เกี่ยวกับเรา | บริการ | ลงโฆษณา | พันธมิตรกับเรา | สะสมแต้ม | ออกแบบเว็บไซต์
 
           
 
:: ปลายทางอินโดจีน
ลาว
จีนตอนใต้
เวียดนาม
กัมพูชา
เมียนมาร์
 
เกี่ยวกับเรา
สำหรับผู้ประกอบการ
   โฆษณากับเรา
   พันธมิตรกับเรา
   สะสมแต้ม โลตัสพลัส

หลวงพระบาง เวียงจันทน์ จำปาสัก ฮานอย ฮาลอง
สิบสองปันนา ย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ เสียมเรียบ โฮจิมินห์ซิตี้ เว้ ดานัง ฮอยอัน
 
:: ประตูสู่อินโดจีน
ข้อมูลแม่น้ำโขง
อินโดจีน
โปรโมชั่นลุ่มแม่น้ำโขง
การเดินทาง
ไทยประตูสู่อินโดจีน
กรอบความร่วมมือ GMS
ข่าว บทความ ไทยประตูสู่อินโดจีน
ปลายทางอินโดจีน
   ลาว > หลวงพระบาง-เวียงจันทน์
   ลาวใต้ > ปากเซ
   จีนตอนใต้ > สิบสองปันนา นครคุนหมิง
   เวียดนามเหนือ > ฮานอย ฮาลอง
   เวียดนามกลาง > เว้ ดานัง ฮอยอัน
   เวียดนามใต้ > โฮจิมินห์ซิตี้ ดาลัต มุยเน่
   เมียนมาร์ > ย่างกุ้ง หงสาวดี อินทร์แขวน สิเรียม
   เมียนมาร์ > มัณฑะเลย์ พุกาม อินเล
   กัมพูชา > เสียมเรียบ นครวัด นครธม
   กัมพูชา > พะตะบอง พนมเปญ

เส้นทางท่องเที่ยว อินโดจีน
ปฏิทินท่องเที่ยว
สัมผัสอารยธรรมลุ่มแม่น้ำโขง
บันทึกความทรงจำ
รีวิวที่พัก โฮมสเตย์ รีสอร์ท
รีวิวที่กิน ร้านอาหาร
ห้องภาพ

 
A1
A2
 
:: Banner tour 1
 



หน้าแรก > อินโดจีน > สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว :
The Lao People's Democratic Republic
 
ภาพโดย : www.facebook/YoYing Sopa, www.facebook/Iamnekojung Meaw, www.tourismlaos.org
ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป

ที่ตั้ง ตั้งอยู่ทางหนือของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ทิศเหนือติดกับจีน
ทิศตะวันตกติดกับพม่าและไทย
ทิศตะวันตกติดกับเวียดนาม และ
ทิศใต้ติดกับกัมพูชา
เป็นประเทศเดียวในภูมิภาคที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล

พื้นที่ 236,880 ตร.กม. (1/2 เท่าของประเทศไทย)
เมืองหลวง นครหลวงเวียงจันทน์ (Vientiane)
ประชากร ประมาณ 6 ล้านคน (2552)
ภูมิอากาศ ทางตอนเหนือมีภูมิอากาศเย็น
ทางตอนกลางและตอนใต้คล้ายคลึงกับประเทศไทย
ภาษา ภาษาลาว
ศาสนา ศาสนาพุทธ (เถรวาท) ร้อยละ 75 และนับถือผี ร้อยละ 16-17
วันชาติ 2 ธันวาคม (2518)
วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย 19 ธันวาคม 2493

การเมืองการปกครอง
รูปแบบการปกครอง ระบอบสังคมนิยม โดยมีพรรคประชาชนปฏิวัติลาวเป็นองค์กรการเมืองสูงสุดชี้นำการบริหารประเทศ
ประมุข
พลโท จูมมาลี ไซยะสอน (Lt. Gen. Choummaly Sayasone) ประธานประเทศ สปป. ลาว (President of the Lao PDR)
หัวหน้ารัฐบาล
นายทองสิง ทำมะวง นายกรัฐมนตรี

เขตการปกครอง 16 แขวง ได้แก่ พงสาลี หลวงน้ำทา บ่อแก้ว หัวพัน หลวงพระบาง เชียงขวาง อุดมไซ ไซยะบุลี เวียงจัน บอลิคำไซ คำม่วน สะหวันนะเขต สาละวัน จำปาสัก เซกอง อัดตะปือ และ 1 นครหลวง (นครหลวงเวียงจันทน์) แขวงที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุด คือ แขวงสะหวันนะเขต (21,774 ตารางกิโลเมตร) แขวงที่มีพื้นที่เล็กที่สุด คือ นครหลวงเวียงจันทน์ (3,960 ตารางกิโลเมตร)


เศรษฐกิจการค้า
หน่วยเงินตรา กีบ (1 บาท เท่ากับประมาณ 250 กีบ) (2553)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ 4.01 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2551)
รายได้ประชาชาติต่อหัว 835 ดอลลาร์สหรัฐ (2551)
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 7.9 (2551)
สินค้านำเข้าสำคัญ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องอุปโภคบริโภค
สินค้าส่งออกสำคัญ ไม้ซุง ไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ไม้ สินแร่ เศษโลหะ ถ่านหิน เสื้อผ้าสำเร็จรูป
 
ธงชาติแห่ง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 
มีลักษณะเป็นแถบสีแดง น้ำเงินเข้ม แดงตามแนวนอน มีรูปพระจันทร์สีขาวอยู่ตรงกลางแถบสีน้ำเงิน เริ่มใช้มาตั้งแต่ 2 ธันวาคม 2518
สัญลักษณ์แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 
มีลักษณะเป็นรูปวงกลมข้างล่างเป็นรูปเฟืองจักรกล และแถบผ้าสีแดงที่บันทึกด้วยอักษรว่า "สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว" ปีกทั้งสองข้างประดับด้วยรวงข้าวที่ผูกผ้าแถบสีแดงที่บันทึกตัวอักษรว่า "สันติภาพ เอกราช ประชาธิปไตย เอกภาพ วัฒนาถาวร" ตรงกลางระหว่างรวงข้าวทั้งสองเป็นรูปพระธาตุหลวงถนน นาข้าว ป่าไม้ และเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้า
   

ที่มา: http://www.lib.utexas.edu/

สปป.ลาว มีเส้นเขตแดนติดต่อกับประเทศไทย ยาวประมาณ 1,810 กิโลเมตร (ทางบก 702 กิโลเมตร ทางน้ำ 1,108 กิโลเมตร) ซึ่งประกอบด้วย 11 จังหวัดของไทย ได้แก่ เชียงราย พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เลย หนองคาย นครพนม อำนาจเจริญ มุกดาหาร และอุบลราชธานี ซึ่งติดต่อกับ 9 แขวง (จังหวัด)ของสปป.ลาว ได้แก่ บ่อแก้ว ไชยะบุลี เวียงจันทน์ นครหลวงเวียงจันทน์ บอลิคำไซ คำม่วน สะหวันนะเขต สาละวัน และจำปาสัก

ในอดีตพื้นที่ของสปป. ลาวเป็นรัฐจารีตที่มีชื่อว่า “อาณาจักรล้านช้าง” มี การปกครองด้วยระบอบกษัตริย์ มีความสัมพันธ์กับสยามตั้งแต่โบราณตั้งแต่ยังไม่มีเส้นแบ่งอาณาเขตเป็นรัฐ ชาติอย่างในปัจจุบัน ดังนั้นกลุ่มชนทั้งสองฝั่งโขงจึงเป็น “เครือญาติ” ที่มีความสัมพันธ์ที่แนบแน่น ไปมาหาสู่กันแลกเปลี่ยนสินค้าและวัฒนธรรมอย่างเสรี ดังที่คนสองฝั่งโขงเคยได้ยินคำพูดที่กล่าวกันอยู่เสมอว่า “กินน้ำร่วมท่า กินปลาร่วมห้วย กินกล้วยร่วมหวี กินปลีร่วมกาบ อาบน้ำร่วมวัง

ภูมิประเทศ
เนื่องด้วยสปป.ลาวมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและที่ราบสูงอยู่ทางตอนเหนือและ ตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศ (ยอดเขาสูงที่สุดในลาวคือ ภูเบี้ย (Phu Bia) อยู่ในแขวงเชียงขวาง (Xiangkhoang) ระดับความสูง 2,820 เมตร จากระดับน้ำทะเล ซึ่งสูงกว่าดอยอินทนนท์ 700 ฟุต) ซึ่งทางด้านตะวันออกเป็นแนวภูเขายาวตั้งแต่เหนือจรดใต้ จากภูมิประเทศเช่นนี้ทำให้สปป.ลาว มีแม่น้ำที่เกิดจากแนวภูเขาด้านทิศตะวันออกเป็นจำนวนมาก แม่น้ำเหล่านี้จะไหลผ่านป่าเขาลำเนาไพร ลงมาสู่พื้นที่ราบทางทิศตะวันตกและไหลลง
แม่น้ำโขง(1) หรือ“แม่น้ำของ” ตามภาษาลาว อันเป็นแม่น้ำสายสำคัญของประเทศ ตลอดสายมีความยาวประมาณ 4,500 กิโลเมตร มีต้นกำเนิดจากที่ราบสูงทิเบตในประเทศจีนไหลผ่านมณฑลยูนนานของจีน ลงมาทางใต้ผ่านลาว พม่า ไทย กัมพูชา และเวียดนาม ก่อนลงสู่ทะเล ความยาวของแม่น้ำโขงส่วนที่ไหลผ่านลาวจากเหนือถึงใต้ประมาณ 1,898 กิโลเมตร รวมถึงยังมีลำน้ำสายต่างๆ ไหลลงสู่แม่น้ำโขงอีก 13 สาย ได้แก่
ลำน้ำทา ลำน้ำแบ่ง ลำน้ำอู ลำน้ำเชียง ลำน้ำคาน ลำน้ำงึม  ลำน้ำเงียบ ลำน้ำซัน ลำน้ำกระดิง ลำน้ำเซบังไฟ ลำน้ำเซบังเหียง ลำน้ำเซโดน และลำน้ำเซกอง อีกทั้งยังมีสาขาเล็กๆ อีกมากมาย เช่น ลำน้ำเทิน ลำน้ำมูน
ลำน้ำแซง ฯลฯ ซึ่งแม่น้ำเหล่านี้นอกจากจะเอื้ออำนวยแก่การประกอบอาชีพทางการเกษตร และใช้หล่อเลี้ยงชีวิตของผู้คนในประเทศแล้ว ยังใช้เป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าได้กว่า 57 เขื่อน สามารถผลิตกำลังไฟฟ้าได้
ไม่ต่ำกว่า 18,000 เมกกะวัตต์ จำหน่ายให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านไม่ว่าจะเป็นไทย จีน และเวียดนาม

ภูมิอากาศ
สปป.ลาวมีสภาพภูมิอากาศแบบเขตร้อน โดยรวมคล้ายภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของไทย แต่เนื่องด้วยสปป.ลาว มีความแตกต่างด้านภูมิศาสตร์ในแต่ละภาคทำให้สภาพภูมิอากาศมีความแตกต่างกัน อย่างชัดเจนโดยทั่วไปมีอุณหภูมิเฉลี่ยราว 29-33 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุด 10 องศาเซลเซียส ในบริเวณภูเขาสูง ทางภาคเหนือ ตลอดทั้งปี สปป.ลาว มี 2 ฤดู คือ

ฤดูร้อน (พฤศจิกายน – เมษายน) อุณหภูมิแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน อุณหภูมิเฉลี่ยที่เวียงจันทน์ 19-25 องศาเซลเซียส (มกราคม) และ 36 – 38 องศาเซลเซียส (เมษายน)(3) แต่ขณะที่เดือนมกราคมของบริเวณภูเขาสูงอุณหภูมิต่ำลงถึง 14-15 องศาเซลเซียสในเวลากลางวัน และในเวลากลางคืนต่ำสุดจนกระทั่งถึงจุดเยือกแข็ง

ฤดูฝน (พฤษภาคม – ตุลาคม)  ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,715 มิลลิเมตรต่อปี ระดับความชื้นร้อยละ 70-80 ซึ่งพื้นที่ตอนกลางและทางใต้ของประเทศมีฝนตกชุกมากกว่าทางเหนือ คือ ปริมาณน้ำฝนตลอดปีในบริเวณภาคใต้มากกว่า 3,000 มิลลิเมตร ขณะที่บริเวณภาคเหนือประมาณ 1,000-1,500 มิลลิเมตร(4)

แม้ ว่าจะอยู่ในกลุ่มประเทศยากจน แต่ด้วยสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ ทำให้สปป. ลาวร่ำรวยด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติทั้งบนดินและใต้ดิน มีพื้นที่ป่าไม้จำนวนมาก หลากหลายทางชีวภาพ มีพื้นที่เกษตรที่ยังอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเพาะปลูกข้าว ข้าวโพด ยาสูบ มันสำปะหลัง ใต้ดินมีแร่ธาตุประเภท ดีบุก ยิปซั่ม ตะกั่ว หินเกลือ เหล็ก ถ่านหิน แบไรท์ ลิกไนท์ โปแตส สังกะสี ทองคำ ทองแดง พลอย อัญมณี หินอ่อน น้ำมัน(ในภาคกลางและภาคใต้)  และถ่านหินคุณภาพเยี่ยม 


ศาสนาและวัฒนธรรม
ประชากรลาวประมาณร้อยละ 75 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 16-17 นับถือผี(Animism) ซึ่งเป็นความเชื่อดั้งเดิมตามแต่ละท้องถิ่นที่เหลือเป็นคริสต์ มุสลิม และอื่นๆ(1) แม้ว่าทางรัฐบาลลาวให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา แต่พุทธศาสนาแบบเถรวาท ได้นำมาสร้างอำนาจความชอบธรรมในการปกครองของรัฐและเป็นแบบแผนหลักของ วัฒนธรรมลาวซึ่งปรากฏให้เห็นทั่วประเทศ ทั้งในด้านภาษา ศิลปะ วรรณคดี วิถีชีวิตการเป็นอยู่ ทำให้ลาวมีประเพณีวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกับไทย เห็นได้จากวันและเทศกาลสำคัญต่างๆ ตามจารีตประเพณีของลาวจะเรียกว่า “ฮีดสิบสองคองสิบสี่ ฮีดยี่คองเจียง” ซึ่งบางวันรัฐบาลได้กำหนดให้เป็นวันหยุดสำคัญของทางราชการได้แก่ วันสงกรานต์ปีใหม่ลาว วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา และวันมาฆบูชา โดยวันสำคัญดังกล่าวจะถูกกำหนดตามปฏิทินจันทรคติ ดังนี้ เดือน 3 วันมาฆบูชา มีงานฉลองพระธาตุอิงฮังที่แขวงสะหวันนะเขต และงานวัดภูจำปาสักเดือน 5 วันสงกรานต์ปีใหม่ลาว เดือน 6 วันวิสาขบูชาเดือน 8 วันเข้าพรรษา และอาสาฬหบูชา เดือน 9 บุญข้าวประดับดิน เดือน 10 บุญข้าวฉลาก เดือน 11 ออกพรรษา งานแข่งเรือ ที่นครเวียงจันทน์เดือน 12 บุญพระธาตุหลวงเวียงจันทน์


การค้าชายแดนระหว่าง สปป.ลาว และไทย

จังหวัดชายแดนที่ติดต่อกับลาว มี ๑๑ จังหวัด คือ เชียงราย พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี

การค้าชายแดน(1) หมายถึง การค้าที่เกิดขึ้นในรูปแบบต่างๆ ของประชาชน หรือผู้ประกอบการที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัด อำเภอ หมู่บ้าน ที่มีเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน ทำการซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกัน การค้าชายแดนลาว – ไทย สามารถแบ่งได้ออกเป็นสองประเภท คือ

การค้าในระบบ หมายถึง การค้าที่นำสินค้าเข้าออกตามชายแดน โดยผ่านพิธีศุลกากร
การค้านอกระบบ หมายถึง การลักลอบค้าขาย โดยอาศัยช่องทางความสะดวกของภูมิประเทศ โดยไม่ผ่านพิธีศุลกากร

จุดการค้าและเส้นทางการค้าชายแดนไทย-ลาว มีแนวเขตแดนซึ่งใช้เป็นเขตติดต่อกับจังหวัดชายแดน คือ หนองคาย มุกดาหาร อุบลราชธานี นครพนม เลย น่าน พะเยา อุตรดิตถ์ เชียงราย พิษณุโลก และอำนาจเจริญ โดยผ่านช่องทางการค้าชายแดนจำนวน 40 แห่ง เป็นจุดผ่านแดนถาวร 14 แห่ง จุดผ่านแดนชั่วคราว 1 แห่ง และจุดผ่อนปรน 25 แห่ง ดังนี้

(1) กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

จุดผ่านแดนถาวร มี 14 แห่ง ได้แก่

ด่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว บ้านเหล่าจอมมณี ตำบลมีชัย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย- เมืองหาดทรายฟอง นครหลวงเวียงจันทน์

ด่านท่าเสด็จ ท่าเรือหายโศก อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย - ด่านท่าเดื่อ เมืองหาดทรายฟอง

ด่านบึงกาฬ อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย-เมืองปากซัน แขวงบอลิคำไซ (เส้นทางไปเวียดนาม ตามถนนหมายเลข 8)

ด่านช่องเม็ก อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี-บ้านวังเต่า เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก

ด่านบ้านปากแซง กิ่งอำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี-บ้านปากตะพาน เมืองละคอนเพ็ง แขวงสาละวัน

ด่านอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม - เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน

ด่านอำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร - เมืองคันทะบุรี แขวงสะหวันนะเขต

ด่านอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย - เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว

ด่านอำเภอเชียงแสน อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย - เมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว

ด่านบ้านปากห้วย ตำบลหนองผือ อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย - เมืองแก่นท้าว แขวงไชยะบุรี

ด่านบ้านเชียงคาน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย - เมืองสานะคาม แขวงเวียงจันทน์

ด่านบ้านคกไผ่ ตำบลปากชม อำเภอปากชม จังหวัดเลย – บ้านวัง เมืองสานะคาม แขวงเวียงจันทน์

ด่านบ้านนากระเซ็ง ตำบลอาฮี อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย – บ้านเมืองหม้อ เมืองแก่นท้าว แขวงไชยะบุรี

ด่านบ้านห้วยโก๋น อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน – บ้านน้ำเงิน เมืองเงิน แขวงไชยะบุรี

ด่านภูดู่ อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ - ด่านผาแก้ว แขวงไชยะบุรี

 
ข่าว และบทความที่เกี่ยวข้อง
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเวียงจันทน์
นครหลวงเวียงจันทน์ แขวงเวียงจันทน์ แขวงไซยะบูลี แขวงหลวงพระบาง แขวงอุดมไซ แขวงบ่อแก้ว แขวงหลวงน้ำทา
  สถานกงสุลใหญ่ ณ แขวงสะหวันนะเขต
แขวงสะหวันนะเขต แขวงจำปาสัก แขวงคำม่วน แขวงเซกอง แขวงสาละวัน แขวงอัตตะปือ
ไทยประตูสู่อินโดจีน
ประเทศไทย ศูนย์กลางเส้นทางเชื่อมโยงเที่ยวประเทศเพื่อนบ้าน ลาว เวียดนาม กัมพูชา และพม่า
  กรอบความร่วมมือ GMS
เป็นความร่วมมือของ 6 ประเทศ คือ ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีนตอนใต้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535
         
ไทยประตูสู่อินโดจีน
ภูดู่ จ.อุตรดิตถ์ ประตูสู่ล้านช้าง
เส้นทาง ภูดู่ จ.อุตรดิตถ์-ไชยะบุรี-หลวงพระบาง/ ภูดู่ จ.อุตรดิตถ์-ปากลาย -เวียงจันทร์
 
ห้วยโก๋น-เมืองเงิน ไชยะบุลี หลวงพระบาง
ห้วยโก๋น-เมืองเงิน ไชยะบุลี หลวงพระบาง
 
บ้านฮวก จ.พะเยา-เมืองคอบ หงสา ไชยะบุรี หลวงพระบาง
บ้านฮวก-เมืองคอบ หงสา ไชยะบุรี หลวงพระบาง
 
อุดรฯ-หนองคาย-เวียงจันทน์
ท่องเที่ยววัฒนธรรม ชมถิ่นงามเมืองลำน้ำโขง อุดรฯ-หนองคาย-เวียงจันทน์ ..
 
มุกดาหาร-สะหวันนะเขต(ลาว)
มุกดาหาร-สะหวันนะเขต(ลาว)

 
     
เชียงแสน - สุวรรณโคมคำ
แอ่วเชียงราย ไปเมืองลาว ย้อนอดีต เชียงแสน - สุวรรณโคมคำ

 
เชียงของ - ห้วยทราย - ปากแบ่ง - หลวงพระบาง
ล่องเรือแม่น้ำโขง ไปหลวงพระบาง (ลาว) ..
 
เบิ่งเลย...แลลาว
เลย-เชียงคาน-หนองคาย-เวียงจันทน์-วังเวียง-หลวงพระบาง-ทุ่งไหหิน ..

 
อุบล – ลาวตอนใต้
อุบล – ปากเซ - วัดพู มรดกโลก - หลี่ผี - คอนพะเพ็ง - อุทยานบาเจียง - ตาดฟาน - ตลาดดาวเรือง ..
 
นครพนม - คำม่วน(ลาว) นครพนม - คำม่วน(ลาว)

 
     
   
 
ที่มาของภาพ และข้อมูล
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเวียงจันทน์
สถานกงสุลใหญ่ ณ แขวงสะหวันนะเขต
ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
กระทรวงการต่างประเทศ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอาเซียน กรมประชาสัมพันธ์
 
 
 
 
 
เมืองชายแดนไทย-ลาว เมืองชายแดนไทย-ลาว/กัมพูชา-เวียดนาม เมืองชายแดนไทย-กัมพูชา เมืองชายแดนไทย-พม่า ข้อมูลการเดินทาง
เชียงของ, จ.เชียงราย
ภูดู่, จ.อุตรดิตถ์
ห้วยโกร๋น, จ.น่าน
บ้านฮวก, จ.พะเยา
ท่าลี่, จ.เลย
จ.หนองคาย 
จ.บึงกาฬ
จ.อำนาจเจริญ
จ.อุบลราชธานี
จ.มุกดาหาร
จ.นครพนม
จ.อุบลราชธานี
จ.หนองคาย
ภูดู่, จ.อุตรดิตถ์
เชียงของ, จ.เชียงราย
อรัญประเทศ, จ.สระแก้ว
อรัญประเทศ, จ.สระแก้ว
จ.ศรีษะเกษ
จ.จันทบุรี
จ.สุรินทร์
บ้านหาดเล็ก, จ.ตราด
แม่สาย, จ.เชียงราย
แม่สอด, จ.ตาก
จ.กาญจนบุรี
จ.ประจวบคีรีขันธ์
จ.ระนอง
เอกสารการเดินทาง
รถยนต์โดยสารระหว่างประเทศ
         
ลาว เวียดนาม กัมพูชา พม่า จีนตอนใต้
หลวงพระบาง
นครเวียงจันทน์
วังเวียง
จำปาสัก
ไชยะบุรี
เดียนเบียนฟู
กว๋างนิง
ฮานอย ฮาลอง
เว้
ดานัง
ฮอยอัน
โฮจิมินห์ซิตี้ ดาลัต มุยเน่
เสียมเรียบ
พนมเปญ
พะตะบอง
เกาะกง
กรุงสีหนุวิลล์
เชียงตุง
เมืองลา
เมียวดี
ย่างกุ้ง
มัณฑะเลย์
พุกาม
อินเล
สิบสองปันนา
นครคุนหมิง
         
เชื่อมโยงประเทศลาว เชื่อมโยงประเทศเวียดนาม เชื่อมโยงประเทศกัมพูชา เชื่อมโยงประเทศพม่า ข้อมูลการเดินทาง
เชียงของ, จ.เชียงราย
ภูดู่, จ.อุตรดิตถ์
ห้วยโกร๋น, จ.น่าน
บ้านฮวก, จ.พะเยา
ท่าลี่, จ.เลย
จ.หนองคาย 
จ.อุบลราชธานี
จ.มุกดาหาร
จ.นครพนม
อรัญประเทศ, จ.สระแก้ว
บ้านหาดเล็ก, จ.ตราด
แม่สอด, จ.ตาก
แม่สาย, จ.เชียงราย
เอกสารการเดินทาง
รถยนต์โดยสารระหว่างประเทศ
         
ลาว เวียดนาม กัมพูชา พม่า จีนตอนใต้
ที่พัก หลวงพระบาง
ที่พัก นครเวียงจันทน์
ที่พัก วังเวียง
ที่พัก จำปาสัก
ที่พัก ไชยะบุรี
ที่พัก เดียนเบียนฟู
ที่พัก กว๋างนิง
ที่พัก ฮานอย ฮาลอง
ที่พัก เว้
ที่พัก ดานัง
ที่พัก ฮอยอัน
ที่พัก โฮจิมินห์ซิตี้ ดาลัต มุยเน่
ที่พัก เสียมเรียบ
ที่พัก พนมเปญ
ที่พัก พะตะบอง
ที่พัก เกาะกง
ที่พัก กรุงสีหนุวิลล์
ที่พัก เชียงตุง
ที่พัก เมืองลา
ที่พัก เมียวดี
ที่พัก ย่างกุ้ง
ที่พัก มัณฑะเลย์
ที่พัก พุกาม
ที่พัก อินเล
ที่พัก สิบสองปันนา
ที่พัก คุนหมิง
   
ที่พัก เมืองชายแดนไทย
ไทย-ลาว และจีนตอนใต้
ไทย-ลาว/กัมพูชา-เวียดนาม
ไทย-กัมพูชา
ไทย-พม่า
   
         
ตั๋วเครื่องบิน โรงแรม ที่พัก โฮมสเตย์ รีสอร์ท  แพคเกจทัวร์ รถเช่า  อินเตอร์เน็ตและโทรข้ามแดน
ในประเทศ
ต่างประเทศ 
เมืองชายแดนไทย
ลาว
จีนตอนใต้
เวียดนาม
กัมพูชา
พม่า
เมืองชายแดนไทย
ลาว
จีนตอนใต้
เวียดนาม
กัมพูชา
พม่า
ในประเทศ
ต่างประเทศ 
ในประเทศ
ต่างประเทศ