าวัดหลวง เนื่องจากเป็นวัดที่เจ้าหลวงวงศ์ซึ่งครองเมืองพะเยาเป็นผู้บูรณะปฏิสังขรณ์นั่นเอง

วัดอนาลโยทิพยาราม
วัดอนาลโยทิพยารามแห่งดอยบุษราคัม อุทยานพระพุทธศาสนา อยู่ห่างจากตัวจังหวัด ๒๐ กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข ๑ ไปตามทิศเหนือ มุ่งหน้าสู่อำเภอแม่ใจ ประมาณ ๗ กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข ๑๑๒๗ และเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข ๑๑๙๓ ถ้าใช้เส้นทางทิศใต้ มุ่งหน้าสู่อำเภองาว จ.ลำปาง กิโลเมตรที่ ๔ สี่แยกแม่ต๋ำ เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข ๑๑๙๓ ก็เป็นอีกเส้นทางหนึ่งที่เดินทางไปสู่วัดอนาลโยทิพยาราม


วัดราชคฤห์
เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าวัดใหม่ เป็นวัดที่ตั้งอยู่กลางเมือง มีบรรยากาศสงบร่มรื่น ภายในวัดประดิษฐานเจดีย์องค์ไม่ใหญ่นักแต่งามน่าแวะเที่ยวชม ความโดดเด่น คือ ซุ้มประตูโขงและเจดีย์อันงดงาม ซุ้มประตูโขงเป็นซุ้มประตูทางเดินเข้าสู่วัด ประดับด้วยปูนปั้น นางฟ้าเทวดา พญานาค และดอกไม้ ลวดลายโดดเด่นสะดุดตา ยอดซุ้มประตูเป็นรูปพรหมสี่หน้า เจดีย์อยู่ด้านหลังโบสถ์ เป็นทรงแปดเหลี่ยมย่อมุม สูงประมาณ ๒๐ เมตร องค์เจดีย์มีซุ้มจระนำและเจดีย์บริวารทั้งสี่ทิศตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยม ลานประทักษิณรอบเจดีย์กว้างด้านละ ๑.๕๐ เมตร มีกำแพงแก้วล้อมรอบ ประตูทางเข้ามีสี่ด้าน มีรูปปั้นสิงห์คู่เฝ้าประตูทุกด้าน นับเป็นเจดีย์ศิลปะล้านนาที่สวยงามของเมืองพะเยา

--------------------------------------------------------------

 
     
  วัดพระธาตุจอมศีล
วัดพระธาตุจอมศีลอยู่ในเขตวนอุทยานบ้านถ้ำ มีต้นไม้ร่มรื่นทิวทัศน์สวยงาม สามารถชมทิวทัศน์เมืองดอกคำใต้ได้จากบนเขาที่ตั้งของวัดแห่งนี้ ที่ตั้งบ้านถ้ำ ต.บ้านถ้ำ อ.ดอกคำใต้ ห่างจากอำเภอดอกคำใต้ ๑๕ กิโลเมตร ใช้เส้นทางหมายเลข ๑๒๕๑ ไปทางเชียงม่วน ทางเข้าวัดอยู่ทางซ้ายมือ เลี้ยวเข้าถนนข้างปั้มน้ำมัน ผ่านวัดสุวรรณคูหาไปอีกเล็กน้อยก็ถึงวัดพระธาตุจอมศีล โบสถ์สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็นศิลปะล้านนา

--------------------------------------------------------------
 
   
 

วัดพระธาตุปูปอ
ชาวพะเยาถือว่า วัดพระธาตุปูปอเป็นวัดพี่น้องกับวัดศรีโคมคำ ช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปีจะมีประเพณีการรดน้ำพระธาตุเป็นประจำ พระธาตุปูปอเป็นพระธาตุทรงแปดเหลี่ยมขนาดเล็ก สีขาว อยู่ไกล้ๆกับโบสถ์ พระธาตุปูปอตั้งอยู่ที่บ้านสันป่ากอก ต.ดงเจน ห่างจากเมืองพะเยาเพียง ๗ กิโลเมตร


วัดพระธาตุดอยจุก
พระธาตุดอยจุกเป็นเจดีย์แปดเหลี่ยม ศิลปะล้านนา มีซุ้มจระนำทั้งแปดทิศ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางประธานพร ตามตำนานเล่าต่อกันมาว่า พระพุทธเจ้าเสด็จมาพัก ณ บริเวณที่ตั้งของพระธาตุ ซึ่งที่แห่งนี้ชาวบ้านเรียกกันว่า ดอยจุก หมายถึง หยุด วัดพระธาตุดอยจุกตั้งอยู่บนเขาที่อ.ดงเจน ทางเข้าวัดอยู่เลยจากทางเข้าวัดพระธาตุปูปอไปประมาณ 1.5 ก.ม. อยู่ทางซ้ายมือ เมื่อเดินทางมาจากเมืองพะเยา

--------------------------------------------------------------

 
     
 

วัดศรีสุพรรณเป็นวัดสำคัญของชาวแม่ใจ เป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าทองทิพย์ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ตั้งอยู่ที่บ้านแม่ใจ ตำบลและอำเภอแม่ใจ ไกล้ที่ว่าการอำเภอ พระเจ้าทองทิพย์เป็นพระพุทธรูปสำริด ปางมารวิชัยสมัยเชียงแสนรุ่น ๓ หน้าตักกว้าง ๒๙ นิ้ว สูง ๒๔ นิ้ว มีพุทธลักษณะงดงาม พระพักตร์เนื้อทองสุกปลั่ง พระเกศเป็นเปลวไฟ


วัดศรีบุญเรือง
เป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าองค์ดำ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่งของชาวแม่ใจ ปกติวิหารจะไม่เปิด จะต้องโทรติดต่อเจ้าอาวาสเพื่อขอเข้าวิหารสักการะพระเจ้าองค์ดำ โทร. ๐๕๔-๔๙๙๐๑๐ วัดตั้งอยู่ริมทางหลวงหมายเลข ๑ พะเยา-เชียงราย บ้านขัวตาด ต.ศรีถ้อย อ.แม่ใจ บริเวณแยกศรีบุญเรือง วัดตั้งอยู่ทางซ้ายมือ พระเจ้าองค์ดำประดิษฐานอยู่ในวิหาร เป็นพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย

--------------------------------------------------------------

 
 

 

 
  วัดพระธาตุขิงแกง
เป็นวัดเก่าแก่ที่สำคัญของอำเภอจุน ห่างจากตัวอำเภอจุน ๘ กิโลเมตร ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข ๑๐๙๑ จุน-ปง ก่อนถึงโรงเรียนบ้านธาตุขิง พบทางแยกเข้าวัดทางขวา ให้เลี้ยวเข้าไปประมาณ ๒๐๐ เมตร วัดอยู่ทางซ้ายมือ ตั้งอยู่บนเนินเขา มีเนื้อที่กว้าง บรรยากาศสงบร่มรื่น พระธาตุชิงแกงเป็นเจดีย์ทรงล้านนาขนาดใหญ่ ฐานกว้างด้านละ ๑๕ เมตร สูง ๒๐ เมตร ประดิษฐานพระพุทธรูปในซุ้มเรือนแก้วทั้งสี่ด้าน ช่วงกลางองค์เจดีย์ประดับกระจกสี มีกำแพงแก้วล้อมรอบและเจดีย์บริวารทั้งสี่มุม

--------------------------------------------------------------

 
     
 

วัดนันตาราม
ตั้งอยู่บริเวณตลาดเทศบาลตำบลเชียงคำ ไม่ปรากฏว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยใด เป็นวัดประจำชุมชนชาวไทยใหญ่ เดิมเรียก วัดจองคา เพราะมุงด้วยหญ้าคา (คำว่า จอง เป็นภาษาไทยใหญ่ หมายถึงวัด) พุทธศาสนิกชนชาวไทยใหญ่เป็นผู้สร้าง โดย พ่อหม่อง โพธิ์ขิ่น บริจาคที่ดินเนื้อที่ ๓ ไร่เศษ เป็นสถานที่ก่อสร้าง พ่อเฒ่าอุบล เป็นประธานในการก่อสร้างจนสำเร็จเรียบร้อย มีฐานะเป็นอารามหรือสำนักสงฆ์ ประชาชนทั่วไปนิยมเรียก วัดจองเหนือ

วัดพระนั่งดิน
เป็นวัดที่องค์พระประธานของวัดไม่มีฐานรองรับเหมือนกับพระประธานองค์อื่นๆ เคยมีราษฎรสร้างฐานรองรับเพื่ออัญเชิญพระประธานขึ้นประดิษฐานบนฐานรองรับ แต่ปรากฏว่าพยายามยกเท่าไรก็ยกไม่ขึ้น จึงเรียกสืบต่อกันมาว่า พระนั่งดิน ตามตำนานกล่าวว่า พระพุทธรูปนี้สร้างตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ ดังนั้น พระเจ้านั่งดินน่าจะมีอายุกว่า ๒๕๐๐ ปี ในการสร้างพระพุทธรูปนี้ใช้เวลา ๑ เดือน ๗ วัน จึงเสร็จ เมื่อสร้างเสร็จได้ประดิษฐานไว้บนพื้นราบ ไม่มีฐานชุกชีดังพระพุทธรูปอื่นๆทั่วไป


วัดพระธาตุสบแวน
ที่วัดพระธาตุสบแวนแห่งนี้มีสิ่งน่าสนใจหลายอย่าง มีบ้านชาวไทลื้อ มีต้นจามจุรี
ขนาดใหญ่อายุกว่า ๑๐๐ ปี มีเจดีย์อายุเก่าแก่กว่า ๘๐๐ ปี บ้านชาวไทลื้อที่ตั้งอยู่
ภายในวัดมีศูนย์หัตถกรรมทอผ้า จากผู้หญิงสูงอายุในหมู่บ้าน มีงานหัตถกรรมจาก
ผ้าฝ้าย มีให้ซื้อขายและได้ชมวิธีการทอผ้าและสามารถเข้าชมเรือนไทลื้อ เพื่อรู้ถึงวิถีชีวิต
ความเป็นอยู่ของชาวไทลื้อได้อย่างละเอียด พระธาตุสบแวนอยู่ด้านหลังวิหาร เป็นเจดีย์
เก่าแก่อายุมากกว่า ๘๐๐ ปี


วัดแสนเมืองมา
วัดแสนเมืองมา มาจากชื่อหมู่บ้านมางในสิบสองปันนา ประเทศจีน วัดสร้างตามแบบศิลปะไทลื้อ ป้ายต่างๆในบริเวณวัดมีทั้งภาษาไทยและภาษาจีน เนื่องจากมีชาวไทลื้อเดินทางไปมาหาสู่ระหว่างไทยกับสิบสองปันนา สัณนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ หลังคามุงแป้นเกล็ดไม้งดงามมาก เป็นศิลปะไทลื้อ หน้าบันเป็นไม้แกะสลักรูปเทพนม บนพื้นสลักลายสวยงาม บันไดทางเข้าเป็นรูปพญานาค ประตูด้านข้างทางเข้ามีรูปปั้นสิงห์คู่เฝ้าประตู ...


วัดหย่วน
ที่วัดหย่วนเป็นศูนย์กลางแสดงผลงานทางศิลปะวัฒนธรรมของชาวไทลื้อ และเป็นศูนย์ฝึกอาชีพโดยเฉพาะผ้าทอไทลื้อ ซึ่งมีลวดลายสีสันสดใสสวยงาม ในอดีตชาวไทลื้อมีถิ่นอาศัยอยู่ในเขตสิบสองปันนาประเทศจีน กินอาณาบริเวณถึง ๒๕,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหุบเขาและลุ่มแม่น้ำ เป็นบริเวณที่อยู่อาศัยทำกินของไทลื้อ แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่ไหลผ่านแคว้นสิบสองปันนา ชาวไทลื้อเรียกว่า แม่น้ำของ ชาวไทลื้อมีนิสัยรักสงบ ขยัน อดทน และยังอนุรักษ์วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม การแต่งกายไว้เป็นอย่างดีอีกด้วย ที่ตั้งของวัดหย่วนอยู่ไม่ไกลจากวัดแสนเมืองมาและสถานีขนส่งมากนัก อยู่ทางทิศเหนือห่างกันเพียง ๕๐๐ เมตรโดยประมาณ


วัดพระธาตุดอยคำ
วัดพระธาตุดอยคำ เป็นวัดที่ตั้งอยู่บนยอดดอย ตำบลเจดีย์คำ อ.เชียงคำ มีถนนลาดยางขึ้นไปจนถึงตัวองค์พระเจดีย์ได้เลย วัดแห่งนี้มีความสำคัญอยู่ที่ พระธาตุดอยคำที่มีสถาปัตยกรรมแบบล้านนา ทั้งสี่ทิศมีสิงห์ปูนปั้นประดับอยู่ พระธาตุองค์นี้เป็นปูชนียสถานคู่เมืองเชียงคำมาอย่างยาวนาน

--------------------------------------------------------------

 
     
 

วัดพระธาตุดอยหยวก
วัดพระธาตุดอยหยวกตั้งอยู่บนเนินเขา บรรยากาศร่มรื่นเงียบสงบ เป็นวัดสำคัญของอำเภอปง พระธาตุมีลักษณะงดงามมาก เป็นศิลปะเฉพาะของพะเยา เจดีย์สีทอง มีซุ้มจระนำประดิษฐานพระพุทธรูปทั้งสี่ทิศ ประดับกระจกสีตามซุ้มและฐานองค์ระฆัง ส่วนยอดเป็นฉัตรทองที่มุมทั้งสี่มีเจดีย์บริวาร วิหารเป็นทรงล้านนา หลังไม่ใหญ่แต่งดงามมีเสน่ห์ เป็นศิลปะแบบทางเหนือ

--------------------------------------------------------------


 
     
  วัดพระธาตุภูซาง เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่ไม่ควรพลาดเมื่อเดินทางมาเยือนน้ำตกภูซาง และตลาดการค้าชายแดนไทย-ลาว บ้านฮวก ก่อนถึงที่ทำการอุทยานภูซางเล็กน้อย ประมาณ ๑ กิโลเมตร ด้านขวามือจะมีทางแยกขึ้นไปสู่วัดพระธาตุภูซาง วัดแห่งนี้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาวเหนือ เป็นที่เคารพและสักการะของประชาชนตำบลภูซาง และตำบลใกล้เคียงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความสงบร่มรื่น ภายในบริเวณมีต้นไม้ใหญ่ให้ความร่มรื่นอยู่มากมาย และเป็นศูนย์บำบัดผู้ติดยาเสพติดและโรคเอดส์ นอกจากนี้ยังมีสวนสมุนไพรมากมายหลายชนิด ซึ่งสามารถใช้เป็นแหล่งการเรียนรู้ได้อีกด้วย บรรยากาศสงบ มองเห็นวิวทิวทัศน์อย่างสวยงามได้โดยรอบจากพระธาตุแห่งนี้

--------------------------------------------------------------
 
     
 

วัดท่าฟ้าใต้
วัดท่าฟ้าใต้ เป็นวัดที่สร้างตามรูปแบบศิลปะไทลื้อที่งดงามมาก วิหารมีรูปแบบศิลปะไทลื้อ ก่ออิฐถือปูน หลังคามุงแป้นเกล็ดซ้อนกัน ๓ ชั้น หน้าบัน เป็นลายเครือเถาแบบไทลื้อที่ประยุกต์ลายมาจากธรรมชาติ มีลายดอกไม้บานอยู่ตรงกลาง ประดับด้วยกระจกเงา โดยเชื่อว่าเป็นสิ่งสะท้อนความชั่วร้ายมิให้มาทำร้ายกล้ำกรายได้ ใบระกาเป็นไม้สัก แกะสลักเป็นรูปพญานาค เชิงชายฉลุลายน้ำหยด เอกลักษณ์ของไทลื้อ


พระธาตุภูปอ
พระธาตุภูปอตั้งอยู่ในเขตบ้านหนองกลาง ม.7 ต.บ้านมาง อ.เชียงม่วน จ.พะเยา ห่างจากถนนสายบ้านปงสนุก บ้านหนองกลาง ประมาณ 1.5 กิโลเมตร ถนนตัดขึ้นสู่พระธาตุเป็นถนนคอนกรีตสูงชันจากจุดที่พระธาตุตั้งอยู่บนยอดเขา สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ได้ ๓๖๐ องศา มองเห็นชุมชนของอำเภอเชียงม่วนเป็นอย่างดี เช่น บ้านมาง บ้านหลวง และยังสามารถมองเห็นฝั่งต้าได้อย่างชัดเจน ตามตำนานกล่าวไว้ว่าเมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าได้เดินทางมาเผยแพร่พระพุทธศาสนาที่เขาลูกนี้ ชาวบ้านต่างนำเครื่องอุปโภคไปถวาย และสิ่งที่มีมากเป็นพิเศษคือใบพลูได้นำมาถวายจนกองเป็นภูเขาพระพุทธองค์ได้ทรงตรัสห้ามว่า "พลูพอแล้วนะ" หรือภาษาคำเมืองว่า "ปูปอแล้ว" ดังนั้นพระธาตุนี้ จึงมีชื่อว่า "พระธาตภูปอ"

--------------------------------------------------------------

 
     
สัมผัสธรรมชาติ

กว๊านพะเยา
ในภาษาเหนือ กว๊านคือ น้ำลึกหรือน้ำวน กว๊านพะเยาเป็นทะเลสาบที่ใหญ่เป็นอันดับ ๓ ของประเทศทีเดียว รองจากบึงบอระเพ็ดและหนองหาน แต่กว๊านพะเยารั้งตำแหน่งแหล่งน้ำจืดใหญ่ที่สุด แห่งภาคเหนือตอนบน มีเนื้อที่ถึง ๑๒,๘๓๑ ไร่

 
  น้ำตกจำปาทอง
อยู่ในอุทยานแห่งชาติดอยหลวง มีพื้นที่ครอบคลุมถึง ๓ จังหวัดคือ เชียงราย พะเยาและลำปาง ที่ทำการอุทยานฯอยู่ในเขตจังหวัดเชียงราย ตัวน้ำตกจำปาทองอยู่ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดพะเยา การเดินทางจากสี่แยกประตูชัย ใช้ทางหลวงหมายเลข ๑ ไปทางอำเภอแม่ใจ กิโลเมตรที่ ๗ แยกไปทางซ้ายมือ ทางหลวงหมายเลข ๑๑๒๗ ผ่านวัดต๊ำม่อง วัดถ้ำกลางไปอีก ๕๐๐ เมตร พบทางแยกซ้ายให้เลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ ๔ กิโลเมตร พบหน่วยพิทักษ์อุทยานฯที่ดล.๖ (จำปาทอง) น้ำตกอยู่เลยหน่วยพิทักษ์ไปอีก ๓๕๐ เมตร น้ำตกอยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๒๓ กิโลเมตร ที่ตั้งอยู่ที่บ้านต๊ำกลาง ต.ต๊ำ อ.เมือง ที่บ้านต๊ำในซึ่งอยู่ไกล้ๆกับน้ำตกมีชื่อเสียงในเรื่องการรักษาป่าอย่างเข้มแข็ง พื้นที่ป่าได้รับประกาศให้เป็นป่าชุมชน มีความอุดมสมบูรณ์เป็นต้นน้ำที่ไหลลงสู่กว๊านพะเยา น้ำตกจำปาทองเป็นน้ำตกขนาดใหญ่ มีความอุดมสมบูรณ์มีน้ำตลอดทั้งปี สายน้ำลดหลั่นลงมา ๖ ชั้น ชั้นที่สวยที่สุดคือชั้นที่ ๒ และ ๓ และมีแอ่งให้ลงเล่นน้ำได้หลายแห่ง มีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติเป็นระยะทาง ๒.๒๐ กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ ๒ ชั่วโมง ผ่านป่าดงดิบแล้ง
 
  ถนนดอกทองกวาว
ระยะทางยาวถึง ๒๐ กิโลเมตร จากอำเภอดอกคำใต้ไปอำเภอจุน บนทางหลวงหมายเลข ๑๐๒๑ สองข้างทางจะมีต้นดอกทองกวาวตลอดความยาว ๒๐ กิโลเมตร ในเดือนกุมภาพันธ์ดอกทองกวาวจะบานสะพรั่ง สวยงามอย่างยิ่ง เป็นสัญลักษณ์หนึ่งของอำเภอดอกคำใต้ ดอกทองกวาวมีอยู่ทุกที่ทั่วอำเภอ ตามท้องนาอันเขียวขจีก็ยังมีต้นทองกวาวอยู่ทั่วไป
 
 

หนองเล็งทราย
ใช้ถนนทางหลวงหมายเลข ๑ มุ่งหน้าสู่ทิศเหนือ พะเยา-เชียงราย มาจนถึงแยกศรีบุญเรือง เลี้ยวขวาเข้าถนนพหลโยธินสายในไปประมาณ ๑ กิโลเมตร ถึงวัดโพธารามทางซ้ายมือ ให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนข้างวัดไปจนสุดทาง จะพบกับหนองน้ำแห่งอำเภอแม่ใจเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่คือ หนองเล็งทราย หนองแห่งนี้เนื้อที่ประมาณ ๕,๕๐๐ ไร่ ครอบคลุมหลายตำบล

 
  เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ
มีเนื้อที่ครอบคลุม ๔ อำเภอ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอจุน อำเภอเชียงคำ และอำเภอปง เนื้อที่ทั้งหมด ๒๓๑,๘๗๕ ไร่ ภูมิประเทศเป็นป่าดงดิบ ป่าต้นน้ำอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่าหายาก เช่น เลียงผา, กวาง, นกยูง, เนื้อทราย, ละอง, ละมั่ง, ไก่ฟ้าหลังขาว, นกแว่นสีเทา กิจกรรมท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่น่าสนใจ เดือนพฤษภาคมถึงธันวาคม จะมีลานนกยูงผสมพันธุ์
 
  วนอุทยานภูลังกา
จากข้อมูลของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วนอุทยานภูลังกา ดอยภูลังกาภาษาชาวเขา เผ่าเมี่ยน เรียกว่า “ฟินจาเบาะ” หมายความว่า “ภูเทวดา” เป็นยอดดอยที่สวยงาม
 
 

จุดกำเนิดแม่น้ำยม
ลำน้ำยมมีจุดกำเนิดบนยอดดอยสูงจากวนอุทยานภูลังกา เป็นสายน้ำที่ไหลลงมาทางตัวอำเภอปง ชื่อ ลำน้ำงิม และมาบรรจบกับลำน้ำควร กลายเป็นจุดกำเนิดของแม่น้ำยม ซึ่งจุดนี้อยู่ไม่ไกลจากตัวอำเภอปงมากนัก จะมีป้ายบอกหรือสอบถามชาวบ้านก็ได้ ห่างจากถนนเมนของตัวอำเภอประมาณ ๑ กิโลเมตร ก็จะได้พบกับจุดที่แม่น้ำสองสายมาบรรจบกัน


 
 

อุทยานแห่งชาติภูซาง
ตามข้อมูลของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้กล่าวถึงอุทยานแห่งชาติภูซาง ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้ อุทยานแห่งชาติภูซาง มีขนาดพื้นที่ประมาณ ๒๘๔.๘ ตารางกิโลเมตร (๑๗,๘๐๔๙.๖๒ ไร่) อยู่ในเขตอำเภอเทิง จ.เชียงราย อ.ภูซาง อ.เชียงคำ จ.พะเยา อุทยานแห่งชาติภูซาง เป็นอุทยานแห่งชาติที่มีอาณาเขตติดต่อกับ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ...

 
 

วนอุทยานไดโนเสาร์เชียงม่วน-แก่งหลวง
ไดโนเสาร์เชียงม่วนเป็นไดโนเสาร์ตัวแรกที่ค้นพบในภาคเหนือ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๔๕ – ๒๕๕๒ นายวรวุธ สุธีธร นักโบราณชีววิทยา หัวหน้าคณะสำรวจของกรมทรัพยากรธรณี ได้นำคณะสำรวจเข้ามาทำการขุดค้นซากดึกดำบรรพ์ที่พบที่ อ.เชียงม่วน จ.พะเยา พบซากกระดูกไดโนเสาร์วางตัวเรียงต่อกันในแนวทิศเหนือ-ทิศใต้ จำนวน ๑๐๔ ชิ้น ...


 
  ฝั่งต้าไชยสถาน
ฝั่งต้าหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ฝั่งต้าไชยสถาน มีลักษณะของการกัดเซาะพังทลายของดินภูเขาเตี้ยๆ ทำให้เกิดรูปร่างคล้ายเสาแหลมๆเรียงรายติดต่อกันเป็นแนวยาวประมาณ ๒๐๐ เมตร มีความสูงประมาณ ๒๕ เมตร บนยอดเขาฝั่งต้าแห่งนี้ยังเป็นจุดชมวิวและพักผ่อนได้ มีเนื้อที่ค่อนข้างราบประมาณ ๓ ไร่ สามารถมองเห็นทิวทัศน์สวยงามรอบด้าน ไกล้ๆกันมีสระน้ำอยู่ด้านหน้า มีสถานที่จัดไว้สำหรับพักผ่อนหย่อนใจ สามารถมองเห็นฝั่งต้าถัดไปจากสระน้ำแห่งนี้ ฝั่งต้าไชยสถานตั้งอยู่ที่หมู่ ๔ ต.เชียงม่วน อ.เชียงม่วน จากที่ว่าการอำเภอเชียงม่วนระยะทางประมาณ ๕ กิโลเมตร
 
  เหมืองเชียงม่วน
เหมืองเชียงม่วนในความดูแลของบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ตั้งอยู่ในตำบลบ้านสระ อ.เชียงม่วน จ.พะเยา บนเนื้อที่รวม ๒,๕๗๐ ไร่ ดำเนินการผลิตถ่านหินเชิงพาณิชย์นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๙ ถ่านหินของเหมืองเชียงม่วนเป็นถ่านหินประเภทลิกไนต์ มีปริมาณซัลเฟอร์ต่ำ ซึ่งส่วนใหญ่จะจำหน่ายให้กับลูกค้าภายในประเทศ ทั้งในธุรกิจไฟฟ้า ซีเมนต์และเยื่อกระดาษ ได้มีการขุดพบซากฟอสซิลภายในบริเวณเหมืองมากมายหลายชนิด ซากฟอสซิลที่พบส่วนใหญ่จะเป็นกระดูกและฟันของช้างไตรโลโฟดอน กอมโฟแทร์ (Triphodont Gomphothere) ซึ่งเป็นช้างโบราณที่มี ๔ งา จระเข้ ปลา อีเก้ง หมู ลิงอุรังอุตัง เต่า หอยชนิดต่างๆและเมล็ดพืชโบราณ ซึ่งซากฟอสซิลเหล่านี้มีอายุในช่วงยุคไมโอซีน (Myosin) ตอนกลางหรือราว ๑๓-๑๕ ล้านปีก่อน ที่ตั้งเหมืองเชียงม่วน จากอำเภอเชียงม่วนไปตามเส้นทางหมายเลข ๑๐๙๑ มุ่งหน้าอ.ปง พอถึงทางแยกบ้านสระให้เลี้ยวไปทางซ้ายมือที่จะไปอำเภอดอกคำใต้ ตามทางหลวงหมายเลข ๑๒๕๑ จากทางแยกนี้ไปประมาณ ๓ กิโลเมตร ทางด้านขวามือจะเป็นที่ตั้งของจุดชมวิวของเหมืองเชียงม่วน
 
  อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง
อุทยานแห่งชาติดอยภูนางมีสิ่งน่าสนใจมากมายโดยเฉพาะนกยูงและน้ำตกต่างๆ มีเนื้อที่ประมาณ ๕๓๘,๑๒๘ ไร่ หรือ ๘๖๑ ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ ๓ อำเภอ ได้แก่ อ.เชียงม่วน อ.ปง อ.ดอกคำใต้ สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง มีสัตว์ป่าหายากหลายชนิด เสือปลา แมวลายหินอ่อน แมวดาว เลียงผา ตัวนิ่ม ฯลฯ ที่สำคัญคือ นกยูง
 
     
ชมสิ่งก่อสร้าง

หอวัฒนธรรมนิทัศน์
อยู่ไกล้กับวัดศรีโคมคำ เป็นพิพิทธภัณฑ์แสดงโบราณวัตถุ เอกสารข้อมูลสำคัญทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดพะเยา ภายในอาคารมีห้องแสดงต่างๆมากมาย เช่นก่อนที่จะเป็นอาณาจักรห้องขุนเจือง กษัตริย์องค์ที่ ๒ ของอาณาจักรภูกามยาว ห้องพญางำเมือง แสดงถึงความสัมพันธ์ของ ๓ กษัตริย์ ได้แก่ พญาร่วงแห่งอาณาจักรสุโขทัย พญามังรายแห่งอาณาจักรล้านนาและพญางำเมืองแห่งอาณาจักรภูกามยาว ห้องแสดงเครื่องปั้นดินเผา ห้องแสดงพะเยายุครุ่งเรืองและยุคเสื่อม ห้องแสดงวิถีชาวบ้าน ประวัติพระเจ้าตนหลวง ยังมีลานแสดงศิลาจารึกอีกมากมาย เปิดทำการทุกเวลา ๘.๓๐ น. – ๑๖.๓๐ น. โทร. ๐๕๕-๔๑๐๐๕๘ – ๙

 
  อนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง
จังหวัดพะเยาได้รับการยกฐานะให้เป็นจังหวัดที่ ๗๒ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ชาวพะเยาจึงร่วมใจกันสร้างอนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมืองขึ้น บริเวณสวนสาธารณะริมกว๊านพะเยา เป็นรูปปั้นสำริดความสูงเท่าครึ่งขององค์จริงในท่าประทับยืน ทรงชุดกษัตริย์สวมมงกุฎ พระหัตถ์ถือดาบอาญาสิทธิ์ หันพระพักตร์ไปทางกว๊านพะเยา ประดิษฐานบนแท่นสูง ๒.๕๐ เมตร
 
  ประมงน้ำจืดพะเยาและพระตำหนัก
เป็นสถานีประมงที่มีความสำคัญของภาคเหนือ มีการเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดเพื่อจำหน่ายแจกจ่ายแก่ประชาชน เพื่อนำไปเป็นอาชีพและเพื่อไปปล่อยยังแหล่งน้ำธรรมชาติ มีผลงานที่สำคัญของสถานีประมงน้ำจืดแห่งนี้คือ การผสมเทียมปลาบึกได้เป็นครั้งแรกของโลก เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๖ ภายในจึงมีการตั้งพิพิทธภัณฑ์ปลาบึกขึ้น เพื่อเผยแพร่ความรู้สู่สังคมและประชาชนทั่วไป สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเคยเสด็จมาประทับ ณ สถานีประมงแห่งนี้
 
 

ศาลหลักเมืองพะเยา
ตั้งอยู่ริมถนนท่ากว๊าน มีถนนล้อมรอบทั้งสี่ด้าน อยู่ไม่ไกลจากริมกว๊านพะเยามากนัก และไกล้ๆกันนั้นคือวัดศรีอุโมงค์คำ และอีกด้านหนึ่งเป็นวัดราชคฤห์ จากถนนประตูชัยเลี้ยวซ้ายไปจรดถนนท่ากว๊านก็สามารถเห็นศาลหลักเมืองได้อย่างชัดเจน ศาลหลักเมืองพะเยามีความสวยงามทั้งกลางวันและกลางคืน ไม่ควรพลาดทีจะต้องแวะไปกราบสักครั้งหนึ่งเมื่อถึงจังหวัดพะเยา

 
 

อ่างเก็บน้ำห้วยชมพู – ผาเทวดา
ที่ตั้งของอ่างเก็บน้ำห้วยชมพู-ผาเทวดา อยู่ในเขตพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ อบต.สันโค้ง ที่นี่มีกิจกรรมและแหล่งท่องเที่ยวหลายอย่าง มีการเดินป่าขึ้นไปโรยตัวที่หน้าผาเทวดา เที่ยวน้ำตก ชมทุ่งทานตะวันในช่วงฤดูหนาวประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ท้องทุ่งบริเวณตำบลสันโค้งจะสวยงามสว่างสดใสเต็มไปด้วยดอกทานตะวัน บานท่ามกลางขุนเขารายรอบ

 
 

โบราณสถานเวียงลอ
สถานที่ตั้งของโบราณสถานเวียงลอห่างจากตัวอำเภอจุนไปตามทางหลวงหมายเลข ๑๐๒๑ ถึงบ้านห้วยงิ้วประมาณ ๑๗ กิโลเมตร มีทางแยกเป็นทางเดินถึงบ้านน้ำจุนอีก ๑๒ กิโลเมตร มีทางแยกเป็นทางเดินถึงบ้านน้ำจุนอีก ๑๒ กิโลเมตร ปรากฏซากกำแพงเมืองเก่า วัดร้างอยู่มากมาย พระธาตุและวัดเก่าแก่คือ วัดศรีปิงเมือง เมืองลอหรือเวียงลอ มีคูเมืองและกำแพงคันดิน ๑-๒ ชั้น ล้อมรอบ ตั้งอยู่ที่ราบระหว่างเชิงดอยจิกจ้องและแม่น้ำอิง


 
 

อนุสรณ์ผู้เสียสละ พทต. ๒๓๒๔
อนุสรณ์สถานเป็นเสาห้าเหลี่ยมสีเขียว ด้านหน้าเป็นลานครึ่งวงกลม ด้านหลังเป็นพื้นที่อาคารนิทรรศการ เป็นอาคารชั้นเดียว จัดแสดงภาพถ่ายชุดแต่งกายทหาร อาวุธปืน ระเบิด และเครื่องเวชภัณฑ์ของ ผกค.พร้อมทั้งแสดงรายชื่อพลเรือน ทหารและตำรวจ จำนวน ๓๙๙ คน ที่เสียชีวิตจากการต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ – ๒๕๒๕ ในเขตพื้นที่จ.พะเยาและจ.เชียงราย มีการจำลองสถานที่สนามรบแสดงให้เห็นการต่อสู้กันอย่างดุเดือด ให้เห็นลักษณะภูมิประเทศในเขตต่างๆ เช่น อ.ปง และอ.เชียงม่วน มีฐานที่มั่นสำคัญคือ ดอยผาจิและดอยผาช้างน้อย ฐานที่มั่นบนดอยภูลังกาและดอยน้ำสาเป็นต้น สถานที่แห่งนี้เป็นที่ศึกษาประวัติศาสตร์การสู้รบกับคอมมิวนิสต์ เพื่อรำลึกถึงวีรกรรมของพลเรือน ตำรวจ และทหาร ที่ตั้งอยู่ห่างจากอ.เชียงคำ ๓ กิโลเมตร บนทางหลวงหมายเลข ๑๐๒๑ ไปทางอ.จุน อนุสรณ์สถานอยู่ทางซ้ายมือหน้าค่ายขุนจอมธรรม เปิดวันจันทร์- เสาร์ เวลา ๙.๐๐ น. - ๑๒.๐๐ น. , ๑๓.๐๐ น. – ๑๖.๐๐ น.


 
     
ขับรถเที่ยว
พะเยา  
     
     
ปั่นจักรยาน
พะเยา  
     
     
ชมวิถีเกษตร

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปังค่า
เป็นพื้นที่พัฒนาเกษตรที่สูง มีสิ่งที่น่าสนใจภายในศูนย์คือพืชผักเมืองหนาว ซึ่งมีการปลูกตามไหล่เขา เป็นพืชล้มลุกและยืนต้น เช่น ฟักทองญี่ปุ่น ซุกินี หอมญี่ปุ่น มะเขือก้านดำ ขิงแดง อโวคาโด ท้อ พลับ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการปลูกดอกไม้หลากสีอีกหลายชนิด ทิวทัศน์รอบบริเวณสวยงาม อากาศเย็นสบายตลอดปี ในบริเวณไกล้เคียงมีชุมชนของชาวม้ง และชาวเมี่ยน หรือเย้าอยู่ไกล้ๆ หากไปเยือนในช่วงเทศกาลสำคัญจะได้พบเห็นกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรม ...

 
     
     
 
ตีกอล์ฟ
ตีกอล์ฟ
สนามกอล์ฟพะเยา
อ่านต่อ >>
ผจญภัย
พะเยา  
     
     
ประตูสู่อินโดจีน
ประตูสู่อินโดจีน
ประเทศไทย ศูนย์กลางเส้นทางเชื่อมโยงเที่ยวประเทศเพื่อนบ้าน อ่านต่อ >>
 
     
     
 
 
ที่มาของภาพ และข้อมูล
จังหวัด พะเยา
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ไทยประตูสู่อินโดจีน
จังหวัดชายแดนไทย-ลาว และจีนตอนใต้
เชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี อุตรดิตถ์ น่าน พะเยา
 
จังหวัดชายแดนไทย-กัมพูชา
สระแก้ว สุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ ตราด จันทบุรี
 
     
จังหวัดชายแดนไทย-ลาว/กัมพูชา-เวียดนาม
หนองคาย นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี เชียงราย อุตรดิตถ์ สระแก้ว

 
จังหวัดชายแดนไทย-พม่า
เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง
 
   
 
* สำหรับผู้ประกอบการที่พัก โฮมสเตย์ รีสอร์ท, ร้านอาหาร, ร้านค้า และสถานประกอบการอื่นๆ สามารถแจ้งเพิ่ม แก้ไขข้อมูลรายละเอียดสถานประกอบการ และโปรโมชั่นได้ฟรี
ผ่านทาง e-mail : mekongrivertoday@ .com  
 
:: พันธมิตร(Partner) กับ MekongRiverToday.com
ร่วมเป็นพันธมิตร(Partner) กับเราเพื่อสิทธิประโยชน์ทางธุรกิจของท่าน
แบบเพื่อนบ้าน (ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น)
  ผู้ประกอบการสามารถแจ้งข้อมูลรายละเอียดของที่พัก โฮมสเตย์ รีสอร์ท ร้านอาหาร ร้านค้า ผลิตภัณฑ์ หรือ บริการต่างๆ ของผู้ประกอบการให้กับ MekongRiverToday.com เพื่อรับหน้าเว็บเพจประชาสัมพันธ์ฟรี 1 หน้า พร้อมทั้งรับสิทธิ์แจ้งแก้ไขรายละเอียด และสิทธิพิเศษอื่นๆ อ่านต่อ >>
แบบเพื่อนใจดี (นำสินค้าหรือบริการของท่าน มาแลกบริการของเรา)
  รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานเหมือนเพื่อนบ้าน และรับมากกว่า เช่น โฆษณาฟรีในตำแหน่งแบนเนอร์ว่าง, ประชาสัมพันธ์ผ่านข่าวหน้าแรก MekongRiverToday.com, MekongRiverToday fanpage และ twitter ส่วนลด และบริการโฆษณาฟรี /บริการออกแบบเว็บไซต์ และสิทธิพิเศษอื่นๆ อ่านต่อ >>

อ่านรายละเอียดคลิกที่นี่
สำหรับผู้ประกอบการ  
ติดต่อโฆษณา และประชาสัมพันธ์์ ดูรายละเอียดตำแหน่ง Banner อัตราค่าโฆษณา และโปรโมชั่น อ่านรายละเอียด คลิกที่นี่  
   
 
สะสมแต้ม โลตัสพลัส
ลงโฆษณากับเราวันนี้ รับแต้มสะสมเพื่อแลกรางวัลโฆษณาฟรีกับ MekongRiverToday.com
 
     
 
:: เมนู
ข้อมูลทั่วไป
ประตูสู่อินโดจีน
เมืองชายแดนประเทศไทย
การเดินทาง
โปรโมชั่น
ข่าวท่องเที่ยว
ปฏิทินท่องเที่ยว
สัมผัสอารยธรรมลุ่มแม่น้ำโขง
กิจกรรมท่องเที่ยว
เส้นทางท่องเที่ยว
บันทึกความทรงจำ
ที่พัก โฮมสเตย์ รีสอร์ท
รีวิวที่พัก โฮมสเตย์ รีสอร์ท
ร้านอาหาร กาแฟ เครื่องดื่ม
รีวิวที่กิน ร้านอาหาร
ห้องภาพ





 
A2
A3
 

 
 
 
 
 
 
 
เมืองชายแดนไทย-ลาว เมืองชายแดนไทย-ลาว/กัมพูชา-เวียดนาม เมืองชายแดนไทย-กัมพูชา เมืองชายแดนไทย-พม่า ข้อมูลการเดินทาง
ภูดู่, จ.อุตรดิตถ์
ห้วยโกร๋น, จ.น่าน
บ้านฮวก, จ.พะเยา
เชียงของ, จ.เชียงราย
ท่าลี่, จ.เลย
จ.หนองคาย 
จ.บึงกาฬ
จ.อำนาจเจริญ
จ.อุบลราชธานี
จ.นครพนม
จ.มุกดาหาร
จ.อุบลราชธานี
จ.หนองคาย
ภูดู่, จ.อุตรดิตถ์
เชียงของ, จ.เชียงราย
อรัญประเทศ, จ.สระแก้ว
จ.ศรีสะเกษ
จ.สุรินทร์
จ.บุรีรัมย์
อรัญประเทศ, จ.สระแก้ว
จ.จันทบุรี
บ้านหาดเล็ก, จ.ตราด
แม่สาย, จ.เชียงราย
จ.เชียงใหม่
จ.แม่ฮ่องสอน
แม่สอด, จ.ตาก
จ.กาญจนบุรี
จ.ประจวบคีรีขันธ์
จ.ระนอง
เอกสารการเดินทาง
รถยนต์โดยสารระหว่างประเทศ
         
ลาว เวียดนาม กัมพูชา พม่า จีนตอนใต้
ที่พัก หลวงพระบาง
ที่พัก นครเวียงจันทน์
ที่พัก วังเวียง
ที่พัก จำปาสัก
ที่พัก ไชยะบุรี
ที่พัก เดียนเบียนฟู
ที่พัก กว๋างนิง
ที่พัก ฮานอย ฮาลอง
ที่พัก เว้
ที่พัก ดานัง
ที่พัก ฮอยอัน
ที่พัก โฮจิมินห์ซิตี้ ดาลัต มุยเน่
ที่พัก เสียมราฐ
ที่พัก พนมเปญ
ที่พัก พะตะบอง
ที่พัก เกาะกง
ที่พัก กรุงสีหนุวิลล์
ที่พัก เชียงตุง
ที่พัก เมืองลา
ที่พัก เมียวดี
ที่พัก ย่างกุ้ง
ที่พัก มัณฑะเลย์
ที่พัก พุกาม
ที่พัก อินเล
ที่พัก สิบสองปันนา
ที่พัก คุนหมิง
   
ที่พัก เมืองชายแดนไทย
ไทย-ลาว และจีนตอนใต้
ไทย-ลาว/กัมพูชา-เวียดนาม
ไทย-กัมพูชา
ไทย-พม่า
   
         
ตั๋วเครื่องบิน โรงแรม ที่พัก โฮมสเตย์ รีสอร์ท  แพคเกจทัวร์ รถเช่า  อินเตอร์เน็ตและโทรข้ามแดน
ในประเทศ
ต่างประเทศ 
เมืองชายแดนไทย
ลาว
จีนตอนใต้
เวียดนาม
กัมพูชา
พม่า
เมืองชายแดนไทย
ลาว
จีนตอนใต้
เวียดนาม
กัมพูชา
พม่า
ในประเทศ
ต่างประเทศ 
ในประเทศ
ต่างประเทศ