หน้าแรก > อินโดจีน > ราชอาณาจักรกัมพูชา :
Kingdom of Cambodia |
|
|
|
ภาพโดย : www.facebook/Aey Pinrode,
www.tourismcambodia.org
|
ที่ตั้ง ตั้งอยู่กลางภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทิศเหนือติดกับประเทศไทย (จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์) และลาว (แขวง อัตตะปือและจำปาสัก) ทิศตะวันออกติดเวียดนาม (จังหวัดกอนทูม เปลกู ซาลาย ดั๊กลั๊ก ส่องแบ๋ เตยนิน ลองอาน ด่งท๊าบ อันซาง และเกียงซาง) ทิศตะวันตกติดประเทศไทย (จังหวัดสระแก้ว จันทบุรี และตราด) และทิศใต้ติดอ่าวไทย
พื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร หรือมีขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย เส้นเขตแดนโดยรอบประเทศยาวประมาณ 2,000 กิโลเมตร โดยมีเส้นเขตแดนติดต่อกับประเทศไทยยาว 798 กิโลเมตร
เมืองหลวง กรุงพนมเปญ
ประชากร 14.14 ล้านคน (2553)
ภาษาราชการ ภาษาเขมร
ศาสนา พุทธนิกายเถรวาท
ประมุข พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี (Preah Bat Samdech Preah Boromneath Norodom Sihamoni)
ผู้นำรัฐบาล สมเด็จอัคคมหาเสนาบดีเดโชฮุน เซน นายกรัฐมนตรี
รัฐมนตรีต่างประเทศ นายฮอร์ นัมฮง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศ
ระบอบการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
เขตการปกครอง ตามกฤษฎีกา ลงนามโดย นรม.กพช. เมื่อ 12 ม.ค. 2552 กำหนดให้มีการแบ่งเขตการปกครอง ดังนี้:แบ่งเป็น 1 ราชธานี (พนมเปญ) และ 23 จังหวัด ได้แก่ กระแจะ เกาะกง กันดาล กัมปงจาม กัมปงชนัง กัมปงธม กัมปง สะปือ กัมปอต ตาแก้ว รัตนคีรี พระวิหาร พระตะบอง โพธิสัต บันเตียเมียนเจย ไปรเวง มณฑลคีรี สตึงเตรง สวายเรียง เสียมราฐ อุดรมีชัย ไพลิน แกบ และพระสีหนุ และแต่ละจังหวัดจะมีศูนย์กลางการปกครองเรียกว่า (อำเภอเมือง) เรียกว่า “กรุง” นอกจากนี้ยังมีเมืองสำคัญที่มีฐานะเป็น “กรุง” อีก 3 แห่ง คือ กรุงปอยเปต (จ. บันเตียเมียเจย) กรุงบาเว็ต (จ. สวายเรียง) และกรุงสวง (จ.กำปงจาม)
วันชาติ 9 พฤศจิกายน 2496
วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย 19 ธันวาคม 2493
หน่วยเงินตรา เรียล (1 บาท ประมาณ 130 เรียล)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 13.16 พันล้าน USD
รายได้ประชาชาติต่อหัว 911.73 USD
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 6.7
สินค้านำเข้าสำคัญ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม บุหรี่ ทองคำ วัสดุก่อสร้าง เครื่องจักร ยานพาหนะ และยา
สินค้าส่งออกสำคัญ เสื้อผ้า สิ่งทอ ไม้ ยางพารา ข้าว ปลา ยาสูบ และรองเท้า |
|
|
ธงชาติแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา
มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ผืนธงแบ่งตามแนวยาวเป็น 3 ริ้ว โดยริ้วกลางนั้นเป็นพื้นสีแดง กว้าง 2 ส่วน มีรูปปราสาทหินนครวัดสามยอดสีขาวอยู่ตรงกลาง ริ้วที่อยู่ด้านนอกทั้งสองด้านนั้นกว้างริ้วละ 1 ส่วน พื้นสีน้ำเงิน ความหมายของสัญลักษณ์ในธงนั้นสะท้อนถึง 3 สถาบันหลักของประเทศ ดังปรากฏในคำขวัญประจำชาติว่า "ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์" โดยพื้นสีแดงมีความหมายถึงชาติ ปราสาทนครวัดสีขาวหมายถึงสันติภาพและศาสนา ซึ่งเดิมมีรากเหง้าจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และได้เปลี่ยนแปลงมาเป็นพระพุทธศาสนาในปัจจุบัน ส่วนสีน้ำเงินนั้นหมายถึงสถาบันพระมหากษัตริย์
|
|
|
|
ที่มา: http://www.thaiembassy.org |
|
สภาพภูมิประเทศ
ส่วนใหญ่เป็นที่ราบประกอบ
ด้วยที่ราบรอบทะเลสาบเขมร
และ
ที่ราบลุ่มแม่น้ําโขง
มีทิวเขาล้อมรอบทางเหนือ
คือ
เทือกเขาพนมดงรัก
เทือกเขาบรรทัด
เทือกเขาอันนัม
กัมพูชา
มีลักษณะ
ภูมิประเทศคล้ายชาม
หรือ
อ่าง
คือ
ตรงกลาง
เป็นแอ่งทะเลสาบ
และลุ่มแม่น้ําโขง
อันกว้างขวาง
มี
ภูเขาล้อมรอบอยู่
3
ด้าน
ได้แก่
ด้านตะวันออกมีแนวเทือกเขาอันนัมที่เป็นพรมแดนกับประเทศเวียดนาม
ด้านเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือมีแนวเทือกเขาพนมดงรักที่เป็นพรมแดนกับประเทศไทย
ด้านใต้และตะวันตกใต้มีแนวเทือกเขาบรรทัดที่เป็นแนวพรมแดนกับประเทศไทย
เฉพาะด้านตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้นที่
เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ําโขง
|
ภูมิอากาศ
กัมพูชาเป็นประเทศที่มีภูมิอากาศร้อนชื้น
โดยได้รับอิทธิพลของ
มรสุมเขตร้อน
โดยมี
4
ฤดู
โดยฤดูมรสุมจะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึง
ประมาณเดือนตุลาคม
และจะไม่มีฝนเลย
จากเดือนพฤศจิกายนไปจนถึง
เดือนเมษายน
ซึ่งภูมิอากาศของกัมพูชาจะคล้ายกับประเทศไทยมาก
|
เศรษฐกิจ และสินค้า/บริการที่สำคัญในแต่ละจังหวัดของกัมพูชา
|
จังหวัด/กรุง |
ความสำคัญ |
สินค้า/บริการที่สำคัญ |
กรุงพนมเปญ |
เมืองหลวง |
- อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องนุ่งห่ม สิ่งทอ และรองเท้า
- ศูนย์กระจายสินค้าไปทั่วประเทศ และศูนย์ราชการ |
กรุงสีหนุวิลล์ |
เมืองท่า |
- ท่าเรือน้ำลึกนานาชาติออกสู่ทั่วโลกทางทะเลอ่าวไทย
- แหล่งอาหารทะเล เช่น กุ้ง ปู หอย
- สถานที่ท่องเที่ยวทางทะเล
- แหล่งขุดเจาะก๊าซ และน้ำมัน |
จังหวัดเสียมเรียบ |
เมืองเศรษฐกิจสำคัญ |
- สถานที่ตั้งของนครวัด-นครธม ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
- มีอุตสาหกรรมการบริการที่สำคัญ คือ ที่พัก โรงแรม ร้านอาหารเพื่อให้บริการแก่นักท่องเที่ยว |
จังหวัดพระตะบอง |
เมืองเศรษฐกิจสำคัญ |
- แหล่งผลิตข้าว
- ผลิตไม้ผล เช่น ส้ม
- และพืชไร่ เช่น มันสำปะหลัง ถั่วเหลือง และงา |
จังหวัดเกาะกง |
เมืองเศรษฐกิจสำคัญ |
- สินค้าประมง
- การท่องเที่ยวทางทะเล |
จังหวัดกัมปงจาม |
เมืองเศรษฐกิจสำคัญ |
- แหล่งผลิตยางพารา เงาะ มังคุด ทุเรียน และผลไม้อื่น ๆ เช่น มะม่วงหิมพานต์ รวมถึงพืชไร่ทุกชนิด เช่น ข้าวโพด ถั่ว งา |
|
|
ศาสนาและวัฒนธรรม
ปี 2551 (มิถุนายน) กัมพูชามีจำนวนประชากร 14.7 ล้านคน(1) อัตราการเพิ่มของประชากรเฉลี่ยราวร้อยละ 2 ต่อปี ประชากรราวร้อยละ 85 อาศัยอยู่ในเขตชนบททั้งนี้ กัมพูชามีจำนวนแรงงานราว 7 ล้านคน โดยเป็นแรงงานในภาคเกษตรกรรมราวร้อยละ 80 ของแรงงานทั้งหมด นอกจากนี้กว่าร้อยละ 50 ของประชากร มีอายุน้อยกว่า 21 ปี (2) ประชากรร้อยละ 96 เป็นชาวกัมพูชา และอื่น ๆ ได้แก่ มุสลิมร้อยละ 2.2 เวียดนามร้อยละ 0.4 จีนร้อยละ 0.2 และที่เหลือเป็นชนกลุ่มน้อยหรือชาวเขารวม 17 เผ่า ใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ ส่วนภาษาที่ใช้โดยทั่วไป ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส เวียดนาม ไทย และจีน ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 95 และศาสนาอื่น ๆ ร้อยละ 5
การที่กัมพูชามีพุทธศาสนาเป็นศาสนาหลัก ทำให้ประเพณีปฏิบัติต่างๆ ของประชาชนชาวกัมพูชาจะสอดคล้องใกล้เคียงกับไทยเป็นอย่างมาก โดยผู้สูงอายุจะเข้าวัดฟังธรรม เมื่อมีงานบุญตามประเพณี ประชาชนหนุ่มสาวและเด็กจะร่วมแรงช่วยเหลือจัดการงานอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ จะมีงานบุญประเพณีที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาตามจันทรคติเช่นเดียวไทยเป็นวัน หยุดราชการ ได้แก่ วันมาฆบูชา วันปีใหม่เขมร ( Khmer New Year ) ซึ่งตรงกับวันสงกรานต์จะหยุดราชการในวันที่ 14–16 เมษายนทุกปีวันวิสาบูชา วันสาร์ทเขมรซึ่งตรงกับ วันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 (เรียกว่างานวันปรอจุมเบณ , Pchum Ben day) โดยจะหยุดราชการ 3 วัน ตั้งแต่วันแรม 14 ค่ำ เดือน 10 จนขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11 และงานวัน ลอยกระทง ( Water Festival ) เรียกว่างานบุญอมตุก หรืองานแข่งเรือ เพราะจะมีเรือจากจังหวัดต่าง ๆ มาแข่งฝีพายกันหน้าพระบรมมหาราชวัง จะหยุดราชการ 3 วัน ตั้งแต่วันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 12 ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 1
หากจะกล่าวโดยภาพรวมแล้ว ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมและประเพณีของกัมพูชาและไทยจะใกล้เคียงกันในทุกเรื่อง รวมทั้งภาษา ถ้อยคำ พยัญชนะ สระ ตัวอักษร คำศัพท์ต่างๆ ซึ่งที่ผ่านมาได้ถูกหยิบยืมแลกเปลี่ยนใช้สืบเนื่องกันมาและตกค้างในแต่ละ ฝ่ายจำนวนหนึ่ง
|
การส่งเสริมการท่องเที่ยว 3 ด้านหลัก ดังนี้
1. การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นตัวชูโรงของอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวกัมพูชา โดยเฉพาะมรดกโลกด้านศิลปวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียง ได้แก่ นครวัด-นครธม ซึ่งนักท่องเที่ยวกว่าร้อยละ 50 ที่เดินทางเข้าไปในกัมพูชาต้องเดินทางไปเยี่ยมชมความอลังการของนครวัด-นครธม ทางการกัมพูชาได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในพื้นที่จังหวัดเสียมเรียบเป็นหลัก ส่วนการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ เน้นประวัติศาสตร์การเมืองในสมัยสงครามกลางเมือง เน้นส่งเสริมในพื้นที่กรุงพนมเปญ และจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งมีสถานที่สำคัญอันแสดงถึงสัญลักษณ์แห่งความรุนแรงและสงครามการฆ่าล้าง เผ่าพันธุ์ในอดีต อาทิเช่น คุกโตนสเลง สถานที่คุมขังนักโทษการเมืองกว่า 15,000 คนก่อนจะส่งไปที่ทุ่งสังหาร
2. การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ เน้นส่งเสริมในพื้นที่ซึ่งแม่น้ำโขงไหลผ่าน รวมทั้งในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณจังหวัดสตึงเตร็ง รัตนคีรี มนฑลคีรี และกระแจะ ซึ่งล้วนเป็นพื้นที่ป่าขนาดใหญ่ของประเทศ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์นี้ยังรวมถึงการเยี่ยมชมวิถีชีวิตความเป็นอยู่ โดยเฉพาะการประกอบอาชีพการเกษตร ซึ่งสถานที่สำคัญที่ทางการกำหนดให้เป็นจุดขายคือจังหวัดพระตะบอง ซึ่งเป็นพื้นที่อู่ข้าวอู่น้ำของประเทศ
3. การท่องเที่ยวชายทะเล เน้นส่งเสริมในพื้นที่ติดกับทะเล ซึ่งกัมพูชามีข้อได้เปรียบ ตรงที่สถานที่ชายฝั่งทะเลยังคงความเป็นธรรมชาติอยู่มาก โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดสีหนุวิลล์ จังหวัดแกป จังหวัดกัมปอต และจังหวัดเกาะกง ทั้งนี้มีการคาดการณ์ว่าหากสนามบินสีหนุวิลล์ ให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ นักท่องเที่ยวจำนวนมากจะหลั่งไหลเข้าไปท่องเที่ยวในแถบนั้นเช่นเดียวกัน
|
จังหวัดชายแดนที่ติดต่อกับกัมพูชามี 7 จังหวัด คือ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ สุรินทร์ สระแก้ว จันทบุรี และตราด |
|
|
ไทยประตูสู่อินโดจีน |
|
|
ที่มาของภาพ และข้อมูล |
คู่มือ การค้าและการลงทุน ราชอาณาจักรกัมพูชา
ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
กระทรวงการต่างประเทศ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอาเซียน กรมประชาสัมพันธ์ |