หน้าแรก > ไทยประตูสู่อินโดจีน > นครพนม เส้นทางหมายเลข 13 ใต้ เส้นทางหมายเลข 8 สปป. ลาว-เส้นทางหมายเลข 1 เวียดนาม |
|
|
|
|
นครพนม เส้นทางหมายเลข 13 ใต้
เส้นทางหมายเลข 8 สปป. ลาว-เส้นทางหมายเลข 1 เวียดนาม เส้นทางโฮจิมินห์รำลึก
ประเทศไทยเป็นดินแดนอพยพของผู้ตกทุกข์ได้ยากชาวเวียดนามมานานนักหนา ชาวเวียดนามแถบ ตอนกลางประเทศ เมืองวินห์ เมืองฮาตินห์ เดินทางหนีร้อนมาพึ่งเย็นในเมืองไทยมาแล้วนับร้อยปี จวบจนกระทั่งปัจจุบันชาวเวียดนามที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยส่วนใหญ่ก็จะมา จากดินแดนแถบนี้ และในบรรดาทั้งหมด ชายหนุ่มจากเมืองวินห์คนหนึ่ง ชื่อ เหวียนอายกว๊อก หรือโฮจิมินห์ ก็เดินทางเข้ามาในประเทศไทยอย่างเงียบเชียบ และขบวนการสร้างชาติเวียดนามใหม่จึงมีส่วนก่อร่างขึ้นที่เมืองนครพนมของ ประเทศไทยด้วยเช่นกัน
สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 (นครพนม-ท่าแขก) คือ สะพานมิตรภาพที่ออกแบบอย่างสวยงามมาก อาจเป็นเพราะสะพานแห่งนี้ใช้เงินทุนก่อสร้างสะพานส่วนใหญ่จากฝ่ายไทย ข้ามสะพานมิตรภาพไปแล้วเส้นทางจะนำต่อไปพบเส้นทางหมายเลข 13 ใต้ แล่นขึ้นเหนือไปจนถึงทางแยก เลี้ยวขวาเข้าสู่เส้นทางหมายเลข 8 แล่นผ่านเมืองคำเกิด เมืองหลักซาว ดินแดนของชาวผู้ไทย ไทยดำ แล้วเข้าสู่ด่านพรมแดน ด่านน้ำพาว-เกาแจว เป็นระยะทางทั้งหมดประมาณ 300 กิโลเมตร จึงถึงเมืองวินห์ เมืองชายฝั่งทะเลบ้านเกิดของท่านประธานโฮจิมินห์
รายละเอียดของเส้นทางหมายเลข 13 ใต้-เส้นทางหมายเลข 8 สปป. ลาว-เส้นทางหมายเลข 1 เวียดนาม
ระยะทาง ประมาณ 300 กิโลเมตร
เมืองสำคัญ นครพนม-ท่าแขก
ด่านพรมแดน ด่านสะพานมิตรภาพ 3 ด่านน้ำพาว ด่านเกาแจว
แหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง ประเทศไทย พระธาตุพนม พระธาตุเรณู, สปป. ลาว พระธาตุศรีโคตรบูรณ์ หินหนามหน่อ ถ้ำกองลอ และ เวียดนาม ชายฝั่งทะเลเมืองฮาติงห์
|
|
สะพานมิตรภาพ 3 (นครพนม – คำม่วน) ตำแหน่งของสะพานในฝั่งไทยจะอยู่เหนือจากตัวเมืองนครพนมประมาณ 11 กิโลเมตร บ้านห้อม ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ฝั่งลาวอยู่ที่บ้านเวินใต้ เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน ห่างจากบ้านท่าแขกประมาณ 13 กิโลเมตร ซึ่งกำหนดให้จุดเปลี่ยนทิศทางการจราจรอยู่ในฝั่งลาว ช่วงนี้จะมีจุดข้ามที่ค่อนข้างแคบโดยมีความกว้างประมาณ 700 เมตร และอยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองนครพนมมากนัก ทำให้สะดวกในการเดินทาง นอกจากนี้จากการศึกษายังพบว่า มีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
ปัจจุบันการขนส่งสินค้าและการท่องเที่ยวกับประเทศ สปป.ลาว ระหว่างจังหวัดนครพนมกับแขวง
คำม่วนใช้ทางเรือและแพขนานยนต์เป็นหลัก การก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 3 ระหว่างจังหวัดนครพนมกับแขวงคำม่วน ทำให้เกิดความสะดวกปลอดภัย ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่การท่องเที่ยวและกิจกรรมระหว่างประเทศ ซึ่งเชื่อมต่อโครงข่ายคมนาคมทางหลวงหมายเลข 22 ระหว่างจังหวัดอุดรธานี สกลนคร นครพนม ไปยังทางหลวงหมายเลข 12 ของสปป. ลาว ท่าแขก - ดงเห่ย (จังหวัดกวางบิงห์) ระยะทาง 310 กิโลเมตร และเส้นทางหมายเลข 8 นครพนม - ท่าแขก หลักซาว วินห์ (จังหวัดเงอาน) ระยะทาง 331 กิโลเมตร ตามยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดีเจ้าพระยา – แม่โขง |
|
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง |
|
จุดหมายปลายทาง |
|
|
ที่มาของภาพ และข้อมูล |
อนุสาร อ.ส.ท.เล่มเล็ก เดือนพฤศจิกายน 2556
ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
กระทรวงการต่างประเทศ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอาเซียน กรมประชาสัมพันธ์ |