อินโดจีน > เวียดนาม > การเดินทาง |
|
|
|
ภาพโดย : www.facebook/YoYing Sopa,
www.facebook/Iamnekojung Meaw, www.tourismlaos.org
|
|
|
รวบรวมข้อมูลการเดินทางจากประเทศไทย ไป ประเทศเวียดนาม
นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางสู่เวียดนามได้หลายวิธี ทั้งทางรถยนต์ส่วนตัว รถประจำทาง รถไฟ และเครื่องบิน |
|
|
การเดินทางไปเวียดนาม เป็นการเดินทางไปต่างประเทศ
ต้องมีเอกสารเดินทางที่ถูกต้อง ได้แก่ หนังสือเดินทางหรือบัตรผ่าน
แดน มิฉะนั้นจะเป็นการลักลอบเข้าเมือง |
เอกสารประจำตัว
|
|
|
|
การนำยานพาหนะข้ามแดน
เส้นทางขนส่งทางบก มี 5 เส้นทาง คือ
1.) เส้นทางสายนครพนม- คําม่วน (สปป.ลาว)-Ha Tinh (เวียดนาม)
ระยะทางประมาณ 230 กิโลเมตร
2.) เส้นทางสายมุกดาหาร - สะหวันนะเขต (สปป.ลาว) Quang Tri (เวียดนาม ) ระยะทางประมาณ 210 กิโลเมตร
3.) เส้นทางสายสระแก้ว - พนมเปญ (กัมพูชา) - Ho Chi Minh (เวียดนาม) ระยะทางประมาณ 600 กิโลเมตร
4.) เส้นทางสายอุบลราชธานี - จําปาสัก (สปป.ลาว) Koh Tum
(เวียดนาม) ระยะทางประมาณ 250 กิโลเมตร
5.) เส้นทางสายตราด - เกาะกง (กัมพูชา) - Ha Tien (เวียดนาม) ระยะทางประมาณ 230 กิโลเมตร
|
|
|
|
รถประจำทาง
|
|
|
|
เครื่องบิน
เส้นทางการขนส่งสินค้าทางอากาศ มี 2 เส้นทางคือ
1. สุวรรณภูมิ โฮจิมินห์
2.
สุวรรณภูมิ - ฮานอย
เวียดนามมีสนามบิน นานาชาติ 3 แห่ง คือ
Noi Bai International Airport ตั้งอยู่ทางตอนเหนือห่างจาก
กรุงฮานอยประมาณ 30 กิโลเมตร ให้บริการขนส่งผู้โดยสารและสินค้า มีเที่ยวบิน
ไปฮ่องกง กัวลาลัมเปอร์ ไทเป ดูไบ ปารีส เบอร์ลิน มอสโก มะนิลา
และกรุงเทพฯ
Da nang International Airport ตั้งอยู่ทางภาคกลาง ห่างจาก
ใจกลางนครดานังไปทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 2.5 กิโลเมตรเนื้อที่รวม 150
เฮกตาร์เคยเป็นฐานทัพของสหรัฐฯในสมัยสงครามกลางเมือง ปัจจุบันให้บริการ
การบินภายในประเทศและระหว่างประเทศ รองรับผู้โดยสารประมาณ 0.8-1.0
ล้านคนต่อปี และกําลังอยู่ระหว่างปรับปรุงพัฒนาเพื่อให้สามารถรองรับผู้โดยสาร
และขนส่งสินค้าได้ มากขึ้น
Tan Son Nhat International Airport เป็นสนามบินที่ใหญ่
ที่สุดของประเทศ ตั้งอยู่ห่างจากนคร โฮจิมินห์ ประมาณ 7 กิโลเมตร
มีเที่ยวบินไปเบอร์ลิน แฟรงก์เฟิร์ต อัมสเตอร์ดัม ปารีส โซล โอซากา
กวางเจา ไทเป ฮ่องกง กรุงเทพฯ สิงคโปร์ กัวลาลัมเปอร์ จาการ์ตา ซิดนีย์
มอสโค มะนิลา สนามบินแห่งนี้มีโครงการจะย้ายห่างออกไปอีก 40 กิโลเมตร
เพื่อก่อสร้างสนามบินให้มีขนาดที่ใหญ่ขึ้น และสามารถรองรับผู้โดยสารได้เพิ่ม
ขึ้นเป็น 100 ล้านคนต่อปี
นอกจากสนามบินนานาชาติแล้วเวียดนามยังมีสนามบิน ขนาดใหญ่อีก
2 แห่ง ประกอบไปด้วย สนามบินลองถ่าน สนามบินจูลาย และสนามบินเล็ก ๆ
ตามจังหวัดต่าง ๆ อีก 18 แห่ง เพื่อรองรับการขนส่งภายในประเทศ ทั้งนี้สนามบิน
ในจังหวัดต่างๆมีหลายแห่งที่กําลังอยู่ระหว่างการยกฐานะให้เป็นสนามบิน
นานาชาติ นอกจากนี้แล้วยังมีสนามบินที่กําลังก่อสร้างบนสองเกาะใหญ่ๆเพื่อ
รองรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวด้วยคือ สนามบินบนเกาะกอน ด่าว และ เกาะฟู
ปัจจุบัน เวียดนามมีสายการบินแห่งชาติ 2 แห่ง คือ Vietnam Airline
ให้บริการทั้งภายในและต่างประเทศ และ Pacific Airline ที่เน้นการให้บริการ
เฉพาะภายในประเทศ |
|
|
|
เรือ
จากท่าเรือกรุงเทพฯ ไปเวียดนาม
จากท่าเรือกรุงเทพฯไปยังท่าเรือฮานอย (ท่าเรือไฮฟอง) และท่าเรือไซ่ง่อน
เวียดนามมีท่าเรือพาณิชย์ทั้งหมด 17 ท่ารองรับสินค้าได้ประมาณ 15
ล้านตันต่อวัน และสามารถรองรับเรือระวางบรรทุกสูงสุด 1 หมื่นตันได้ ท่าเรือ
สําคัญได้แก่ ท่าเรือไซ่ง่อน ดานัง ไฮฟอง คามรานห์ ฮาลอง นาจราง วินห์ หวุงเต่า
เป็นต้น นอกจากนี้ ยังทดลองสร้างท่าเรือนอกชายฝั่งของจ่าวินห์เพื่อรองรับเรือ
สินค้าขนาด 2 หมื่นตัน รวมทั้งสร้างท่าเรืออีก 4 แห่ง ในจ่าวินห์สกจางเบนแจ๋
และเกียนยาง เพื่อกระจายปริมาณการขนส่งสินค้าจากท่าเรือไซ่ง่อน ท่าเรือ
ที่สําคัญ ได้แก่
ท่าเรือไซ่ง่อน เป็นท่าเรือใหญ่ที่สุดของประเทศอยู่ในโฮจิมินห์ซิตี้ มีท่าเทียบเรือ
โดยสารเดินทะเล 1 ท่า ท่าเทียบเรือขนส่งสินค้า 31 ท่า พื้นที่โกดัง 5
แสนตารางเมตร เครนขนาด 25-100 ตัน 16 ตัว มีการขนส่งสินค้ากว่า 10
ล้านตันต่อปี
ท่าเรือดานัง ดานังมีท่าเรือน้ําลึก Tien Sa Seaport นับเป็นท่าเรือสําคัญของ
เวียดนามในภาคกลาง รัฐบาลกําลังพัฒนาปรับปรุงเพื่อให้สามารถขนถ่ายตู้
คอนเทนเนอร์ได้เพิ่มขึ้นเป็น 20 ตู้ต่อชั่วโมง ขนถ่ายสินค้าได้ 7,000 ตันต่อวัน
มีการก่อสร้าง Break Water จาก 250 เมตร ในปัจจุบัน เป็น 450 เมตรใน
อนาคต เป็นต้น นอกจากนั้นยังเตรียมความพร้อมในการอํานวยความสะดวก
ให้แก่ภาคอุตสาหกรรมการผลิต รวมทั้งมีนโยบายการรักษาสิ่งแวดล้อมควบคู่
กับการพัฒนาท่าเรืออีกด้วย รัฐบาลมีนโยบายผลักดันให้ท่าเรือแห่งนี้เป็น
ท่าเรือใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลกและคาดว่าปี 2553 สามารถรองรับปริมาณ
สินค้าได้ 8 ล้านตันต่อปี นอกจากนี้ดานังยังมีท่าเรือแม่น้ําอีกแห่งคือ Han
River Port สามารถรองรับเรือขนาดไม่เกิน 5 พันตัน ปริมาณขนส่งสินค้า 1
ล้านตันต่อปี
ท่าเรือไฮฟอง ตั้งอยู่ในเมืองไฮฟองเป็นท่าเรือที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศแต่
ใหญ่ที่สุดในเขตภาคเหนือ มีปริมาณสินค้าผ่านท่าเรือนี้ประมาณ 7-10 ล้านตัน
ต่อปีสามารถรองรับเรือระวางบรรทุก 7,000-10,000 ตัน ระยะทางจากท่าเรือ
ไฮฟองถึงโฮจิมินห์เมื่อวัดทางทะเลประมาณ 1,480 กิโลเมตรทางบก 1,800
กิโลเมตร และทางรถไฟ 1,926 กิโลเมตร ไฮฟองเป็นศูนย์กลางการส่งออก
สินค้าของจังหวัดต่างๆ ในเขตภาคเหนือของเวียดนาม ระยะทางจากท่าเรือ
ไฮฟองออกสู่ทะเลประมาณ 40 กิโลเมตร ท่าเรือไฮฟองเป็นกลุ่มท่าเรือ ซึ่ง
แบ่งออกเป็น 3 เขตดังนี้
เขตที่ 1 Main Port เป็นท่าเรือแม่น้ํา ร่องน้ําลึกเพียง 9 เมตร สามารถ
รองรับเรือที่มีระวางขับน้ําไม่เกิน 1.5 หมื่นตัน เรือใหญ่ต้องขนถ่ายที่ท่าเรือด้าน
นอกก่อน
เขตที่ 2 Chua Ve Port เป็นท่าเรือขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ (Container
Terminal) ได้รับเงินสนับสนุนจาก ODA (Official Development Assistance)
ของญี่ปุ่นทั้งในด้านการก่อสร้างเครน และระบบซอฟท์แวร์ในการควบคุมท่าเรือ
มีระดับน้ําลึก 7.5 เมตร ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการขุดร่องน้ําเพิ่มเติมผ่าน
หมู่เกาะกั๊ทไห่ (Cat HaiIs lands) เพื่อให้รับเรือขนาดใหญ่ได้มากขึ้นจาก
ปัจจุบันที่รับได้เฉพาะเรือที่มีระวางขับน้ําไม่เกิน 1.5 หมื่นตัน
เขตที่ 3 Dinh Vu Port อยู่ในแหลมดิงห์วู เริ่มก่อสร้างเมื่อปี 2547
กําหนดแล้วเสร็จในปี 2553 มี 7 เครน สร้างเสร็จแล้ว 4 เครน และจะเสร็จอีก
2 เครน ในปี 2551 สามารถรองรับเรือขนาดใหญ่ขึ้นแต่ไม่เกิน 2 หมื่นตัน
นอกจากนี้ ยังมีการสร้างเขตขนถ่ายสินค้าจากเรือใหญ่ไปสู่เรือ ขนาดเล็กเพื่อเข้า
สู่พื้นที่ด้านในด้วย สําหรับในอนาคตคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้บริษัทท่าเรือ
ไฮฟองก่อสร้างท่าเรือน้ําลึกแห่งใหม่ ซึ่งจะเริ่มดําเนินการในปี 2551 เมื่อแล้ว
เสร็จจะสามารถรองรับเรือที่มีขนาด 5-6 หมื่นตัน รวมถึงการสร้างสะพานเชื่อม
แหลมดิงห์วูกับเกาะกั๊ทไห่ และรถไฟฟ้าเพื่อรองรับสินค้าที่ขนส่งมาจากท่าเรือ
ที่กั๊ทไห่ นอกจากนี้ ยังมีการขุดร่องน้ําให้ลึกกว่าเดิมเป็น 14-16 เมตร เพื่อ
ให้สามารถรองรับเรือที่มีขนาดใหญ่ขึ้นได้
นอกจากนี้ยังมีท่าเรืออีก 4 แห่งในเมืองจ่าวินห์ซกจางเบิ๋น-แจ๋และ
เกี๋ยนยาง เพื่อรองรับความคับคั่งของสินค้าจากท่าเรือไซ่ง่อน
|
|
|
|
จุดผ่านแดน |
|
|
|
|
|
การติดต่อสื่อสาร |
|
|
|
|
พยากรณ์อากาศ |
|
|
|
|
ไทยประตูสู่อินโดจีน |
|
|
ที่มาของภาพ และข้อมูล |
คู่มือ การค้าและการลงทุน ราชอาณาจักรกัมพูชา
ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
กระทรวงการต่างประเทศ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอาเซียน กรมประชาสัมพันธ์ |