อินโดจีน > ลาว > การเดินทาง |
|
|
|
ภาพโดย : www.facebook/YoYing Sopa,
www.facebook/Iamnekojung Meaw, www.tourismlaos.org
|
|
|
รวบรวมข้อมูลการเดินทางจากประเทศไทย ไป ประเทศลาว
นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางสู่ลาวได้หลายวิธี ทั้งทางรถยนต์ส่วนตัว รถประจำทาง รถไฟ และเครื่องบิน |
|
|
การเดินทางไป สปป.ลาว เป็นการเดินทางไปต่างประเทศ
ต้องมีเอกสารเดินทางที่ถูกต้อง ได้แก่ หนังสือเดินทางหรือบัตรผ่าน
แดน มิฉะนั้นจะเป็นการลักลอบเข้าเมือง |
เอกสารประจำตัว
1 หนังสือเดินทาง หนังสือเดินทางต้องมีอายุไม่
น้อยกว่า 6 เดือน สามารถ
เดินทางไปเที่ยว สปป.ลาว
ได้โดยไม่ต้องขอวีซ่า พำนัก
ได้ครั้งละไม่เกิน 30 วัน
2 บัตรผ่านแดน หาก
ไม่มีหนังสือเดินทาง สามารถ
ใช้บัตรผ่านแดน ซึ่งขอทำได้ที่
ที่ว่าการอำเภอที่มีชายแดนติดกับ สปป.ลาว โดยใช้บัตรประจำตัว
ประชาชนและเสียค่าธรรมเนียม 40 บาท สามารถพำนักอยู่ได้ 3 วัน
2 คืน แต่ไม่สามารถเดินทางออกนอกพื้นที่ที่กำหนด เช่น หากข้าม
สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 1 จากจังหวัดหนองคายไปนครหลวง
เวียงจันทน์ จะไม่สามารถเดินทางไปนอกเขตนครหลวงเวียงจันทน์ได้
เช่น วังเวียง แดนสะหวัน เขื่อนน้ำงึม หรือเมื่อข้ามสะพานมิตรภาพ
ไทย-ลาว 2 จากจังหวัดมุกดาหารไปแขวงสะหวันนะเขต ก็ไม่สามารถ
เดินทางต่อไปแขวงอื่น หากละเมิดจะถูกจับในข้อหาเดินทางออกนอกพื้นที่โดยไม่ได้รับอนุญาต และจะต้องจ่ายค่าปรับขั้นต่ำ 100 ดอลลาร์
สหรัฐ
ห้ามพำนักอยู่ใน สปป.ลาว เกินกำหนดที่ได้รับอนุญาต (กรณีบัตร
ผ่านแดนจะถูกปรับวันละ 5 ดอลลาร์สหรัฐ/วันที่อยู่เกินกำหนด และ
กรณีหนังสือเดินทางจะถูกปรับวันละ 10 ดอลลาร์สหรัฐ/วันที่อยู่เกิน
กำหนด)
ผู้ใช้บัตรผ่านแดนสามารถขออยู่ต่อได้อีกไม่เกิน 3 ครั้ง ครั้งละ
ไม่เกิน 3 วัน โดยติดต่อที่แผนกคุ้มครองคนต่างประเทศ กองบัญชาการ
ป้องกันรักษาความสงบ (ปกส) ในพื้นที่
ควรนำเอกสารเดินทางติดตัวตลอดเวลา และถ่ายสำเนาแยกเก็บ
ไว้ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายลาวขอตรวจ
ตามกฎหมายลาว การเดินทางมาท่องเที่ยวเป็นหมู่คณะต้องติดต่อ
ผ่านบริษัททัวร์ของลาวที่องค์การท่องเที่ยวแห่งชาติ สปป.ลาว รับรอง
และต้องมีมัคคุเทศก์ชาวลาวประจำรถ เนื่องจากทางการลาวไม่
อนุญาตให้ชาวต่างชาติทำหน้าที่มัคคุเทศก์หรือบรรยายตามสถานที่
ท่องเที่ยวต่างๆ หากฝ่าฝืนมีโทษปรับสูงสุด 2,000 ดอลลาร์สหรัฐ
|
|
|
|
การนำยานพาหนะข้ามแดน
1 รถยนต์ส่วนบุคคล ใช้เอกสารดังนี้
- หนังสืออนุญาตรถระหว่างประเทศ (สีม่วง) และ
เครื่องหมายแสดงประเทศ ขอได้ที่สำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถ สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ สำนักงานขนส่งจังหวัดที่รถนั้น
จดทะเบียนไว้หรือจังหวัดที่มีพื้นที่รับผิดชอบติดกับ สปป.ลาว
- หนังสือคู่มือจดทะเบียนรถ (ฉบับจริง)
- ใบอนุญาตขับรถที่ยังไม่หมดอายุ และแปลเป็นภาษาอังกฤษ
ขอได้ที่สำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถและสำนักงานขนส่ง
จังหวัดชายแดน
- หากมิได้เป็นเจ้าของรถยนต์ ต้องมีหนังสือมอบอำนาจจากเจ้าของ
และติดอากรแสตมป์ 30 บาท
- รถของบริษัทต้องมีหนังสือบริคณห์สนธิ
- กรมธรรม์ประกันภัยบุคคลที่ 3 ของ สปป.ลาว ซึ่งจะมีจำหน่ายที่
สำนักงานสาขาของบริษัทประกันภัยที่จุดผ่านแดนฝั่งลาว
2 รถที่ใช้ขนส่งระหว่างประเทศ
- หนังสืออนุญาตรถระหว่างประเทศ (สีเขียว) และเครื่องหมาย
แสดงประเทศ ขอได้ที่สำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถ
สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ สำนักงานขนส่งจังหวัดที่รถนั้นจดทะเบียนไว้
หรือจังหวัดที่มีพื้นที่รับผิดชอบติดกับ สปป.ลาว
- สำเนาใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ
- ใบอนุญาตขับรถที่ยังไม่หมดอายุ และแปลเป็นภาษาอังกฤษ
ขอได้ที่สำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถและสำนักงานขนส่ง
จังหวัดชายแดน
- หนังสือรับรองการตรวจสภาพรถ ขอได้ที่สำนักงานขนส่งที่รถนั้น
จดทะเบียน หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดชายแดน
- กรมธรรม์ประกันภัยบุคคลที่ 3 ของ สปป.ลาว ซึ่งจะมี
จำหน่ายที่สำนักงานสาขาของบริษัทประกันภัยที่จุดผ่านแดนฝั่งลาว
ควรขับขี่ยานพาหนะในสปป.ลาว อย่างระมัดระวัง เนื่องจาก
ระบบการจราจรใน สปป.ลาวให้ขับทางขวาของถนน ต่างจากฝั่งไทย
และไม่ควรใช้ความเร็วสูงเนื่องจากทางการลาวจำกัดความเร็วไม่เกิน
50-60 กิโลเมตร/ชั่วโมง และรถทางโทมักไม่หยุดรอรถทางเอก
เมื่อสัญญาณไฟจราจรเปลี่ยนจากไฟแดงเป็นไฟเขียว ควรออกรถ
อย่างระมัดระวังและดูให้แน่ใจว่าไม่มีรถฝ่าไฟแดงจากด้านอื่น
ต้องระวังอันตรายจากรถจักรยานยนต์และสัตว์เลี้ยงต่างๆ เช่น
ฝูงวัวและแพะ ซึ่งอาจตัดหน้าในระยะกระชั้นชิดและอาจก่อให้เกิด
อุบัติเหตุได้
ห้ามพูดโทรศัพท์ระหว่างขับรถ
หากไม่ต้องการนำรถยนต์ข้ามไป สปป.ลาว บริเวณใกล้กับด่านฝั่ง
ไทยที่สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 1 ที่ จ.หนองคาย มีที่รับฝากรถ
ของเอกชน เช่น กาตนาทัวร์ นฤมลทัวร์ เสียค่าบริการวันละ 100 บาท
|
|
|
|
รถประจำทาง
มีรถประจำทางให้บริการระหว่างนครหลวงเวียงจันทน์กับ
หนองคาย อุดรธานี ขอนแก่น และ
นครราชสีมา ระหว่างเมืองปากเซ แขวง
จำปาสักกับอุบลราชธานี และระหว่าง
เมืองไกสอน พมวิหาน แขวงสะหวันนะเขต
กับมุกดาหาร สถานีขนส่งที่นครหลวง
เวียงจันทน์สำหรับรถโดยสารไปยัง
ประเทศไทยอยู่ที่ถนนหนองบอน หลังตลาดเช้า ดูตารางรถได้ที่เว็บไซต์
บริษัทขนส่ง จำกัด www.transport.co.th
|
|
|
|
เครื่องบิน
มีสายการบินให้บริการระหว่างกรุงเทพฯ กับที่หมายใน
สปป.ลาว 4 แห่ง ได้แก่
(1) นครหลวงเวียงจันทน์ สนามบินที่นครหลวงเวียงจันทน์คือ สนามบินวัดไต (Wattay Aiport)
(2) เมืองหลวงพระบาง
(3) แขวงสะหวันนะเขต และ
(4) เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก
หากจะ
เดินทางไปนครหลวงเวียงจันทน์ อาจนั่งเครื่องบินไปอุดรธานีแล้วนั่งรถ
ต่อไปสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร (มีรถ
บริการจากท่าอากาศยานอุดรธานี) นอกจากนี้ การบินลาวยังมีบริการ
เส้นทางเชียงใหม่ - หลวงพระบาง และอุดรธานี - หลวงพระบางด้วย
การเดินทางโดยเครื่องบินจากนครหลวงเวียงจันทน์ไป
ประเทศอื่นยังไม่สะดวกมากนัก เพราะมีเส้นทางจำกัด เมืองที่สามารถ
เดินทางไปได้โดยตรงจากนครหลวงเวียงจันทน์ ได้แก่ ฮานอย โฮจิมินห์
พนมเปญ เสียมราฐ คุนหมิง และกัวลาลัมเปอร์
|
|
|
|
รถไฟ
นั่งรถไฟไปลงที่สถานีหนองคาย แล้วนั่งรถสามล้อไปด่าน
สะพานมิตรภาพไทย-ลาว ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร หรือนั่ง
รถไฟข้ามแม่น้ำโขงไปลงที่สถานีท่านาแล้งในฝั่งลาว จากสถานี
ท่านาแล้งต้องนั่งรถยนต์ไปอีกประมาณ 20 กิโลเมตร จึงจะถึงตัวเมือง
เวียงจันทน์ พิธีการตรวจคนเข้าเมืองและศุลกากรทำที่สถานีรถไฟ
หนองคาย และสถานีท่านาแล้ง |
|
|
|
จุดผ่านแดน |
ตามกฎระเบียบของไทย จุดผ่านแดนที่คนไทย คนลาว และ
คนประเทศที่ 3 เดินทางผ่านได้และสามารถขนส่งสินค้าเข้าออกได้ คือ
จุดผ่านแดนถาวร ซึ่งชายแดนไทย-ลาวมี 15 แห่ง จุดผ่านแดนประเภท
นี้ ฝั่งลาวเรียกว่า ด่านสากล จุดผ่านแดนระดับรองลงมา คือ
จุดผ่อนปรนการค้า ซึ่งฝั่งลาวเรียกว่าด่านท้องถิ่น จุดผ่านแดนประเภท
นี้ไม่ได้เปิดทุกวันและมีข้อจำกัดในการเดินทางเข้าออก ทั้งนี้ สปป.ลาว
มีด่านอีกประเภทหนึ่งเรียกว่าด่านประเพณี ซึ่งให้เข้าออกได้เฉพาะ
ประชาชนที่อาศัยบริเวณชายแดน
|
จุดผ่านแดนถาวรไทย-ลาว มีดังนี้
1. จุดผ่านแดนถาวรบ้านเชียงแสน อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
ตรงข้ามด่านเมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว (ด่านฝั่งลาวยังเป็นด่านท้องถิ่น)
2. จุดผ่านแดนถาวร อ.เชียงของ จ.เชียงราย-เมืองห้วยซาย
แขวงบ่อแก้ว เชื่อมโยงกับเส้นทาง R3 โดยต้องข้ามแม่น้ำโขงโดย
แพขนานยนต์ และสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4
3. จุดผ่านแดนถาวรห้วยโก๋น อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน -
ด่านน้ำเงิน เมืองเงิน แขวงไซยะบูลี เป็นเส้นทางสู่เมืองหลวงพระบาง
และแขวงภาคเหนือของ สปป.ลาว รัฐบาลไทยได้สนับสนุนงบประมาณ
ก่อสร้างถนนระยะทาง 49.2 กม.จากด่านไปเมืองเงิน แขวงไซยะบูลี ซึ่ง
อยู่บริเวณฝั่งตรงข้ามเมืองปากแบ่ง แขวงอุดมไซ และรัฐบาลลาวจะสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงเชื่อมกับถนนดังกล่าวโดยกู้เงินจากจีน
4. จุดผ่านแดนถาวรสะพานมิตรภาพน้ำเหือง (ลาว-ไทย)
ระหว่าง อ.ท่าลี่ จ.เลย-เมืองแก่นเท้า แขวงไซยะบูลี สะพานเปิดใช้เมื่อ
วันที่ 28 ตุลาคม 2547 จากด่านไปเมืองหลวงพระบางมีระยะทาง 363
กม. แต่ถนนยังมีสภาพไม่ดี
5. จุดผ่านแดนถาวร อ.เชียงคาน จ.เลย ตรงข้ามด่านเมือง
ซะนะคาม แขวงเวียงจันทน์ ซึ่งยังเป็นด่านท้องถิ่น
6. จุดผ่านแดนถาวรบ้านคกไผ่ อ.ปากชม จ.เลย ตรงข้าม
ด่านบ้านวัง เมืองหมื่น แขวงเวียงจันทน์ ซึ่งยังเป็นด่านท้องถิ่น
7. จุดผ่านแดนถาวรสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 อ.เมือง
จ.หนองคาย-นครหลวงเวียงจันทน์
8. จุดผ่านแดนถาวรท่าเสด็จ อ.เมือง จ.หนองคาย ตรงข้าม
ด่านท่าเดื่อ นครหลวงเวียงจันทน์ (เดิมด่านท่าเดื่อเป็นด่านสากล แต่
หลังเปิดใช้สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 1 เมื่อปี 2537 ด่านสากลได้
ย้ายไปที่สะพาน)
9. ด่านสถานีรถไฟหนองคาย-สถานีรถไฟท่านาแล้ง
(ณ กันยายน 2553 มีเฉพาะการขนส่งผู้โดยสาร ไม่มีการขนส่งสินค้า
เพราะยังไม่มีคลังสินค้า)
10. จุดผ่านแดนถาวร อ.บึงกาฬ จ.หนองคาย - เมืองปากซัน
แขวงบอลิคำไซ เชื่อมโยงกับเส้นทางหมายเลข 8 ใน สปป.ลาว โดย
ต้องข้ามแม่น้ำโขงโดยแพขนานยนต์
11. จุดผ่านแดนถาวร อ.เมือง จ.นครพนม-เมืองท่าแขก
แขวงคำม่วน เชื่อมโยงกับเส้นทางหมายเลข 12 ในสปป.ลาว โดยต้อง
ข้ามแม่น้ำโขงโดยแพขนานยนต์ แต่ในอนาคตจะมีสะพานมิตรภาพ
ไทย-ลาวแห่งที่ 3
12. จุดผ่านแดนถาวรสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 2
(มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) เชื่อมโยงกับเส้นทางหมายเลข 9 ตามแนว
East-West Economic Corridor ไปสู่ท่าเรือในเวียดนามได้
13. จุดผ่านแดนถาวร อ.เมือง จ.มุกดาหาร ตรงข้ามด่าน
เมืองไกสอน พมวิหาน แขวงสะหวันนะเขต (เดิมด่านเมืองไกสอน
พมวิหานเป็นด่านสากล แต่หลังเปิดใช้สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่
2 เมื่อปี 2549 ด่านสากลได้ย้ายไปที่สะพาน และทางการลาวได้ลด
ระดับด่านเป็นด่านท้องถิ่น)
14. จุดผ่านแดนถาวรบา้ นปากแซง กงิ่ อำเภอนาตาล จ.อบุ ลราชธานี
ตรงข้ามด่านท้องถิ่นบ้านปากตะพาน เมืองละคอนเพ็ง แขวงสาละวัน
15. จุดผ่านแดนถาวรช่องเม็ก อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี - วังเต่า
แขวงจำปาสัก เป็นจุดผ่านแดนสู่แขวงภาคใต้ของ สปป.ลาว และ
สามารถเดินทางไปเวียดนามได้ทางด่านพูเกือ แขวงอัดตะปือ |
|
|
|
การติดต่อสื่อสาร |
1. โทรศัพท์
- สปป.ลาวมีผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ 4 เครือข่าย ได้แก่
(1) M Phone (ลาวเทเลคอม) (2) ETL (3) TIGO (4) ลาวสตาร์ ผู้ที่นำ
โทรศัพท์มือถือมาจากไทย สามารถซื้อซิมได้จากร้านสะดวกซื้อหรือร้าน
ขายของทั่วไป
- เมื่อเปลี่ยนซิมโทรศัพท์เป็นหมายเลขของลาวแล้ว หาก
ต้องการโทรกลับไทยให้กดรหัส 00-66 ตามด้วยหมายเลขในไทยโดย
ตัด 0 ตัวแรกออก เช่น จะโทรไปหมายเลข 02-6435000 ให้กด
00-66-2-6435000 หรือโทรไปหมายเลข 081-1234567 ให้กด
00-66-81-1234567
- หากต้องการโทรศัพท์จากไทยไปลาว ให้กดรหัสสำหรับ
โทรต่างประเทศ + 856 + รหัสพื้นที่หรือรหัสมือถือโดยตัด 0 ตัวแรก
เช่น ต้องการโทรไปหมายเลขมือถือลาว 020-1234567 ให้กด 001
(หรือ 00X) 856-20-1234567 ทั้งนี้ ตั้งแต่มิถุนายน 2553 ผู้ใช้
เครือข่าย M Phone คือ หมายเลขขึ้นต้นด้วย 4,5 และ 6 ต้องเติมเลข
5 อีกหนึ่งตัวที่ด้านหน้าสุด ผู้ใช้เครือข่าย TIGO คือ หมายเลขขึ้นต้น
ด้วย 7 ต้องเติมเลข 7 อีกหนึ่งตัวที่ด้านหน้าสุด ส่วนเครือข่าย ETL ใช้
หมายเลข7 หลักตามเดิม
- สามารถรับสัญญาณโทรศัพท์มือถือไทยได้ในบางบริเวณที่
ใกล้ชายแดน เช่น ริมแม่น้ำโขงในนครหลวงเวียงจันทน์และที่แขวง
สะหวันนะเขต
2. อินเทอร์เน็ต
ในเมืองใหญ่ที่มีนักท่องเที่ยวมาก เช่น นครหลวงเวียงจันทน์
หลวงพระบาง วังเวียง สะหวันนะเขต จะมีร้านอินเทอร์เน็ตหรืออินเทอร์
เน็ตคาเฟ่ที่สามารถใช้บริการได้ โรงแรมบางแห่งมีบริการอินเทอร์เน็ต
Wi-Fi
3. ไปรษณีย์
ที่นครหลวงเวียงจันทน์ สามารถซื้อตราไปรษณียากรทั้งเพื่อ
ส่งจดหมายและการสะสมได้ที่รัฐวิสาหกิจไปรษณีย์ลาวซึ่งตั้งอยู่ตรง
ข้ามตลาดเช้ามอลล์ และไปรษณีย์สาขาที่ท่าอากาศยานวัดไต สำหรับ
ต่างแขวงอาจซื้อได้จากร้านขายโปสการ์ด
|
|
|
|
พยากรณ์อากาศ |
|
|
|
|
ไทยประตูสู่อินโดจีน |
|
|
ที่มาของภาพ และข้อมูล |
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเวียงจันทน์
สถานกงสุลใหญ่ ณ แขวงสะหวันนะเขต
ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
กระทรวงการต่างประเทศ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอาเซียน กรมประชาสัมพันธ์ |