หน้าแรก > อินโดจีน > สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ : Republic of the Union of Myanmar |
|
|
|
ภาพโดย : www.facebook/Pui Apiwat,
www.myanmartourism.org
|
ภายหลังการประชุมรัฐสภาเมียนมาร์เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๔ เมียนมาร์ได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็น “สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์” (เดิมคือ The Union of Myanmar เปลี่ยนเป็น The Republic of the Union of Myanmar) ปัจจุบันมีรูปแบบการปกครองแบบสาธารณรัฐ มีรัฐสภาซึ่งประกอบด้วยสภาประชาชน สภาชาติพันธุ์ และสภาท้องถิ่น โดยมีนายเต็ง เส่ง ดำรงตำแหน่งประธาธิบดี ซึ่งเป็นประมุขและหัวหน้ารัฐบาล ตั้งแต่วันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๔
ที่ตั้ง ทิศเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับจีน (๒,๑๘๕ กม.)
ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับลาว (๒๓๕ กม.) และไทย (๒,๔๐๑ กม.)
ทิศตะวันตกติดกับอินเดีย (๑,๔๖๓ กม.) และบังกลาเทศ (๑๙๓ กม.)
ทิศใต้ติดกับทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอล
พื้นที่ ๖๕๗,๗๔๐ ตารางกิโลเมตร (ประมาณ ๑.๓ เท่าของไทย)
เมืองหลวง เนปิดอว์ (Nay Pyi Taw)
(ตามที่ระบุในบทที่ ๑๓ ของรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๕๑ แต่รัฐบาลเมียนมาร์ยังไม่ได้แจ้งเวียนให้ทราบอย่างเป็นทางการ)
ประชากร ๕๘.๓๘ ล้านคน (ปีงบประมาณ ๒๕๕๑ - ๒๕๕๒)
ภาษาราชการ เมียนมาร์/พม่า
ศาสนา ศาสนาพุทธ (ร้อยละ ๘๙) ศาสนาคริสต์ (ร้อยละ ๕) ศาสนาอิสลาม (ร้อยละ ๔) อื่น ๆ (ร้อยละ ๒)
ประมุข* และประธานาธิบดี นายเต็ง เส่ง (U Thein Sein)
*หมายเหตุ พลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วย (Senior General Than Shwe) อดีตประมุข ซึ่งยังคงดำรงยศทางทหาร แต่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งทางกฎหมายตามรัฐธรรมนูญเมียนมาร์
รัฐมนตรีต่างประเทศ นายวันนะ หม่อง ลวิน (U Wunna Maung Lwin)
ระบอบการปกครอง รัฐสภาที่สมาชิกมาจากการเลือกตั้ง โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขประเทศและหัวหน้ารัฐบาล
เขตการปกครอง แบ่งการปกครองเป็น 7 รัฐ (state) สำหรับเขตที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อย และ 7 ภาค (region) สำหรับเขตที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นเชื้อสายพม่า
การปกครองแบ่งเป็น 7 เขตและ 7 รัฐ ได้แก่ เขตอิระวดี เขตมาแกว เขตมัณฑะเลย์ เขตพะโค (หงสาวดี) เขตสะกาย เขตตะนาวศรี และเขตย่างกุ้ง และ 7 รัฐ ได้แก่ รัฐยะไข่ รัฐชิน รัฐคะฉิ่น รัฐกะเหรี่ยง รัฐคะยา รัฐมอญ และรัฐฉาน ปกครองด้วยระบบทหารภายใต้การนำของสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (SPDC) เมืองสำคัญคือ กรุงย่างกุ้ง (ร่างกุ้ง) และเมืองหลวงใหม่ คือ กรุงเนย์ปิดอว์
วันชาติ ๔ มกราคม ค.ศ. ๑๙๔๘ (๒๔๙๑)
วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย ๒๔ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๔๘ (๒๔๙๑)
หน่วยเงินตรา จั๊ต อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ ๗๒๕ จั๊ตเท่ากับ ๑ ดอลลาร์สหรัฐ หรือ ๒๔ จั๊ตเท่ากับประมาณ ๑ บาท (ณ เดือนกันยายน ๒๕๕๔)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ๓๑.๗ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี ๒๕๕๓)
รายได้ประชาชาติต่อหัว ๒,๘๕๘ ดอลลาร์สหรัฐ (ปี ๒๕๕๓)
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ ๓.๓ (ปี ๒๕๕๓)
สินค้านำเข้าสำคัญ เครื่องจักรกล ใยสังเคราะห์ น้ำมันสำเร็จรูป
สินค้าส่งออกสำคัญ ก๊าซธรรมชาติ ไม้ เมล็ดพืชและถั่ว |
|
|
ธงชาติแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
มีลักษณะเป็นธงสามสีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในแบ่งตามแนวนอน ความกว้างเท่ากัน พื้นสีเหลือง สีเขียว และสีแดง เรียงตามลำดับจากบนลงล่าง กลางธงมีรูปดาวห้าแฉกสีขาวขนาดใหญ่ ธงนี้ได้เริ่มชักขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ในเวลา 15.00 น. ที่กรุงเนปยีดอ และในเวลา 15.33 น. ที่อาคารศาลาว่าการนครย่างกุ้ง (อ้างอิงตามเวลาท้องถิ่น) อันเป็นเวลา 17 วัน ก่อนหน้าการเลือกตั้งทั่วไปของพม่า ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 7 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน
ความหมายของสัญลักษณ์ในธงชาติประกอบด้วย สีเขียวหมายถึงสันติภาพ ความสงบ และความอุดมสมบูรณ์ของพม่า สีเหลืองหมายถึงความสามัคคี สีแดงหมายถึงความกล้าหาญ ความเข้มแข็ง เด็ดขาด ดาวสีขาวหมายถึงสหภาพอันมั่นคงเป็นเอกภาพ |
|
|
|
ที่มา: http://www.Graphicmaps.com |
|
|
ภูมิประเทศ
ประเทศเมียนมาร์ (Burma หรือ Myanmar) มีชื่ออย่างเป็นทางการ
ว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ (Republic of the Union of Myanmar)
เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และคาบสมุทรอินโดจีนซึ่งมีขนาดใหญ่
ที่สุด และมีพรมแดนติดต่อกับ 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย จีน ลาว อินเดีย และ
บังคลาเทศ แต่เดิมชาวตะวันตกเรียกประเทศนี้ว่า Burma จนกระทั่งเมื่อปี
พ.ศ. 2532 เมียนมาร์ ได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็น Myanmar
ประเทศเมียนมาร์ตั้งอยู่ที่ละติจูดที่ 28 องศา 30 ลิปดา ถึง 10 องศา
20 ลิปดาเหนือ มีพื้นที่ 677,000 ตารางกิโลเมตร ภูมิประเทศตั้งอยู่ตามแนว
อ่าวเบงกอลและทะเลอันดามันทำให้มีชายฝั่งทะเลยาวถึง 2,000 ไมล์ และมี
หาดที่สวยงามเก่าแก่บริสุทธิ์อยู่หลายแห่ง มีชายแดนด้านตะวันตกเฉียงเหนือ
ติดกับบังคลาเทศและอินเดีย และทางตะวันออกเฉียงเหนือติดกับธิเบตและ
จีน ส่วนทางตะวันออกติดกับลาว และทางตอนใต้ติดกับไทย รูปพรรณสัณฐาน
เหมือนกับว่าวที่มีหางยาวล้อมรอบเกือกม้าขนาดใหญ่คือแนวเทือกเขามหึมา และ
ภูเขาที่อุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้ มียอดเขาสูงอยู่มากมายตามแนวเทือกเขาของ
เมียนมาร์และมีหลายยอดที่สูงเกินกว่า 10,000 ฟุต ตามแนวชายแดนหิมาลัย
ทางเหนือของเมียนมาร์ที่ติดกับธิเบตเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรียกว่า ฮากากาโบราซี โดยมีความสูง 19,314 ฟุต ต่ำลงมา
จากแนวเขาเหล่านี้เป็นที่ราบกว้างใหญ่ภายในประเทศเมียนมาร์ นอกจากนี้ยังมี
ที่ราบลุ่มบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเอยาวดีที่อุดมสมบูรณ์ทอดยาวลงไปทาง
ตอนใต้เป็นนาข้าวกว้างใหญ่ราวกับไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งสามารถสรุปอาณาเขตติดต่อ
ได้ดังนี้
- ภาคเหนือ : เทือกเขาปัตไก (Pat Gai) เป็นพรมแดนระหว่าง
เมียนมาร์กับอินเดีย บังคลาเทศ และจีน (ทิเบต)
- ภาคตะวันตก : เทือกเขาอระกันโยมา (Arakanypma) กั้นเป็น
แนวยาวระหว่างชายฝั่งทะเลด้านอ่าวเบงกอลในเขตรัฐยะไข่
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : เป็นที่ราบสูงชาน
- ภาคใต้ : มีทิวเขาตะนาวศรี กั้นระหว่างไทยกับเมียนมาร์
- ภาคกลาง : เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำเอยาวดี
|
ภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศส่วนใหญ่ในบริเวณที่เป็นเทือกเขาสูงทางตอนกลาง
และตอนเหนือของประเทศ จะมีอากาศแห้งและร้อนมากในฤดูร้อน ส่วนใน
ฤดูหนาวอากาศจะเย็นมาก ตามชายฝั่งทะเลและบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำจะ
แปรปรวนในช่วงเปลี่ยนฤดู เพราะได้รับอิทธิพลของพายุดีเปรสชั่นเสมอทำให้
บริเวณนี้มีฝนตกชุกหนาแน่นมากกว่าตอนกลาง หรือตอนบนของประเทศที่
เป็นเขตเงาฝน
ลักษณะภูมิอากาศ
: มรสุมเมืองร้อน ด้านหน้าภูเขาอาระกันโยมา ฝนตกชุกมาก
: ภาคกลางตอนบนแห้งแล้งมาก เพราะมีภูเขากั้นกำบังลม
: ภาคกลางตอนล่างเป็นดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำขนาด
ใหญ่
: ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศค่อนข้างเย็นและค่อน
ข้างแห้งแล้ง
|
|
ศาสนาและวัฒนธรรม
เมียนมาร์บัญญัติให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติใน พ.ศ. 2517
เพราะมีผู้นับถือศาสนาพุทธ 92.3% นอกจากนี้ยังประกอบด้วยศาสนาคริสต์
4% ศาสนาอิสลาม 3% ศาสนาฮินดู 0.7%
วัฒนธรรมของพม่าได้รับอิทธิพลทั้งจากมอญ จีน อินเดีย และไทยมาช้านาน ดังสะท้อนให้เห็นในด้านภาษา ดนตรี และอาหาร สำหรับศิลปะของพม่านั้นได้รับอิทธิพลจากวรรณคดีและพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมาตั้งแต่ครั้งโบราณ ในปัจจุบันนี้วัฒนธรรมพม่ายังได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากขึ้น ซึ่งเห็นได้ชัดจากเขตชนบทของประเทศ ด้านการแต่งกาย ชาวพม่าทั้งหญิงและชายนิยมนุ่งโสร่ง เรียกว่า ลองยี ส่วนการแต่งกายแบบโบราณเรียกว่า ลุนตยาอชิก
|
จังหวัดชายแดนที่ติดต่อกับสหภาพพม่ามี 10 จังหวัด คือ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง |
|
|
ไทยประตูสู่อินโดจีน |
|
|
ที่มาของภาพ และข้อมูล |
คู่มือการค้าและการลงทุนในประเทศพม่า
ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
ศูนย์พม่าศึกษา
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
กระทรวงการต่างประเทศ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอาเซียน กรมประชาสัมพันธ์ |