เกี่ยวกับเรา | บริการ | ลงโฆษณา | พันธมิตรกับเรา | สะสมแต้ม | ออกแบบเว็บไซต์
 
           
 
ปลายทาง  |  รีวิวท่องเที่ยว  |  รีวิวที่พัก  |  รีวิวร้านอาหาร  |  สัมผัสอารยธรรมลุ่มแม่น้ำโขง
บริการ  :   โปรโมชั่น  |  ตั๋วเครื่องบิน  |  โรงแรม ที่พัก  |  แพคเกจทัวร์ |  รถเช่า  |  ข้อมูลการเดินทาง
 
:: ปลายทางอินโดจีน
ลาว
จีนตอนใต้
เวียดนาม
กัมพูชา
เมียนมาร์
 
เกี่ยวกับเรา
สำหรับผู้ประกอบการ
   โฆษณากับเรา
   พันธมิตรกับเรา
   สะสมแต้ม โลตัสพลัส

หลวงพระบาง ย่างกุ้ง จีน, มณฑลยูนนาน ฮานอย ฮาลอง
จำปาสัก เวียงจันทน์ มัณฑะเลย์ เสียมราฐ โฮจิมินห์ซิตี้ เว้ ดานัง ฮอยอัน
 
B08,
B09

สารบัญที่พัก โฮมสเตย์ รีสอร์ท
รีวิวที่พัก โฮมสเตย์ รีสอร์ท
การเดินทาง
โปรโมชั่น
บันทึกความทรงจำ


หน้าแรก > อินโดจีน  
อินโดจีน (Indochina) หรือ คาบสมุทรอินโดจีน (Indochinese Peninsula) เป็นคาบสมุทรที่ยื่นออกมาจากแผ่นดินใหญ่ของทวีปเอเชีย และเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มาของชื่อว่าอินโดจีนนั้น ก็เพราะว่าคาบสมุทรนี้ตั้งอยู่ทางใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน และ ทางตะวันออกของ ประเทศอินเดีย คำว่า "Indochina" มีที่มาจากคำว่า Indochine ในภาษาฝรั่งเศส และถูกใช้ในระหว่างยุคล่าอาณานิคม

ในทางประวัติศาสตร์แล้ว ประเทศในอินโดจีนส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดียและจีน ซึ่งแต่ละประเทศต่างก็รับเอาวัฒนธรรมจากทั้งสองชาตินี้เข้ามาระดับที่แตกต่างกัน อย่างเช่น ไทยและลาวได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดียเป็นส่วนใหญ่ ส่วนเวียดนามได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมมาจากจีนเป็นส่วนใหญ่ ต่อมา ในยุคล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก ชาติส่วนใหญ่ในอินโดจีนก็รับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาเช่นกัน
 
ประเทศปลายทาง
เมืองชายแดนไทย
จังหวัดและเมืองชายแดนไทย กับลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า และจีนตอนใต้
 
ประเทศลาว
หลวงพระบาง นครเวียงจันทน์ วังเวียง ปากเซ, จำปาสัก เชียงขวาง สะหวันนะเขต คำม่วน บ่อแก้ว หลวงน้ำทา ไชยะบุรี อุดมไชย
 
ประเทศกัมพูชา
เสียมราฐ พนมเปญ พะตะบอง เกาะกง กรุงสีหนุวิลล์ กัมปงจาม
 
     
ประเทศจีนตอนใต้ มณฑลยูนนาน
สิบสองปันนา คุนหมิง(จีน)
 
ประเทศเวียดนาม
ฮานอย ฮาลอง ฮานอย ฮาลอง เว้ ดานัง ฮอยอัน โฮจิมินห์ซิตี้ ดาลัต
 
ประเทศเมียนมาร์(พม่า)
เชียงตุง เมืองลา เมียวดี ย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ พุกาม

 
     
 
 

ทำไมต้อง “อินโดจีน”?

ดินแดนที่ตั้งอยู่ระหว่างมหาสมุทรอินเดีย กับทะเลจีน ถูกเรียกว่า “อินโดจีน” โดยมีรากคำ ที่มาจากคำว่า “อินเดีย” (INDIA) กับ “จีน” ( CHI-NA , CHI-NO) เช่นเดียวกับคำว่า “อินโดนีเซีย” ที่มาจากคำว่า “อินเดีย” กับ “เอเชีย” อันมีชาวอินเดียและชาวจีน นำเรือสินค้าเดินทางไปตามเมืองต่างๆ พร้อมกับศาสนาคือฮินดู พราหมณ์ พุทธ

ประเทศที่อยู่ระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับทะเลจีนใต้ จึงหมายถึงพม่า ไทย(สยาม) ลาว เขมร เวียดนาม เป็นหลัก สำหรับมาเลเซีย และสิงคโปร์ นั้นดูเหมือนจะนับเข้าฝ่ายแหลมมลายูมากกว่าแหลมอินโดจีน

ในอดีตนั้นถือเอาประเทศที่อยู่ข้างฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโขงเป็นเขตอินโดจีนเนื่องจากฝรั่งเศสได้เข้ายึดครองประเทศนั้นแล้วมีทีท่าจะลุกลามมายังฝั่งซ้ายคือดินแดนอีสานของไทย จนต้องมีการสร้างสัมพันธ์ไมตรีกับรัสเซีย ประเทศมหาอำนาจในสมัยนั้นเพื่อปรามฝรั่งเศสให้เกรงใจและยุติการยึดครองในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้

ภาพของการเรียกร้องดินแดนอินโดจีนคืนจากฝรั่งเศสนั้นเคยปรากฏในประวัติศาสตร์ไทยสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม จนเข้าใจว่าแหลมอินโดจีนนั้นคือ ลาว เขมร ญวน จึงมีการนับเอาไทย พม่าว่าเป็นแหลมสุวรรณภูมิหรือแหลมทอง ส่วนมลายู สิงคโปร์ นั้นเป็นแหลมมลายู

แต่ความเป็น “อินโดจีน” ในปัจจุบันได้หมายเอาประเทศที่อยู่ระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับทะเลจีนใต้ หรือส่วนที่เรียกกันว่า “อุษาคเณย์” เป็นประเทศในเขตแหลมอินโดจีนหากจะรวมไปถึงเกาะสุมาตรา บอร์เนียว อินโดนีเซีย บูรไนด้วยก็พอเข้าข้างจะอนุโลม เนื่องจากมีเชื้อชาติและวัฒนธรรมเดียวกันกับมาเลเซีย ที่มาจากรากคำว่า “มะละกา” กับ “อินเดีย” จึงไม่มีการว่ากันให้ชัดเจน

ในอดีตนั้นการเดินทางมายังดินแดนต่างๆ ที่เรียกอินโดจีนนั้นต้องใช้เส้นทางมหาสมุทรอินเดียกับทะเลจีนใต้เป็นหลัก

ด้วยเหตุนี้จึงมีเมืองท่าสำคัญเกิดขึ้นหลายแห่งตามฝั่งตะวันตกของแหลมมลายู เป็นแหล่งเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในระยะแรกหรือตลาดใหญ่ที่มีเรือสินค้าติดต่อและจอดรอลมมรสุมพัดกลับตามท่าต่างๆ นั้น บางแห่งก็ถูกชาวต่างชาติยึดครองตั้งสถานีการค้าในเมืองท่านั้นกว่าจะหลุดพ้นสิทธิอำนาจนอกอาณาเขตมาเป็นเมืองที่มีอิสรภาพทางการปกครองทางการค้าได้นั้นก็ใช้เวลายาวนานมาก

บางแห่งก็ยังคงถูกยึดครองอยู่หรือไม่ก็ตกเป็นพื้นที่ของประเทศใหม่โดยมีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่

การเคลื่อนตัวทางวัฒนธรรมและศาสนานั้นได้ทำให้เมืองต่างในแถบอินโดจีน รับเอาศาสนาวิทยาการที่เป็นรูปแบบของอินเดีย รูปแบบของจีนเข้าไปจัดสรรในเมืองจนเกิดวัฒนธรรมของตนขึ้น

สรุปให้เห็นภาพชัดก็คือ ดินแดนอินโดจีนนี้ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีกษัตริย์ครองเมืองและมีศาสนาฮินดู –พราหมณ์ และศาสนาพุทธ เป็นหลักดังปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีอยู่หลายแห่ง ที่มีการสร้างเทวสถานบูชาพระผู้เป็นเจ้าในศาสนาฮินดู-พราหมณ์ขึ้นก่อน




ต่อมาก็มีพุทธสถานสำคัญแพร่หลายในประเทศแถบอินโดจีนอันเป็นผลที่ทำให้ผู้คนในแถบอินโดจีนนั้นสามารถเชื่อมโยงความเชื่อและมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่คล้ายกันและมีความสัมพันธ์กันทางพุทธธรรม คัมภีร์ของพระผู้เป็นเจ้า แม้จะมีศาสนาอิสลาม คริสต์ศาสนาเกิดขึ้นในระยะต่อมาก็สามารถผสมกลมกลืนอยู่ร่วมกันได้ในที่สุด

ดังนั้นวัฒนธรรมของความเป็นอินโดจีนในบริบททางวัฒนธรรมนั้นจึงมีศาสนาเป็นจุดประสานให้ทุกชนชาติและประเทศในแถบอินโดจีนได้หันหน้าเข้าหากันมีไมตรีต่อกันช่วยเหลือกันซึ่งมีชุมชนหลายแห่งที่สามารถอยู่ร่วมกันได้ทั้งผู้นับถือพราหมณ์ พุทธ คริสต์ อิสลาม บางแห่งมีโบสถ์ของตนอยู่ใกล้ชิดติดกันอย่างน่าประทับใจ

ผู้คนอินโดจีนนั้นแม้จะมีความต่างทางศาสนาก็สามารถหลอมรวมเป็นวัฒนธรรมเดียวกันได้ แม้แต่วิถีชีวิตของชนเผ่าที่เหลืออยู่น้อยก็ปรับปรนไปตามสิ่งแวดล้อม โดยความเคยชินตามธรรมชาติสร้างความสุขได้

ส่วนชนเผ่ากลุ่มน้อยนี้แม้จะเคยเป็นชนชาติกลุ่มใหญ่มาก่อนในอินโดจีนแต่ด้วยเหตุที่มีความเจริญจากวัฒนธรรมอำนาจเข้ามาเปลี่ยนแปลงให้เป็นชุมชนเมืองและมีการชิงเอาทรัพยากรในพื้นที่ใช้ประโยชน์คือสร้างการค้าขายให้เป็น “เศรษฐกิจ” ของเมืองนั้นได้ทำให้ชนเผ่าพากันกระจัดกระจายพายพลัดให้กลายเป็นคนกลุ่มน้อย

ชนพื้นเมืองโบราณที่พอเห็นอยู่ในแถบอินโดจีนนั้นมีอยู่หลายกลุ่ม เช่นแขกจาม มอญ ลั๊วะ ไทยลื้อ ถิ่น ม้ง ลีซอ อาข่า มูเซอร์ เย้า ข่า ขมุ ชอง ซาไก อีบานพิดายุ ฯลฯ ซึ่งต่างแยกย้ายกันอยู่ในพื้นที่ของประเทศต่างๆ นับวันจะถูกรวมเป็นเผ่าพันธุ์ใหม่ที่ผสานผสานจากหลายเชื้อชาติ หากยังเป็นเผ่าพันธุ์เดิมอยู่ก็อาจจะสูญพันธ์ได้ในที่สุด

ในบริบททางวัฒนธรรมอินโดจีนนั้นจึงแตกต่างกับอินโดจีนในบริบทเศรษฐกิจ เมื่อประเทศที่มีอำนาจทางการค้ามากขึ้นการมองเส้นทางของอินโดจีนจึงเป็นการสานต่อเส้นทางตลาดที่จะนำทรัพยากรและความเจริญถึงกันในภูมิภาคนี้ โดยถือว่าเป็นประเทศเคยรับเอาอารยธรรมของอินเดียโบราณเช่นเดียวกัน คือมีกษัตริย์ครองแผ่นดิน

ปัจจุบันความเป็นอินโดจีนได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การเชื่อมสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมที่เคยเคลื่อนตัวอย่างสะดวกสบายนั้นจำเป็นต้องมีการเปิดประตูสู่อินโดจีนใหม่ เพราะต่างมีบริบทใหม่ทางเศรษฐกิจ การปกครองและการเมือง ที่แตกต่างกัน และสร้างความยากลำบากยิ่งขึ้น


โดย พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ “หมายเหตุอินโดจีน” 14 พฤศจิกายน 2547
(คุณพลาดิศัย สิทธิธัญกิจ เป็นนักวิชาการประวัติศาสตร์-โบราณคดีแห่งศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาไทยและเป็นสมาชิก “กลุ่มอุษาคเณย์” คอลัมน์ “หมายเหตุอินโดจีน” จะตีพิมพ์เป็นประจำทุกวันจันทร์)
 
ข่าว และบทความที่เกี่ยวข้อง
แม่น้ำโขง สายน้ำในตำนาน
แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำสายใหญ่ของโลกที่มีความยาวประมาณ 4,900 กิโลเมตร ยาวเป็นอันดับ 10 ของโลก มีต้นน้ำอยู่บนภูเขาจี้ฟู

  กรอบความร่วมมือ GMS
เป็นความร่วมมือของ 6 ประเทศ คือ ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีนตอนใต้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535
ไทยประตูสู่อินโดจีน
ประเทศไทย ศูนย์กลางเส้นทางเชื่อมโยงเที่ยวประเทศเพื่อนบ้าน ลาว เวียดนาม กัมพูชา และพม่า
     
 
ที่มาของภาพ และข้อมูล
หนังสือพิมพ์: ASTV ผู้จัดการออนไลน์
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กระทรวงการต่างประเทศ

 
:: ประตูสู่อินโดจีน
ข้อมูลแม่น้ำโขง
อินโดจีน
ไทยประตูสู่อินโดจีน
เมืองชายแดนประเทศไทย
โปรโมชั่นลุ่มแม่น้ำโขง
การเดินทาง
กรอบความร่วมมือ GMS
ข่าว บทความ ไทยประตูสู่อินโดจีน
ปลายทางอินโดจีน
   ลาว > หลวงพระบาง-เวียงจันทน์
   ลาวใต้ > ปากเซ
   จีนตอนใต้ > สิบสองปันนา นครคุนหมิง
   เวียดนามเหนือ > ฮานอย ฮาลอง
   เวียดนามกลาง > เว้ ดานัง ฮอยอัน
   เวียดนามใต้ > โฮจิมินห์ซิตี้ ดาลัต มุยเน่
   เมียนมาร์ > ย่างกุ้ง หงสาวดี อินทร์แขวน สิเรียม
   เมียนมาร์ > มัณฑะเลย์ พุกาม อินเล
   กัมพูชา > เสียมราฐ นครวัด นครธม
   กัมพูชา > พะตะบอง พนมเปญ

เส้นทางท่องเที่ยว อินโดจีน
ปฏิทินท่องเที่ยว
สัมผัสอารยธรรมลุ่มแม่น้ำโขง
บันทึกความทรงจำ
รีวิวที่พัก โฮมสเตย์ รีสอร์ท
รีวิวที่กิน ร้านอาหาร
ห้องภาพ

 
A2
A3
 
:: Banner tour 1
 
:: Banner tour 2
 

 
 
 
 
 
เมืองชายแดนไทย-ลาว เมืองชายแดนไทย-ลาว/กัมพูชา-เวียดนาม เมืองชายแดนไทย-กัมพูชา เมืองชายแดนไทย-พม่า ข้อมูลการเดินทาง
ภูดู่, จ.อุตรดิตถ์
ห้วยโกร๋น, จ.น่าน
บ้านฮวก, จ.พะเยา
เชียงของ, จ.เชียงราย
ท่าลี่, จ.เลย
จ.หนองคาย 
จ.บึงกาฬ
จ.อำนาจเจริญ
จ.อุบลราชธานี
จ.นครพนม
จ.มุกดาหาร
จ.อุบลราชธานี
จ.หนองคาย
ภูดู่, จ.อุตรดิตถ์
เชียงของ, จ.เชียงราย
อรัญประเทศ, จ.สระแก้ว
จ.ศรีสะเกษ
จ.สุรินทร์
จ.บุรีรัมย์
อรัญประเทศ, จ.สระแก้ว
จ.จันทบุรี
บ้านหาดเล็ก, จ.ตราด
แม่สาย, จ.เชียงราย
จ.เชียงใหม่
จ.แม่ฮ่องสอน
แม่สอด, จ.ตาก
จ.กาญจนบุรี
จ.ประจวบคีรีขันธ์
จ.ระนอง
เอกสารการเดินทาง
รถยนต์โดยสารระหว่างประเทศ
         
ลาว เวียดนาม กัมพูชา พม่า จีนตอนใต้
ที่พัก หลวงพระบาง
ที่พัก นครเวียงจันทน์
ที่พัก วังเวียง
ที่พัก จำปาสัก
ที่พัก ไชยะบุรี
ที่พัก เดียนเบียนฟู
ที่พัก กว๋างนิง
ที่พัก ฮานอย ฮาลอง
ที่พัก เว้
ที่พัก ดานัง
ที่พัก ฮอยอัน
ที่พัก โฮจิมินห์ซิตี้ ดาลัต มุยเน่
ที่พัก เสียมราฐ
ที่พัก พนมเปญ
ที่พัก พะตะบอง
ที่พัก เกาะกง
ที่พัก กรุงสีหนุวิลล์
ที่พัก เชียงตุง
ที่พัก เมืองลา
ที่พัก เมียวดี
ที่พัก ย่างกุ้ง
ที่พัก มัณฑะเลย์
ที่พัก พุกาม
ที่พัก อินเล
ที่พัก สิบสองปันนา
ที่พัก คุนหมิง
   
ที่พัก เมืองชายแดนไทย
ไทย-ลาว และจีนตอนใต้
ไทย-ลาว/กัมพูชา-เวียดนาม
ไทย-กัมพูชา
ไทย-พม่า
   
         
ตั๋วเครื่องบิน โรงแรม ที่พัก โฮมสเตย์ รีสอร์ท  แพคเกจทัวร์ รถเช่า  อินเตอร์เน็ตและโทรข้ามแดน
ในประเทศ
ต่างประเทศ 
เมืองชายแดนไทย
ลาว
จีนตอนใต้
เวียดนาม
กัมพูชา
พม่า
เมืองชายแดนไทย
ลาว
จีนตอนใต้
เวียดนาม
กัมพูชา
พม่า
ในประเทศ
ต่างประเทศ 
ในประเทศ
ต่างประเทศ