หน้าแรก > มรดกโลกในประเทศไทย |
|
|
|
มรดกโลกในประเทศไทย (World Cultural Heritage) |
จุดหมายปลายทาง |
|
|
แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม ๓ แห่ง |
|
๑. เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร (พุทธศักราช ๒๕๓๔)
(Historic Town of Sukhothai and Associated Historic Towns, 1991) |
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ ๑๕ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๔ ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย โดยมีคุณสมบัติการเป็นมรดกโลกตรงตามหลักเกณฑ์ข้อที่ ๑ และข้อที่ ๓ ดังนี้
|
(i) |
เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์ |
|
(iii) |
เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรม หรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว |
|
|
โบราณสถานที่สำคัญ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
โบราณสถานกลางเมือง : วัดมหาธาตุ, วัดศรีสวาย, วัดสระศรี, วัดตระพังเงิน, วัดสรศักดิ์
โบราณสถานนอกกำแพงเมืองทางด้านทิศเหนือ : วัดพระพายหลวง, วัดศรีชุม, เตาทุเรียง,
โบราณสถานนอกกำแพงเมืองทางด้านทิศตะวันออก : วัดตะพังทองหลาง, วัดเจดีย์สูง, วัดช้างล้อม,
โบราณสถานนอกกำแพงเมืองทางด้านทิศใต้ : วัดเชตุพน, วัดเจดีย์สี่ห้อง, วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม,
โบราณสถานนอกกำแพงเมืองทางด้านทิศตะวันตก : วัดป่ามะม่วง, วัดสะพานหิน, สรีดภงส์ (ทำนบพระร่วง)
|
|
โบราณสถานที่สำคัญ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
โบราณสถานภายในกำแพงเมือง : วัดช้างล้อม, วัดช้างล้อม, วัดนางพญา
โบราณสถานนอกเมืองด้านทิศตะวันออก : วัดสวนสัก, วัดป่าแก้วหรือวัด ไตรภูมิป่าแก้ว
โบราณสถานนอกเมืองด้านทิศเหนือ : วัดกุฎีราย, กลุ่มเตาทุเรียงบ้านเกาะน้อย
โบราณสถานนอกเมืองด้านทิศตะวันตก : วัดพญาดำ, วัดพรหมสี่หน้า, วัดยายตา, วัดเจดีย์เจ็ดยอดหรือเจดีย์เก้ายอด, วัดสระปทุม
โบราณสถานนอกเมืองด้านทิศใต้ : วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ, วัดชมชื่น
|
|
โบราณสถานที่สำคัญ อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
โบราณสถานภายในกำแพงเมือง : วัดพระแก้ว, ศาลพระอิศวร, วังโบราณหรือสระมน,
โบราณสถานนอกกำแพงเมือง หรือเขตอรัญญิก
: วัดพระสี่อิริยาบถ, วัดพระสี่อิริยาบถ, วัดพระนอน, วัดช้างรอบ, วัดอาวาสใหญ่,
โบราณสถานเมืองนครชุม : วัดพระบรมธาตุ, วัดเจดีย์กลางทุ่ง, วัดหนองพิกุล, ป้อมทุ่งเศรษฐี
|
คุณค่าแห่งความเป็นมรดกโลก โบราณสถานที่สำคัญ
ปัจจุบันสุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร เป็นเมืองโบราณที่ปรากฏร่องรอยหลักฐานของอารยธรรมอันรุ่งเรืองในอดีต สะท้อนให้เห็นภาพของอาณาจักรสุโขทัยในความเป็น รุ่งอรุณแห่งความสุข เป็น ต้นกำเนิดของประวัติศาสตร์ชาติไทยที่ได้พัฒนาเป็นรัฐสำคัญของภูมิภาคเอเชีย อาคเนย์ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ๒๐ เป็นเวลานานประมาณ ๒๐๐ ปี ด้วยความโดดเด่นนี้เองส่งผลให้เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร ได้รับการอนุรักษ์และพัฒนาให้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์และได้รับการขึ้น ทะเบียนไว้ในบัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลก เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๔ ด้วยคุณค่าความโดดเด่นตามเกณฑ์มาตรฐาน ดังนี้
หลักเกณฑ์ข้อที่ ๑
เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์
หลักเกณฑ์ข้อที่ ๓
เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
โบราณวัตถุสถานที่ปรากฏอยู่ในเมืองประวัติศาสตร์ทั้ง ๓ เมืองนี้ แสดงให้เห็นถึงผลงานสร้างสรรค์อันล้ำเลิศของมนุษย์ ความงดงามอลังการของสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมสุโขทัย เป็นต้นแบบที่ส่งอิทธิพลให้ศิลปกรรมไทยในระยะต่อมา ความเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเฉพาะของเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ และพระพุทธรูปลีลา เป็นสิ่งยืนยันถึงความสำเร็จของศิลปกรรมไทยยุคแรกนี้ได้เป็นอย่างดี
เข้าสู่หน้า จังหวัดสุโขทัย >> |
More >> |
|
|
|
๒. นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา (พุทธศักราช ๒๕๓๔)
(Historic City of Ayutthaya, 1991) |
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดก จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ณ กรุงคาร์เธจ ประเทศตูซิเนีย เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๓๔ โดยมีคุณสมบัติการเป็นมรดกโลกตรงตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
|
(iii) |
เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรม หรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว |
|
โบราณสถานสำคัญ
เขต ๑ พื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์ : พระราชวังโบราณ, วัดพระศรีสรรเพชญ์, วัดมหาธาตุ, วัดราชบูรณะ, วัดพระราม, วิหารพระมงคลบพิตร
เขต ๒ พื้นที่เกาะเมืองนอกเขตอุทยานประวัติศาสตร์ : พระราชวังจันทรเกษม, วัดสุวรรณดาราราม,
เขต ๓ พื้นที่นอกเกาะเมืองด้านทิศตะวันออก : วัดพนัญเชิง, วัดใหญ่ชัยมงคล, วัดมเหยงคณ์, หมู่บ้านญี่ปุ่น, หมู่บ้านฮอลันดา
เขต ๔ พื้นที่นอกเกาะเมืองด้านทิศตะวันตก : วัดไชยวัฒนาราม , วัดวรเชษฐาราม,
เขต ๕ พื้นที่นอกเกาะเมืองด้านทิศเหนือ : วัดภูเขาทอง, วัดหน้าพระเมรุ, เพนียดคล้องช้าง
เขต ๖ พื้นที่นอกเกาะเมืองด้านทิศใต้ : วัดพุทไธศวรรย์, หมู่บ้านโปรตุเกส,
เขต ๗ พื้นที่นอกเหนือจากที่ระบุไว้แล้ว ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา : ปราสาทนครหลวง, วัดใหม่ประชุมพล, วัดชุมพลนิกายาราม,
|
|
คุณค่าแห่งความเป็นมรดกโลก
นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน ยังคงปรากฏร่องรอยแห่งความเจริญรุ่งเรืองของศิลป-วัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่ งดงาม และทรงคุณค่า สะท้อนให้รำลึกถึงภาพความโอ่อ่าสง่างามของปราสาทราชวังวัดวาอาราม ป้อมปราการ บ้านเรือนที่อยู่อาศัย ตลอดจนวิถีชีวิตของชาวกรุงศรีอยุธยาในอดีต นครประวัติศาสตร์แห่งนี้เป็นหลักฐานแสดงถึงความชาญฉลาดของชุมชนหนึ่ง นับตั้งแต่การเลือกที่ตั้งชุมชนในบริเวณที่มีแม่น้ำสามสายมาบรรจบกัน เพื่อให้เป็นแหล่งอาหาร และแหล่งเกษตรกรรมอันอุดมสมบรูณ์ พร้อมไปกับเป็นปราการธรรมชาติในการป้องกันข้าศึกศัตรูจากภายนอก นอกจากนั้นผลงานด้านสถาปัตยกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม ประณีตศิลป์ และวรรณกรรม ยังเป็นประจักษ์พยานแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดของอารยธรรมแห่งชุมชน หนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงเวลาระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๔ อีกด้วย
หลักฐานแห่งอารยธรรมของ ชาวกรุงศรีอยุธยาส่งผลให้นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ได้รับการเชิดชูคุณค่าไว้ในบัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลก ในประพุทธศักราช ๒๕๓๔ ด้วยหลักเกณฑ์มาตรฐานข้อที่ ๓ ดังนี้
เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
เข้าสู่หน้า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา >> |
More >> |
|
|
|
|
๓. แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง (พุทธศักราช ๒๕๓๕)
(Ban Chiang Archaeological Site, 1992) |
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พุทธศักราช ๒๕๓๕ จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๖ ที่เมืองแซนตาเฟ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีคุณสมบัติการเป็นมรดกโลกตรงตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
(iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง เป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญแห่งหนึ่ง อยู่ที่อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ที่ทำให้รับรู้ถึงการดำรงชีวิตในสมัยก่อนประวัตศาสตร์ ย้อนหลังไปกว่า ๔,๓๐๐ ปี ร่องรอยของมนุษย์ในประเทศไทยสมัยดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่มีพัฒนาการแล้วในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านความรู้ความสามารถหรือภูมิปัญญา อันเป็นเครื่องมือสำหรับช่วยให้ผู้คนเหล่านั้นสามารถดำรงชีวิต และสร้างสังคมวัฒนธรรมของมนุษย์ได้สืบเนื่องต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน
วัฒนธรรมบ้านเชียง ได้ครอบคลุมถึงแหล่งโบราณคดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกกว่าร้อยแห่งเป็นบริเวณพื้นที่ที่มีมนุษย์อยู่อาศัยหนาแน่นมาตั้งแต่หลายพันปีแล้ว ด้วยเหตุนี้เององค์การยูเนสโก ของสหประชาชาติจึงได้ยอมรับขึ้นบัญชีแหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียงไว้เป็นแห่งหนึ่งในบรรดามรดกโลก
|
|
คุณค่าแห่งความเป็นมรดกโลก
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง เป็นปรากฎการณ์สำคัญของอารยธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีความโดดเด่นที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นตัวแทนวิวัฒนาการด้านวัฒนธรรม สังคม และเทคโนโลยี ที่มีความเจริญรุ่งเรืองสืบทอดยาวนานกว่า ๕,๐๐๐ ปี ในช่วงเวลาระหว่าง ๓,๖๐๐ ปีก่อนคริสตศักราชถึงคริสตศักราช ๒๐๐ แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ได้รับการขึ้นทะเบียนไว้ในทะเบียนบัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลกแห่งอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก เมื่อปี พุทธศักราช ๒๕๓๕ ด้วยคุณค่าและความโดดเด่นตามหลักเกณฑ์มาตรฐานข้อที่ ๓ ดังนี้
เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
เข้าสู่หน้า จังหวัดอุดรธานี >> |
More >> |
|
|
|
แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ ๒ แห่ง |
|
๑. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่ห้วยขาแข้ง (พุทธศักราช ๒๕๓๔)
(Thungyai Huai Kha Khang Wildlife
Sanctuaries, 1991) |
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้ง ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๔ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้งนับเป็นสถานที่ธรรมชาติแห่งแรก ของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียออกเฉียงใต้ที่ได้เป็นมรดกโลก โดยมีคุณสมบัติการเป็นมรดกโลกตรงตามหลักเกณฑ์ข้อที่ ๘, ๙ และข้อที่ ๑๐ ดังนี้
|
(viii) |
เป็นตัวอย่างที่เด่น ชัด ในการเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ทางธรณีวิทยา หรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ เช่น ภูเขาไฟ เกษตรกรรมขั้นบันได |
(ix) |
เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา |
(x) |
เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิด สัตว์และพันธุ์พืชที่หายาก หรือที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความอุดมสมบูรณ์ของพืชและสัตว์ที่ทั่ว โลกให้ความสนใจด้วย |
|
|
|
|
คุณค่าแห่งความเป็นมรดกโลก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้ง นับเป็นผืนป่าอนุรักษ์ขนาดใหญ่ของประเทศ ที่เป็นตัวแทนแสดงลักษณะทางชีววิทยาที่สำคัญของผืนป่าในแผ่นดินใหญ่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นแหล่งรวมของความหลากหลายทางชีวภูมิศาสตร์ ถึง ๔ เขต คือ ไซโน-หิมาลายัน (Sino-Himalayan) อินโด-เบอร์มิส (Indo-burmese) อินโด-ไชนิส (Indo-chinese) และซุนเดอิก (Sundaic) รวมทั้งเป็นที่อยู่อาศัยของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่อุดมสมบูรณ์ทั้งเขต ที่ราบฝั่งตะวันออกในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร เป็นบริเวณที่โดดเด่นที่สุด เป็นตัวแทนระบบ นิเวศป่าเขตร้อนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความอุดมสมบูรณ์และปลอดภัยที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
|
More >> |
|
|
|
|
๒. ผืนป่าดงพญาเย็น เขาใหญ่ (พุทธศักราช ๒๕๔๘)
(Dong Phayayen Khao Yai Forest Complex, 2005) |
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ปางสีดา ทับลาน ตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงรัก ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ "ผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่"จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ ๒๙ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๘ ที่เมืองเดอร์บัน ประเทศแอฟริกาใต้ โดยมีคุณสมบัติการเป็นมรดกโลกตรงตามหลักเกณฑ์ ข้อที่ ๑๐ |
|
คุณค่าแห่งความเป็นมรดกโลก
แหล่งมรดกโลกเขาใหญ่ ดงพญาเย็นนั้น เป็นผืนป่าที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง โดยมีสภาพป่าแบบต่างๆ ตั้งแต่ ป่าดงดิบ ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และทุ่งหญ้า
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เป็นแหล่งที่มีชนิดพันธุ์ของพืชและสัตว์ที่ไม่สามารถพบได้ที่อื่นเป็นจำนวนมาก โดยในจำนวนพืชราว ๑๕,๐๐๐ ชนิดที่พบในประเทศไทย สามารถพบในแหล่งมรดกโลกนี้ถึง ๒,๕๐๐ ชนิด มีพืชเฉพาะผืนป่านี้ถึง ๑๖ ชนิด มีสัตว์ป่ากว่า ๘๐๐ ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ๑๑๒ ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำกว่า ๒๐๙ ชนิด นกกว่า ๓๙๒ ชนิด และเงือก ๔ ชนิด ใน ๖ ชนิดที่พบในประเทศไทย |
More>> |
|
|
|
ที่มาของภาพ และข้อมูล |
ศูนย์ข้อมูลมรดกโลก กระทรวงวัฒนธรรม
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอาเซียน กรมประชาสัมพันธ์ |